เมนู

2. จิตตสัมภูตชาดก



ว่าด้วยผลของกรรม



[2054] กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว
ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะเล็กน้อย ที่
จะไม่ให้ผลเป็นไม่มี เราได้เห็นตัวของเรา ผู้ชื่อว่า
สัมภูตะ มีอานุภาพมาก อันบังเกิดขึ้นด้วยผลบุญ
เพราะกรรมของตนเอง กรรมทุกอย่างที่นรชนสั่งสม
ไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อว่ากรรมแม้จะเล็ก
น้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นไม่มี มโนรถของเราสำเร็จ
แม้ฉันใด มโนรถแม้ของจิตตบัณฑิต พระเชษฐาของ
เรา ก็คงสำเร็จแล้วฉันนั้น กระมังหนอ.

[2055] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ กรรมทุก
อย่างที่นรชนสั่งสมไว้แล้ว ย่อมมีผลเสมอไป ขึ้นชื่อ
ว่ากรรมแม้จะเล็กน้อย ที่จะไม่ให้ผลเป็นอันไม่มี
มโนรถของพระองค์สำเร็จแล้ว แม้ฉันใด ขอพระองค์
โปรดทราบเถิดว่า มโนรถของจิตตบัณฑิต ก็สำเร็จ
แล้ว ฉันนั้น เหมือนกัน.

[2056] เจ้าหรือคือจิตตะ เจ้าได้ฟังคำนี้มา
จากคนอื่น หรือว่าใครบอกเนื้อความนี้แก่เจ้า คาถานี้
เจ้าขับดีแล้ว เราไม่มีความสงสัย เราจะให้บ้านส่วย
ร้อยตำบลแก่เจ้า.

[2057] ข้าพระพุทธเจ้า หาใช่จิตตะไม่ ข้า-
พระพุทธเจ้าฟังคำนี้มาจากคนอื่น และฤาษีได้บอกเนื้อ
ความนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้า แล้วสั่งว่า เจ้าจงไปขับคาถา
นี้ถวายตอบพระราชา พระราชาทรงพอพระทัยแล้ว
จะพึงพระราชทานบ้านส่วยให้แก่เจ้าบ้างกระมัง.

[2058] ราชบุรุษทั้งหลายจงเทียมรถของเรา
จัดแจงให้ดี ผูกรัดจัดสรรให้งดงามวิจิตร จงผูกรัด
สายประคนมงคลหัตถี นายหัตถาจารย์ขึ้นประจำคอ
จงนำเอาเภรีตะโพนสังข์มาตระเตรียม เจ้าหน้าที่ทั้ง
หลายจงเทียมยานพาหนะโดยเร็ว วันนี้แล เราจักไป
เยี่ยมเยียนพระฤาษี ซึ่งนั่งอยู่ ณ อาศรมสถานให้ถึงที่
ทีเดียว.

[2059] ข้าพเจ้าเป็นผู้ได้ลาภดีแล้วหนอ คาถา
อันข้าพเจ้าขับดีแล้วในท่ามกลางบริษัท ข้าพเจ้าได้พบ
พระฤาษีผู้สมบูรณ์ด้วยศีลพรต เป็นผู้มีความชื่นชม
ยินดีปีติโสมนัสยิ่งนัก.

[2060] ขอเชิญท่านผู้เจริญ โปรดรับอาสนะ
น้ำ และรองเท้าของข้าพเจ้าทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้ายินดี
ต้อนรับท่านผู้เจริญ ในสิ่งของอันมีราคาคู่ควรแก่การ
ต้อนรับ ขอท่านผู้เจริญเชิญรับสักการะ อันมีค่าของ
ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด.

[2061] ขอเชิญพระเชษฐาทรงสร้างปรางค์-
ปราสาท อันเป็นที่อยู่น่ารื่นรมย์ สำหรับพระองค์เถิด
จงทรงบำรุงบำเรอด้วยหมู่นารีทั้งหลาย โปรดให้
โอกาสเพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด แม้เราทั้ง
สองก็จะครอบครองอิสริยสมบัตินี้ร่วมกัน.

