เมนู

13. หัตถิปาลชาดก



ว่าด้วยกาลเวลาไม่คอยใคร



[2245] นานทีเดียวข้าพเจ้าเพิ่งได้พบเห็นผู้มี-
ผิวพรรณดังเทพเจ้า มุ่นชฎาใหญ่ ทรงไว้ซึ่งหาบคอน
ผู้ทรมานกิเลสดังเปลือกตมแล้ว ผู้ย้อมเศียรเกล้า.
นานนักหนา ข้าพเจ้าเพิ่งได้เห็น พระฤาษีผู้ยินดี
ในธรรมคุณ นุ่งห่มผ้าย้อมฝาด ครองผ้าคากรอง
ปกปิดโดยรอบ.
ขอท่านผู้เจริญจงรับอาสนะ น้ำ ผ้าเช็ดหน้า
และน้ำมันทาเท้าของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอต้อนรับท่าน
ด้วยสิ่งของมีค่ามาก ได้กรุณารับของมีค่ามากของ
ข้าพเจ้าเถิด.

[2246]

(ปุโรหิต กล่าวว่า) หัตถิปาละลูกรัก
เจ้าจงเรียนวิชา และจงแสวงหาทรัพย์ จงปลูกฝังบุตร
และธิดา ให้ดำรงอยู่ในเรือนเสียก่อน แล้วจึงบริโภค
กลิ่น รส และวัตถุกามทั้งปวงเถิด กิจที่จะอยู่ป่า
เมื่อเวลาแก่สำเร็จประโยชน์ดี มุนีใด บวชในกาล
เช่นนี้ได้ มุนีนั้น พระอริยเจ้าสรรเสริญ.

[2247] (หัตถิปาลกุมารกล่าวว่า) วิชาเป็นของ
ไม่จริงและลาภคือทรัพย์ก็ไม่จริง ใคร ๆ จะห้ามความ
ชราด้วยลาภคือบุตรไม่ได้เลย สัตบุรุษทั้งหลายสอน

ให้ปล่อยวางคันธารมณ์ และรสารมณ์เสีย ความอุบัติ
แห่งผลย่อมมีได้เพราะกรรมของตน.

[2248] (พระราชาตรัสว่า) คำของเจ้าที่ว่า
ความอุบัติแห่งผลย่อมมีได้ เพราะกรรมของตนนั้น
เป็นคำจริงแท้แน่นอน อนึ่ง มารดาบิดาของท่านนี้
แก่เฒ่าแล้ว หวังจะเห็นท่านมีอายุยืนร้อยปี ไม่มีโรค.

[2249] (หัตถิปาลกุมารทูลว่า) ข้าแต่พระราชา
ผู้ประเสริฐกว่านรชน ความเป็นสหาย กับความ
ตาย ความไมตรีกับความแก่ พึงมีแก่ผู้ใด หรือแม้
ผู้ใดจะพึงรู้ว่า เราจักไม่ตาย มารดาบิดาพึงเห็นผู้นั้น
มีอายุยืนร้อยปี ไม่มีโรคเบียดเบียนได้ในบางคราว.
บุรุษเอาเรือมาจอดไว้ที่ท่าน้ำ รับคนฝั่งนี้ ส่งถึง
ฝั่งโน้น แล้วย้อนกลับมารับคนฝั่งโน้น พามาส่งถึง
ฝั่งนี้ ฉันใด ชราและพยาธิ ก็ย่อมนำเอาชีวิตสัตว์
ไปสู่อำนาจแห่งมัจจุราชอยู่เนือง ๆ ฉะนั้น.

[2250] (อัสสปาลกุมารทูลว่า) กามทั้งหลาย
เป็นดังเปลือกตม เป็นเครื่องให้จมลง เป็นเครื่องนำ
น้ำใจสัตว์ไป ข้ามได้ยาก เป็นที่ตั้งแห่งมฤตยู สัตว์
ทั้งหลายผู้ข้องอยู่ในกามอันเป็นดังเปลือกตม เป็น
เครื่องให้จมลงนี้ เป็นสัตว์มีจิตเลวทราม ย่อมข้ามถึงฝั่ง
ไม่ได้.

เมื่อครั้งก่อน อัตภาพของข้าพระองค์นี้ ได้
กระทำกรรมอันหยาบช้า ผลแห่งกรรมนั้น อันข้า-
พระองค์ยึดไว้มั่นแล้ว ข้าพระองค์จะพ้นไปจากผล
แห่งกรรมนี้ไม่ได้เลย ข้าพระองค์จักปิดกั้นรักษาอัต-
ภาพนั้นอย่างรอบคอบ ขออัตภาพนี้ อย่าได้ทำกรรม
อันหยาบช้านี้อีกเลย.

