เมนู

ติงสตินิบาตชาดก



1. กิงฉันทชาดก



ว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น



[2285] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมีความพอใจ
อะไร ประสงค์อะไร ปรารถนาอะไร แสวงหาอะไร
จึงมานั่งอยู่แต่ผู้เดียว ในเวลาร้อน เพราะเหตุไร ท่าน
จึงมานั่งดูแม่น้ำ.
[2286] หม้อน้ำใหญ่ มีรูปทรงงดงามฉันใด
ผลมะม่วงสุก อันมีสีกลีบและรสดีเยี่ยม ก็มีอุปไมย
ฉันนั้น.
เราได้เห็นผลมะม่วงนั้น อันกระแสน้ำพัดลอย
มาท่ามกลางแม่น้ำ จึงได้หยิบเอามาเก็บไว้ในเรือนไฟ.
แต่นั้น ก็วางไว้บนใบตอง ทำวิกัปด้วยมีดเอง
แล้วฉัน ความหิว และความกระหายของเราก็หายไป.
เราหมดความกระวนกระวายใจ พอมะม่วงหมด
เราต้องอดทนต่อความทุกข์ ย่อมไม่ได้ประสบความ
พอใจในผลไม้ไร ๆ อื่น.
ผลมะม่วงใดเกิดมีแก่ข้าพเจ้า ผลมะม่วงนั้น
มีรสอร่อยเป็นเลิศ เป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ คงจักนำความ

ตายมาแก่ข้าพเจ้าแน่ เพราะซูบผอม เนื่องจากอด
อาหาร.
ข้าพเจ้าเก็บผลมะม่วงสุก อันลอยมาจากทะเล
ในห้วงมหรรณพได้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ผลมะม่วงสุก
นั้น คงจักนำความตายมาแก่ข้าพเจ้า ต้องมานั่งอยู่ ณ
ที่นี้ เพราะเหตุใด เหตุนั้นทั้งหมดข้าพเจ้าบอกท่าน
แล้ว.
ข้าพเจ้านั่งอยู่เฉพาะแม่น้ำอันน่ารื่นรมย์ แม่น้ำ
นี้กว้างขวางมีปลาโลมาใหญ่อาศัยอยู่ น่าจะพึงมีความ
สบาย ข้าแต่ท่านผู้ยืนอยู่เฉพาะหน้าแห่งเราไม่หนีไป
ท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.
ดูก่อนท่านผู้มีร่างกายอันสันทัดงามดี ท่านผู้มี
ร่างอันสะคราญ เช่นกับด้วยทองใบทั้งแผ่น หรือดุจ
นางพยัคฆีที่สัญจรไปตามซอกเขา ท่านเป็นใคร หรือ
ว่าท่านมาที่นี่เพื่ออะไร.
เทพนารีทั้งหลายในเทวโลก ซึ่งเป็นบริจาริกา
แห่งทวยเทพในฉกามาพจรสวรรค์ มีอยู่เหล่าใด หรือ
สตรีมีรูปงาม ในมนุษยโลกเหล่าใด เทพนารีและสตรี
ทั้งหลายเหล่านั้น ในหมู่เทวดาคนธรรพ์และมนุษย์
ไม่มีที่จะเสมอเหมือนท่านด้วยรูป ท่านผู้มีตะโพกอัน
งามประหนึ่งทอง เราถามท่านแล้ว ขอจงบอกชื่อและ
เผ่าพันธุ์เถิด.

