เมนู

จัตตาฬีสนิบาตชาดก



1. เตสกุณชาดก



ว่าด้วยนกตอบปัญหาพระราชา



[2438]

(พระราชาตรัสว่า) เราขอถามเจ้าเวส-
สันดร นกเอ๋ย ขอความเจริญจงมีแก่เจ้า กิจอะไรที่
บุคคลผู้ประสงค์เสวยราชสมบัติกระทำแล้ว เป็นกิจ
ประเสริฐ.

[2439] (นกเวสสันดรทูลว่า) นานนักหนอ
พระเจ้ากังสราช พระราชบิดาของเรา ผู้ทรงสงเคราะห์
ชาวเมืองพาราณสี เป็นผู้ประมาท ได้ตรัสถามเราผู้
บุตร ซึ่งหาความประมาทมิได้.

[2440] ข้าแต่บรมกษัตริย์ ธรรมดาพระราชา
ควรห้ามมุสาวาท ความโกรธ และความร่าเริงก่อนที
เดียว แต่นั้น พึงตรัสสั่งให้กระทำกิจทั้งหลาย คำที่ข้า
พระพุทธเจ้ากล่าวมานั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
เป็นกิจของพระราชา.
ข้าแต่พระบิดา เมื่อก่อนพระองค์ทรงรักใคร่
และเกลียดชังแล้ว พึงทรงทำกรรมใด กรรมนั้นที่
พระองค์ทรงทำแล้ว พึงยังพระองค์ให้เดือดร้อนโดย

ไม่ต้องสงสัย แต่นั้นพระองค์ไม่ควรทรงกระทำกรรม
นั้นอีก.
ข้าแต่พระองค์ ผู้ทรงบำรุงรัฐ เมื่อกษัตริย์ประ-
มาทแล้ว โภคสมบัติทุกอย่างในแว่นแคว้นย่อมพินาศ
ข้อนั้นนักปราชญ์ กล่าวว่า เป็นความทุกข์ของพระ-
ราชา.
ข้าแต่พระบิดา เทพธิดาชื่อสิริ และชื่อลักขี
ถูกสุจิปริวารเศรษฐีถาม ได้ตอบว่า ข้าพเจ้าย่อมยินดี
ในบุรุษผู้มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความริษยา.
ข้าแต่มหาราชเจ้า กาลกรรณี ผู้ทำลายจักร ย่อม
ยินดีในบุรุษผู้ริษยา ผู้มีใจชั่ว ผู้ประทุษร้ายการงาน.
ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์จงทรงเป็นผู้มีพระ-
ทัยดีต่อคนทั้งปวง จงทรงพิทักษ์รักษาคนทั้งปวง
จงทรงบรรเทาเสียซึ่งคนไม่มีราศี จงมีคนที่มีราศี
เป็นที่พำนักเถิด.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชนชาวกาสี บุรุษ
ผู้มีราศี สมบูรณ์ด้วยความเพียร มีอัธยาศัยใหญ่ ย่อม
ตัดโคนและยอดของศัตรูทั้งหลายได้.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ของประชาชน ความ
จริง แม้ท้าวสักกะก็ไม่ทรงประมาทในความหมั่นเพียร
ท้าวเธอทรงกระทำความเพียร ในกัลยาณธรรม ตั้ง
พระทัยมั่น ในความขยันหมั่นเพียร.

คนธรรพ์ พรหม เทวดา เป็นผู้เป็นอยู่ อาศัย
พระราชาเช่นนั้น เมื่อพระราชาทรงอุตสาหะ ไม่ทรง
ประมาท เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครองป้องกัน.
ข้าแต่พระบิดา พระองค์จงทรงเป็นผู้ไม่ประมาท
ไม่ทรงพระพิโรธ แล้วตรัสสั่งให้ทำกิจทั้งหลาย จงทรง
พยายามในกิจทั้งหลาย เพราะคนเกียจคร้าน ย่อมไม่
พบความสุข.
ข้อความที่ข้าพระองค์ กล่าวแก้แล้ว ในปัญหา
ของพระองค์นั้น ข้อนี้เป็นอนุสาสนี สามารถยังผู้เป็น
มิตรให้ถึงความสุข และยังคนผู้เป็นศัตรูให้ถึงความ
ทุกข์ได้.