[2251] (โคปาลกุมาร ทูลว่า) ขอเดชะ
พระราชาธิบดี บุรุษผู้เลี้ยงโค ไม่เห็นโคที่หายไปใน
ป่าทึบมืดฉันใด ขอเดชะพระองค์ผู้ทรงพระนามว่า
เอสุการี ประโยชน์ของข้าพระพุทธเจ้า ก็หายไปแล้ว
ฉันนั้น อย่างไรเล่า ข้าพระพุทธเจ้าจักไม่แสวงหา
ต่อไป.
[2252] บุรุษผู้กล่าว ผัดเพี้ยนการงานที่
ควรกระทำในวันนี้ว่า ควรทำในวันพรุ่งนี้ การงาน
ที่ควรทำในวันพรุ่งนี้ ว่าควรทำในวันต่อไป ย่อม
เสื่อมจากการงานนั้น ธีรชนคนใดรู้ว่าสิ่งใดเป็น
อนาคต สิ่งนั้นไม่มีแล้ว พึงบรรเทาความพอใจที่เกิด
ขึ้นเสีย.

[2253] (อชปาลกุมาร ทูลว่า) ข้าพระองค์ได้
เห็นหญิงสาวคนหนึ่ง รูปร่างงามพอประมาณ มี
ดวงเนตรเหมือนดอกการะเกด มัจจุราชมาฉุดคร่าเอา

หญิงสาวคนนั้น ซึ่งกำลังตั้งอยู่ในปฐมวัย ยังมิทันได้
บริโภคโภคสมบัติไป.
อนึ่ง ชายหนุ่ม มีทรงงดงาม มีใบหน้าผ่องใส
น่าดูน่าชม มีวรรณะเรืองรองดังทองคำ มีหนวดเครา
ละเอียดอ่อน ดังเกสรดอกคำฝอย แม้ชายหนุ่มเห็นปาน
นี้ก็ย่อมไปสู่อำนาจแห่งมฤตยู ขอเดชะ ข้าพระองค์จะ
ละกามละเรือนเสียแล้ว จักบวช ขอได้โปรดทรง
พระกรุณาอนุญาตข้าพระองค์บวชเถิด พระเจ้าข้า.

[2254] (พราหมณ์ปุโรหิต กล่าวว่า) ดูก่อน
แม่วาเสฏฐิ ต้นไม้จะได้นามโวหารว่าต้นไม้ได้ ก็เพราะ
มีกิ่งและใบ ชาวโลกเขาเรียกต้นไม้ที่ไม่มีกิ่งและใบว่า
เป็นตอไม้ ทุกวันนี้ เราเป็นผู้มีบุตรละทิ้งไปเสียแล้ว
ถึงเวลาที่เราจักบวชภิกษาจาร.

[2255] (นางพราหมณี กล่าวว่า) นกกระเรียน
ทั้งหลาย บินไปในอากาศได้คล่องแคล่ว ฉันใด เมื่อ
สิ้นฤดูฝนแล้ว หงส์ทั้งหลาย พึงทำลายใยที่แมลงมุม
ทำไว้ไปได้ฉันนั้น บุตรและสามีของเราพากันไปหมด
ไฉนเราจะไม่ปฏิบัติตามบุตรและสามีของเราเล่า.

[2256] (พระนางเทวี ตรัสว่า) ฝูงแร้งเหล่านี้
ครั้นกินเนื้อแล้ว ก็สำรอกออกเสีย จึงบินไปได้ ฝ่าย
แร้งเหล่าใด กินเนื้อแล้วไม่สำรอกเนื้อออก แร้ง

เหล่านั้นก็ตกอยู่ในเงื้อมมือของหม่อมฉัน ข้าแต่พระ-
ราชา พราหมณ์ได้คลายกามทั้งหลายออกทิ้งแล้ว
ส่วนพระองค์นั้นกลับรับเอากามนั้นไว้บริโภคอีก บุรุษ
ผู้บริโภคสิ่งที่ผู้อื่นคายออกแล้ว ไม่พึงได้รับความ
สรรญเสริญเลย.

[2257] (พระราชา ตรัสว่า) ดูก่อนพระนาง
ปัญจาลีผู้เจริญ บุรุษผู้มีกำลัง ช่วยฉุดบุรุษทุพพลภาพ
ผู้จมอยู่ในเปลือกตมขึ้นได้ ฉันใด เธอก็ช่วยพยุงฉัน
ให้ขึ้นจากกามได้ ด้วยคาถาอันเป็นสุภาษิตฉันนั้นแล.