[2287] ดูก่อนพราหมณ์ดาบส ท่านนั่งอยู่
เฉพาะหน้าแม่น้ำโกสิกิคงคาอันน่ารื่นรมย์ใจ โกสิกิ-
คงคานั้น มีกระแสอันเชี่ยว เป็นห้วงน้ำใหญ่ ข้าพเจ้า
สิงสถิตอยู่ในวิมาน อันตั้งอยู่ที่แม่น้ำนั้น.
มีลำห้วย และลำธาร ไหลมาจากเขาหลายแห่ง
เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ไม้นานาพรรณ ย่อมไหลตรง
มารวมอยู่ที่ข้าพเจ้าทั้งนั้น.
ใช่แต่เท่านั้น ยังมีน้ำที่ไหลมาจากป่า มีกระแส
ไหลเชี่ยว สีเขียวปัดอีกมากหลาย และน้ำที่พวกนาค
กระทำให้มีสีวิจิตรต่าง ๆ ย่อมไหลมาตามกระแสน้ำ.
แม่น้ำเหล่านั้น ย่อมพัดเอาผลมะม่วง ผลชมพู่
ผลขนุนสำมะลอ ผลกระทุ่ม ผลตาล และผลมะเดื่อ
เป็นอันมากเนือง ๆ.
ผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ฝั่งทั้งสองตกลงในน้ำ
แล้ว ผลไม้นั้นย่อมเป็นไปในอำนาจแห่งกระแสน้ำ
ของข้าพเจ้า โดยไม่ต้องสงสัย.
ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์มีปัญญามาก ผู้ยิ่งใหญ่
กว่านรชน ท่านรู้อย่างนี้แล้วจงฟังข้าพเจ้า ท่านอย่า
พอใจความเกี่ยวเกาะด้วยตัณหาอย่างนี้เลย จงเลิกคิด
เสียเถิด.

ดูก่อนพระราชฤาษี ผู้ยังรัฐให้เจริญ ข้าพเจ้า
ไม่เข้าใจว่า ท่านจะเจริญรุ่งเรืองไปได้อย่างไร เมื่อ
ท่านซูบผอมรอความตายอยู่.
พรหม คนธรรพ์ เทวดา และฤาษีทั้งหลายใน
โลกนี้ ผู้มีตบะอันสำรวมแล้ว เรืองตบะ เริ่มตั้งความ
เพียร ผู้เรืองยศ ย่อมรู้ความที่ท่านตกอยู่ในอำนาจ
แห่งตัณหา อย่างไม่ต้องสงสัยเลย.
[2288] บาปย่อมไม่เจริญแก่นรชน ผู้รู้จักศีล
และความไม่เที่ยง ดำรงอยู่เหมือนเราฉะนั้น ซึ่งรู้ธรรม
ทั้งปวง รู้ความสลาย และความจุติแห่งชีวิต ถ้านระ
นั้นไม่คิดฆ่าบุคคลอื่นผู้มีความสุข.
ดูก่อนท่านผู้อันหมู่ฤาษีรู้กันทั่วแล้ว ท่านเป็นผู้
อันชนผู้ลอยบาปรู้แจ้งแล้วว่า เป็นผู้เกื้อกูลแก่โลก
แต่ต้องปรารถนาบาปกรรมแก่ตน เพราะใช้คำบริภาษ
อันไม่ประเสริฐไพเราะ.
ดูก่อนท่านผู้มีตะโพกอันผึ่งผาย ถ้าเราจักตาย
อยู่ที่ริมฝั่งน้ำของท่าน เมื่อเราตายไปแล้ว ความ
ติเตียนก็จักมาถึงท่าน โดยไม่ต้องสงสัย.
ดูก่อนท่านผู้มีสะเอวอันกลมกลึง เพราะฉะนั้น
แล ท่านจงรักษาบาปกรรมไว้เถิด อย่าให้คนทั้งปวง
ติเตียนท่านได้ในภายหลัง ในเมื่อเราตายไปแล้ว.

[2289] เหตุนั้น ข้าพเจ้าทราบแล้ว ท่านจง
อดกลั้นไว้ก่อน ข้าพเจ้าจะยอมอุทิศตน และให้
มะม่วงแก่ท่าน เพราะท่านละกามคุณที่ละได้ยาก แล้ว
ตั้งไว้ซึ่งความสงบ และสุจริตธรรม.
บุคคลใดละสังโยชน์ในก่อนได้ แล้วภายหลัง
มาตั้งอยู่ในสังโยชน์ ประพฤติอธรรมอยู่ บาปย่อม
เจริญแก่บุคคลนั้น.
มาเถิด ข้าพเจ้าจะนำท่านไปยังสวนมะม่วง ท่าน
จงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย โดยส่วนเดียวเถิด
ข้าพเจ้าจักนำท่านไปในสวนมะม่วงอันร่มเย็น ท่าน
จงเป็นผู้ไม่ขวนขวายอยู่เถิด.
ดูก่อนท่านผู้ปราบปรามข้าศึก สวนนั้นเกลื่อน-
กล่นไปด้วยหมู่นก ที่มัวเมาอยู่ในรสดอกไม้ มีนก
กระเรียน นกยูง นกเขา ตัวมีสร้อยคออันน่าชม มีหมู่
หงส์ส่งเสียงร้องขรม ฝูงนกดุเหว่าที่ร้องปลุกสัตว์
ทั้งหลายอยู่ในสวนมะม่วงนั้น.
ผลมะม่วงในสวนนั้น ดกเป็นพวงๆดุจฟ่อนฟาง
ปลายกิ่งห้อยโน้มลงมา มีทั้งต้นคำ ต้นสน ต้นกระทุ่ม
และผลตาลสุกห้อยอยู่เรียงราย.
[2290] ท่านทรงทิพมาลา ผ้าโพกศีรษะ
และเครื่องอาภรณ์ล้วนแต่เป็นทิพย์ มีทองต้นแขน