[2441] (พระราชาตรัสว่า) ดูก่อนนางนกกุณฑ-
ลินี ตัวเป็นเผ่าพันธุ์ของนก มีบรรดาศักดิ์ เจ้าสามารถ
ละหรือ เจ้าจะเข้าใจได้หรือ กิจอะไรเล่า ที่ผู้มุ่งจะ
ครอบครองสมบัติกระทำแล้ว เป็นกิจประเสริฐ.

[2442] (นกกุณฑลินีทูลว่า) ข้าแต่เสด็จพ่อ
ประโยชน์ตั้งมั่นอยู่ในเหตุ 2 ประการเท่านั้น คือ
ความได้ลาภที่ยังไม่ได้ 1 การตามรักษาลาภที่ได้
แล้ว 1.
ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์จงทรงทราบอำมาตย์ทั้ง
หลาย ผู้เป็นนักปราชญ์ฉลาดในประโยชน์ ไม่แพร่ง
พรายความลับ ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่ทำให้เสื่อมเสีย.

ข้าแต่เสด็จพ่อ ก็อำมาตย์คนใดพึงรักษาพระราช
ทรัพย์ของพระองค์ ให้มีคงที่อยู่ได้ ดุจนายสารถียึด
รถไว้ พระองค์ควรทรงใช้อำมาตย์ผู้นั้น ให้กระทำ
กิจทั้งหลาย ของพระองค์.
พระราชา พึงโปรดสงเคราะห์ชนฝ่ายในด้วยดี
ตรวจตราพระราชทรัพย์ด้วยพระองค์เอง ไม่ควรจัด
การทรัพย์และการกู้หนี้ โดยทรงไว้วางพระทัยในคน
อื่น.
พระราชาควรทราบรายได้ รายจ่ายด้วยพระองค์
เอง ควรทรงทราบกิจที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำด้วย
พระองค์เอง ควรข่มคนที่ควรข่ม ควรยกย่องคนที่
ควรยกย่อง.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมพลรถ พระองค์จงทรง
พร่ำสอนเหตุผล แก่ชาวชนบทเอง เจ้าหน้าที่ผู้เก็บ
ภาษีอากร ผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม อย่ายังพระราช
ทรัพย์ และรัฐสีมา ของพระองค์ให้พินาศ.
อนึ่ง พระองค์อย่าทรงทำเอง หรืออย่าทรงใช้ให้
คนอื่นทำกิจทั้งหลายโดยฉับพลัน เพราะว่าการงาน
ที่ทำลงไปโดยฉับพลัน ไม่ดีเลย คนเขลาย่อมเดือด
ร้อนในภายหลัง.
พระองค์อย่าทรงล่วงเลยกุศล อย่าทรงปล่อย
พระทัยให้เกรี้ยวกราดนัก เพราะว่า สกุลที่มั่นคงเป็น
อันมาก ได้ถึงความไม่เป็นสกุล เพราะความโกรธ.

ข้าแต่เสด็จพ่อ พระองค์อย่าทรงนึกว่า เราเป็น
ใหญ่แล้ว ยังมหาชนให้หยั่งลงเพื่อความฉิบหาย กำไร
คือความทุกข์ อย่าได้มีแก่สตรีและบุรุษของพระองค์
เลย.
โภคสมบัติทั้งปวง ของพระราชาผู้ปราศจาก
ความหวาดเสียว แส่หากามารมณ์ย่อมพินาศหมด ข้อ
นั้นนักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวว่าเป็นความทุกข์ ของ
พระราชา.
ข้อความที่หม่อมฉันกราบทูล ในปัญหาของ
พระองค์นั้น เป็นวัตรบท นี่แหละเป็นอนุสาสนี ข้าแต่
พระมหาราชา บัดนี้ พระองค์โปรดทรงบำเพ็ญบุญ
อย่าเป็นนักเลง อย่าทรงราชทรัพย์ให้พินาศ จงทรง
ศีล เพราะว่าคนทุศีล ย่อมตกต่ำ.