[2258] (พระศาสดา ตรัสว่า) พระเจ้าเอสุการี
มหาราช ผู้เป็นอธิบดีในทิศ ทรงภาษิตคาถานี้แล้ว ทรง
สละราชสมบัติออกบรรพชา อุปมาดังนาคหัตถีตัว
ประเสริฐ สลัดตัดเครื่องผูกไปได้ฉะนั้น.

[2259] (ชาวเมือง ทูลว่า) ก็พระราชาผู้กล้าหาญ
ประเสริฐที่สุดกว่านรชน ทรงพอพระทัยในบรรพชา-
เพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว ขอพระนางโปรดเป็นพระราชา
แห่งข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด พระนางเจ้าอันข้า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายคุ้มครองแล้ว โปรดทรงอนุศาสน์
เสวยราชสมบัติ เหมือนเช่นพระราชาเถิด.

[2260] (พระนางเทวี ตรัสว่า) ก็พระราชาผู้
กล้าหาญ ประเสริฐที่สุดกว่านรชน ทรงพอพระทัยใน

บรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว แม้เราก็จักละกาม
ทั้งหลาย อันน่ารื่นรมย์ใจ เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
ก็พระราชาผู้กล้าหาญ ประเสริฐสุดกว่านรชน
ทรงพอพระทัยในบรรพชาเพศ ละรัฐสีมาไปแล้ว
แม้เราก็จักละกามทั้งหลาย อันตั้งอยู่เป็นถ่องแถวแล้ว
เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย
ย่อมละลำดับไป แม้เราก็จักละกามทั้งหลาย อันน่า-
รื่นรมย์ใจ เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย
ย่อมละลำดับไป แม้เราก็จักละกามทั้งหลาย อันตั้งอยู่
เป็นถ่องแถว เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัย
ย่อมละลำดับไป แม้เราก็จักเป็นผู้เยือกเย็น ก้าวล่วง
ความข้องทั้งปวง เที่ยวไปในโลกแต่ผู้เดียว.

จบหัตถิปาลชาดกที่ 13

อรรถกถาหัตถิปาลชาดก



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
การออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า จิรสฺสํ วต
ปสฺสาม
ดังนี้.
แท้จริงในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่
ในชาตินี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน ตถาคตก็ได้ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์
มาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังนี้
ในอดีตกาล มีพระราชาทรงพระนามว่า เอสุการี ได้ครองราชสมบัติ
อยู่ในพระนครพาราณสี พราหมณ์ปุโรหิตผู้หนึ่งเป็นปิยสหายของพระราชา
นั้น ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์อยู่ด้วยกัน แม้ทั้งสองนั้น หามีโอรสและบุตรผู้จะสืบสกุลไม่
ครั้นวันหนึ่งในยามที่มีความสุข พระราชากับพราหมณ์ปุโรหิต จึงปรึกษากันว่า
อิสริยยศของเราทั้งสองมีมาก โอรสหรือธิดาไม่มีเลย เราทั้งสองควรจะทำ
อย่างไรดี. ลำดับนั้น พระเจ้าเอสุการี ตรัสสั่งพราหมณ์ปุโรหิตว่า สหายรัก
ถ้าหากว่าในเรือนของท่าน จักเกิดมีบุตรขึ้นไซร้ บุตรของท่านจักเป็นเจ้าของ
ครอบครองราชสมบัติของเรา ถ้าว่าเราจักเกิดมีบุตรขึ้น บุตรของเราจักต้อง
เป็นเจ้าของครอบครองโภคสมบัติในเรือนของท่านด้วย. ทั้งสองฝ่ายต่างได้ทำ
การนัดหมายซึ่งกันแลกันไว้ด้วยอาการอย่างนี้. ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์ปุโรหิต
ไปยังบ้านส่วยของตน ในเวลาจะกลับ จึงเข้าสู่พระนครทางประตูด้านทิศทักษิณ
พบสตรีเข็ญใจชื่อ พหุปุตติกะ คนหนึ่ง ในภายนอกพระนคร นางมีบุตรเจ็ด
คนทั้งหมดไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ลูกชายคนหนึ่งถือกระเบื้องอันเป็นภาชนะหุงต้ม
คนหนึ่งหอบเสื่อปูนอน คนหนึ่งเดินนำหน้า คนหนึ่งเดินตามหลัง คนหนึ่งเดิน