ลูบไล้ด้วยจุรงจันทน์ กลางคืนมีหญิง 16,000 คน
เป็นบริจาริกาบำเรอท่านอยู่ แต่กลางวันต้องเสวย
ทุกขเวทนา.
หญิงเหล่านี้ได้เป็นบริจาริกาของท่าน มีถึง
16,000นาง ท่านมีอานุภาพมากอย่างนี้ ไม่เคยมีใน
มนุษยโลก น่าขนพองสยองเกล้า.
ในภพปางก่อน ท่านทำกรรมอะไรไว้ จึงต้อง
นำทุกขเวทนามาสู่ตน ท่านทำกรรมอะไรไว้ในมนุษย-
โลก จึงต้องเคี้ยวกินเนื้อหลังของตนเองในบัดนี้.
[2291] ข้าพเจ้าเรียนจบไตรเพท หมกมุ่นอยู่
ในกามทั้งหลาย ได้ประพฤติเพื่อความฉิบหายใช่
ประโยชน์ แก่ชนเหล่าอื่น ตลอดกาลนาน.
บุคคลใดเป็นผู้ขูดเลือดเนื้อผู้อื่น บุคคลนั้นย่อม
ต้องควักเนื้อของตนกิน เช่นเดียวกับข้าพเจ้ากินเนื้อ
หลังของตนอยู่จนทุกวันนี้.

จบกิงฉันทชาดกที่ 1

อรรถกถาติงสตินิบาต



อรรถกถากิงฉันทชาดก



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
อุโบสถกรรม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กึฉนฺโท กิมธิปฺปาโย
ดังนี้.
ความย่อว่า วันหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามอุบาสก - อุบาสิกาเป็นอันมาก
ผู้รักษาอุโบสถ ผู้มานั่งเพื่อจะฟังพระธรรมเทศนาอยู่ที่โรงธรรมสภาว่า ดูก่อน
อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านรักษาอุโบสถหรือ ? เมื่อเขากราบทูลให้
ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ท่านทั้งหลายทำการรักษาอุโบสถ จัดว่าได้ทำความดี
โบราณกบัณฑิตทั้งหลายได้รับยศอันยิ่งใหญ่ ก็เพราะผลแห่งอุโบสถกรรม
กึ่งหนึ่ง อันพวกอุบาสกอุบาสิกากราบทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมา
ตรัสดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี
โดยธรรม ทรงเป็นผู้มีศรัทธา ปสาทะ ไม่ประมาทในทานศีล และ
อุโบสถกรรม. ท้าวเธอมีตรัสสั่งแม้กะชนที่เหลือ มีอำมาตย์เป็นต้น ให้ตั้งมั่น
ในกุศลจริยามีทานเป็นต้น. แต่ปุโรหิตของพระองค์ มีปกติรีดเลือดเนื้อ
ประชาชน กินสินบน วินิจฉัยอรรถคดีโดยอยุติธรรม. ในวันอุโบสถตรัสสั่ง
ให้ประชาขนมีอำมาตย์เป็นต้นมาเฝ้า แล้วตรัสสั่งว่า พวกท่านทั้งหลายจงมา
รักษาอุโบสถ. ปุโรหิตก็ไม่ยอมสมาทานอุโบสถ คราวนั้น เมื่อพระราชากำลัง
ทรงซักถามพวกอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายสมาทานอุโบสถละหรือ ? จึงตรัส