[2443] (พระราชาตรัสว่า) พ่อชัมพุกะ พ่อได้
ถามปัญหากะเจ้าโกสิยโคตร และเจ้ากุณฑลินี มาเช่น
เดียวกันแล้ว ชัมพุละลูกรัก คราวนี้ เจ้าจงบอกกำลัง
อันสูงสุดกว่ากำลังทั้งหลาย บ้างเถิด.

[2444] (นกชัมพุกะทูลว่า) กำลังในบุรุษผู้มี
อัธยาศัยใหญ่ในโลกนี้ มี 5 ประการ ในกำลัง 5
ประการนั้น กำลังแขนบัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังต่ำ
ทราม ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญพระชนม์ กำลังโภค
ทรัพย์บัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังที่สอง.
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญพระชนม์ กำลังอำ-
มาตย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นกำลังที่สาม กำลังคือการ

มีชาติยิ่งใหญ่ เป็นกำลังที่สี่โดยแท้ บัณฑิตย่อมยึด
เอากำลังทั้งหมดไว้ได้.
กำลังปัญญา บัณฑิตกล่าวว่า เป็นกำลังประเสริฐ
ยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะว่า บัณฑิตอันกำลัง
ปัญญาสนับสนุนแล้ว ย่อมได้ซึ่งประโยชน์.
ถ้าบุคคลมีปัญญาทราม แม้ได้แผ่นดินอันสม-
บูรณ์ เมื่อไม่ประสงค์ คนอื่นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ก็
ข่มขี่แย่งเอาแผ่นดินนั้นเสีย.
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชนชาวกาสี ถ้าบุคคล
แม้เป็นผู้มีชาติสูง ได้ราชสมบัติแล้วเป็นกษัตริย์ แต่
มีปัญญาทราม หาเป็นอยู่ด้วยราชสมบัติทุกอย่างได้ไม่.
ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยเรื่องที่ได้สดับ ปัญญา
เป็นเครื่องยังเกียรติยศ และลาภสักการะให้เจริญ คน
ในโลกนี้ ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เมื่อทุกข์เกิด
ขึ้น ก็ย่อมได้รับความสุข.
ก็คนบางคนไม่ได้ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่อาศัยผู้เป็น
พหูสูต ซึ่งตั้งอยู่ในธรรม ไม่พิจารณาเหตุผล ย่อมไม่
ได้บรรลุปัญญา.
อนึ่ง ผู้ใดรู้จักจำแนกธรรม ลุกขึ้นในเวลาเช้า
ไม่เกียจคร้าน ย่อมบากบั่นตามกาล ผลแห่งการงาน
ของบุคคลนั้น ย่อมสำเร็จ.
ประโยชน์แห่งการงาน ของบุคคลผู้มีศีลมิใช่บ่อ
เกิด ผู้คบหาบุคคลที่มิใช่บ่อเกิด ผู้มีปกติเบื่อหน่าย
ทำการงาน ย่อมไม่เผล็ดผลโดยชอบ.

ส่วนประโยชน์แห่งการงานของบุคคล ผู้ประ-
กอบธรรม อันเป็นภายใน คบหาบุคคลที่เป็นบ่อเกิด
อย่างนั้น ไม่มีปกติเบื่อหน่ายทำการงาน ย่อมเผล็ด
ผลโดยชอบ.
ข้าแต่เสด็จพ่อ ขอพระองค์จงทรงเสวนปัญหา
อันเป็นส่วนแห่งการประกอบความเพียร เป็นเครื่อง
ตามรักษาทรัพย์ ที่รวบรวมไว้ และเหตุสองประการ
ข้างต้น ที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลแล้วนั้นเถิด อย่า
ได้ทรงทำลายทรัพย์สินเสีย ด้วยการงานอันไม่สมควร
เพราะคนมีปัญญาทราม ย่อมล่มจม ด้วยการงานอัน
ไม่สมควร ดังเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประ-
พฤติธรรม ในพระราชมารดา พระราชบิดา ครั้นทรง
ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในพระราชโอรสและพระอัครมเหสี ครั้นทรง
ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในมิตร และอำมาตย์ ครั้นทรงประพฤติธรรม
ในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในพาหนะและพลนิกาย ครั้นทรงประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.