[2062] ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ทรงเห็น
ผลแห่งสุจริตอย่างเดียว ส่วนอาตมาภาพเห็นผลแห่ง
สุจริตที่สั่งสมไว้แล้ว เป็นวิบากใหญ่ จึงสำรวมตน
เท่านั้น มิได้ปรารถนาบุตรปศุสัตว์ หรือทรัพย์ ชีวิต
ของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ มีกำหนดร้อยปีเป็นอย่าง
มาก ไม่เกินกำหนดนั้น ย่อมจะเหือดแห้งไป เหมือน
ไม้อ้อที่ถูกตัดแล้ว มีแต่จะเหี่ยวแห้งไปฉะนั้น
จะมัวเพลิดเพลินไปไย จะมัวเล่นคึกคะนองไปทำไม
ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร ประโยชน์อะไรด้วย
การแสวงหาทรัพย์ จะมีประโยชน์อะไรด้วย บุตรและ
ภรรยาสำหรับอาตมา ดูก่อนมหาบพิตร อาตมาพ้น
แล้วจากเครื่องผูก อาตมารู้ชัดอย่างนี้ว่า มัจจุราช
จะไม่รังควานเราเป็นไม่มี เมื่อบุคคลถูกมัจจุราชครอบ
งำแล้ว ความยินดีจะเป็นประโยชน์อะไร จะมีประ-
โยชน์อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์ ดูก่อนมหาบพิตร
ผู้เป็นจอมนระ ชาติกำเนิดของคนเราไม่สม่ำเสมอกัน
กำเนิดแห่งคนจัณฑาลจัดว่าเลวทรามในระหว่างมนุษย์

เมื่อชาติก่อน เราทั้งสองได้อยู่ร่วมกันในครรภ์แห่ง
นางจัณฑาลี เพราะกรรมอันชั่วช้าของตน เราทั้งสอง
ได้เกิดเป็นคนจัณฑาล ในกรุงอุชเชนี อวันตีชนบท
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดเป็นเนื้อสองตัวพี่
น้อง อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้นจุติจากอัตภาพนั้น
แล้ว ไปเกิดเป็นนกเขาสองตัวพี่น้อง อยู่ฝั่งน้ำรัมมทา-
นที ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว คราวนี้ อาตมาภาพ
เกิดเป็นพราหมณ์ มหาบพิตรทรงสมภพเป็นกษัตริย์.

[ 2063] ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้า
ไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย
เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้ต้าน
ทาน ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทรงทำ
ตามคำของอาตมา อย่าทรงทำกรรมทั้งหลายอันมีทุกข์
เป็นกำไรเลย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ถูกชรานำเข้า
ไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็นของน้อย
เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อมไม่มีผู้
ต้านทาน ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจง
ทรงทำตามคำของอาตมาภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้ง
หลาย อันมีทุกข์เป็นผลเลย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย
ถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายเป็น
ของน้อย เมื่อนรชนถูกชรานำเข้าไปสู่ความตาย ย่อม
ไม่มีผู้ต้านทาน ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตร
จงทรงทำตามคำของอาตมาภาพ อย่าทรงทำกรรมทั้ง

หลาย อันมีศีรษะเกลือกกลั้วไปด้วยธุลี ชีวิตของสัตว์
ทั้งหลายอันชรานำเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้ง
หลายเป็นของน้อย ชราย่อมกำจัดวรรณะของนรชนผู้
แก่เฒ่า ดูก่อนพระเจ้าปัญจาลราช มหาบพิตรจงทำ
ตามคำของอาตมาภาพ อย่าทรงทำกรรมที่ให้เข้าถึง
นรกเลย.

[2064] ข้าแต่ภิกษุ ถ้อยคำของพระคุณเจ้านี้
เป็นคำจริงแท้ทีเดียว พระฤาษีกล่าวไว้ฉันใด คำนี้ก็
เป็นฉันนั้น แต่ว่า กามทั้งหลายของข้าพเจ้ายังมีอยู่มาก
กามเหล่านั้น คนเช่นข้าพเจ้าสละได้ยาก. ช้างจมอยู่
ท่ามกลางหล่มแล้ว ย่อมไม่อาจถอนตนไปสู่ที่ดอนได้
ด้วยตนเอง ฉันใด ข้าพเจ้าจมอยู่ในหล่มคือกามกิเลส
ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติตนตามทางของภิกษุได้ ฉันนั้น.
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ อนึ่ง บุตรจะมีความสุขได้
ด้วยวิธีใด มารดาบิดาก็พร่ำสอนบุตรด้วยวิธีนั้น ฉันใด
ข้าพเจ้าละจากโลกนี้ไปแล้ว จะพึงเป็นผู้มีความสุขยืน
นานด้วยวิธีใด ขอพระคุณเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพเจ้า
ด้วยวิธีนั้น ฉันนั้นเถิด.

[2065] ดูก่อนมหาบพิตรผู้จอมนรชน ถ้า
มหาบพิตรไม่สามารถจะละกามของมนุษย์เหล่านี้ได้
ไซร้ มหาบพิตรจงทรงเริ่มตั้งพลีกรรมอันชอบธรรม
เถิด แต่การกระทำอันไม่เป็นธรรม ขออย่าได้มีใน

รัฐสีมาของมหาบพิตรเลย. ทูตทั้งหลายจงไปยังทิศทั้ง
4 นิมนต์สมณพราหมณ์ทั้งหลายมา มหาบพิตร จง
ทรงทะนุบำรุงสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ด้วยข้าว น้ำ
ผ้า เสนาสนะ และคิลานปัจจัย มหาบพิตรจงเป็นผู้
มีกมลจิตอันผ่องใส ทรงอังคาสสมณพราหมณ์ ให้
อิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าวน้ำ ได้บริจาคทานตามสติ
กำลัง และทรงเสวยแล้ว เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ไม่ติเตียน จงเสด็จเข้าถึงสวรรคสถานเถิด.
ดูก่อนมหาบพิตร ก็ถ้าความเมาจะพึงครอบงำ ซึ่งมหา-
บพิตร ผู้อันหมู่นารีทั้งหลายแวดล้อมอยู่ มหาบพิตร
จงทรงมนสิการคาถานี้ไว้ แล้วพึงตรัสคาถานี้ในท่าม
กลางบริษัทว่า เมื่อชาติก่อนเราเป็นคนนอนอยู่กลาง
แจ้ง อันมารดาจัณฑาล เมื่อจะไปป่า ให้ดื่มน้ำนม
มาแล้ว นอนคลุกคลีอยู่กับสุนัขทั้งหลายจนเติบโต
มาบัดนี้ คนนั้นใคร ๆ เขาเรียกกันว่า " พระราชา."

จบ จิตตสัมภูตชาดกที่ 2

อรรถกถาจิตตสัมภูตชาดก



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุสองรูป ซึ่งอยู่ร่วมรักกันสนิทเป็นสัทธิงวิหาริก ของท่านพระมหากสัสปะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สพฺพํ นรานํ สผลํ สุจิณฺณํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุสองรูปนั้น ใช้สอยสมณบริขารร่วมกันมีความคุ้นเคย
สนิทกันอย่ายิ่ง แม้เมื่อเที่ยวบิณฑบาตก็ไปร่วมกัน ไม่สามารถที่จะพรากจาก
กันได้. ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญความคุ้นเคยกันของภิกษุทั้งสองรูปนั้นแหละ
ในธรรมสภา พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ภิกษุสองรูปนี้เป็นผู้
คุ้นเคยกันในอัตภาพนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย ก็โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้ถึง
จะท่องเที่ยวไประหว่างสามสี่ภพ ก็ไม่ละทิ้งความสนิทสนมกันฐานมิตรเลย
เหมือนกันแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระเจ้าอวันตีมหาราช เสวยราชสมบัติในกรุงอุช-
เชนี แคว้นอวันตี
ในกาลนั้น ด้านนอกกรุงอุชเชนีมีหมู่บ้านคนจัณฑาล
ตำบลหนึ่ง. พระมหาสัตว์เจ้าบังเกิดในหมู่บ้านนั้น ต่อมา คัพภเสยยกสัตว์
แม้อื่น ก็มาเกิดเป็นบุตรแห่งน้าหญิงของพระมหาสัตว์นั้นเหมือนกัน . ในกุมาร
ทั้งสองนั้นคนหนึ่งซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ ชื่อจิตตกุมาร คนหนึ่งซึ่งเป็นบุตร
น้าสาวชื่อสัมภูตกุมาร. กุมารแม้ทั้งสองเหล่านั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว เรียน
ศิลปศาสตร์ ชื่อว่า จัณฑาลวังสโธวนะ วันหนึ่งชักชวนกัน ว่า เราทั้งสอง
จักแสดงศิลปศาสตร์ ที่ใกล้ประตูพระนครอุชเชนี คนหนึ่งแสดงศิลปะที่ประตู