ข้าแต่พระมหาราชา ของพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในชาวบ้าน และชาวนิคม ครั้นทรงประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติธรรม ในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ครั้น
ทรงประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม ในเนื้อและนก ครั้นทรงประพฤติธรรมในโลก
นี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรง
ประพฤติธรรม เพราะความที่ธรรมอันบุคคลประพฤติ
แล้ว ย่อมนำความสุขมาให้ ครั้นพระองค์ทรงประพฤติ
ธรรมในโลกนี้แล้ว จักเสด็จสู่สวรรค์.
ข้าแต่พระมหาราชา ขอพระองค์จงทรงประพฤติ
ธรรม เพราะว่าพระอินทร์ทวยเทพพร้อมทั้งพรหม
ถึงทิพยสถานได้ด้วยธรรมอันตนประพฤติดีแล้ว ข้า-
แต่พระกษัตริย์ ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย.
ข้อความที่ข้าพระองค์กราบทูลแล้ว ในปัญหา
ของพระองค์นั้น เป็นวัตรบท ข้อนี้แล เป็นอนุสาสนี
ขอพระองค์จงทรงคบหาสมาคม กับผู้มีปัญญา จงเป็น
ผู้มีกัลยาณธรรม พระองค์ทรงทราบความข้อนั้น ด้วย
พระองค์เองแล้ว จงทรงปฏิบัติให้ครบถ้วนเถิด.

จบเตสกุณชาดกที่ 1

อรรถกถาจัตตาฬีสนิบาต



อรรถกถาเตสกุณชาดก



พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ ด้วยสามารถโอวาทแก่พระเจ้าโกศล มีคำเริ่มต้นว่า เวสฺส-
นฺตรํ ตํ ปุจฺฉามิ
ดังนี้.
ความพิสดารว่า พระศาสดาตรัสเชิญพระราชานั้น ซึ่งเสด็จมาทรง
ธรรม มารับสั่งว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมดาพระราชาควรครองราชย์โดย
ธรรม เพราะสมัยใด พระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้น แม้ข้าราชการ
ทั้งหลาย ก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ดังนี้แล้ว ทรงโอวาทโดยนัยแห่งพระสูตรที่
มาในจตุกนิบาต และตรัสพรรณนาโทษและอานิสงส์ในการลุอำนาจอคติและ
ไม่ลุอำนาจอคติ ทรงยังโทษในกามทั้งหลายให้พิสดาร โดยนัยเป็นต้นว่า
กามทั้งหลายเปรียบได้กับความฝันแล้วตรัสว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูย่อม
ไม่มีแก่สัตว์เหล่านี้ การรับสินบนก็ไม่มี การยุทธ์
ก็ไม่มี ชัยชนะก็ไม่มี สัตว์ทั้งมวลล้วนมีความตายเป็น
เบื้องหน้า.

เมื่อสัตว์เหล่านั้นไปสู่ปรโลก เว้นกัลยาณธรรมที่ตนกระทำไว้แล้ว
ชื่อว่าที่พึ่งอย่างอื่นไม่มีเลย จําต้องละสิ่งที่ปรากฏเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างนี้ไป
แน่นอน ไม่ควรที่จะอาศัยยศทำความประมาท ชอบที่จะเป็นผู้ไม่ประมาท
เสวยราชย์โดยธรรมอย่างเดียว แม้เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ได้เสด็จอุบัติ โบราณ-