เมนู

อรรถกถาสุปปารกชาดก



พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
พระปัญญาบารมี ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุมฺมุชฺชนฺติ นิมุชฺชนฺติ ดังนี้.
เรื่องพิสดารมีว่า วันหนึ่งเพลาเย็น พวกภิกษุพากันรอพระตถาคต
เสด็จออกแสดงธรรม นั่งในธรรมสภา ต่างพรรณนาพระมหาปัญญาบารมี
ของพระทศพลว่า ผู้มีอายุทั้งหลายอัศจรรย์ยิ่งนัก พระศาสดาทรงมีพระปรีชา
มาก มีพระปรีชาหนักหนา มีพระปรีชาแจ่มใส มีพระปรีชาว่องไว มีพระ
ปรีชาคมคาย มีพระปรีชาหลักแหลม ทรงประกอบด้วยพระปรีชาอันเป็น
อุบายในกรณียะนั้น ๆ หนักหนาเสมอด้วยแผ่นดิน ลึกซึ้งประหนึ่งมหาสมุทร
กว้างขวางไม่สิ้นสุดดุจดังอากาศ ปัญหาที่ตั้งขึ้นกันในชมพูทวีป ที่จะได้นามว่า
ผ่านพ้นพระทศพลไปได้ไม่มีเลยทีเดียว เหมือนคลื่นที่ตั้งขึ้นในมหาสมุทร
พอถึงฝั่งเท่านั้นก็แตกกระจายไป ฉันใด ปัญหาอันใดอันหนึ่งที่ตั้งขึ้น ก็มิได้
ผ่านพ้นพระทศพลไปได้ ถึงบาทมูลพระศาสดาแล้ว ย่อมแตกฉานไปทีเดียว
ฉันนั้น พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้
เท่านั้น ที่ตถาคตมีปัญญา แม้ในครั้งก่อน ตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญาด้วยญาณ
อันไม่แก่กล้า ถึงจะเป็นคนตาบอดก็ยังรู้ได้ว่า ในสมุทรตอนนี้มีรัตนะนามนี้
ด้วยการกำหนดน้ำในมหาสมุทร ทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้
ในอดีตกาลพระเจ้ากุรุราช เสวยราชสมบัติ ณ แคว้นกุรุ ได้มี
บ้านอันเป็นท่าเรือนามว่า ภรุกัจฉะ เสวยราชสมบัติ ณ แคว้นกุรุ ครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นบุตรของหัวหน้าต้นหนในบ้านกุรุกัจฉะ เป็นคน
น่าเลื่อมใส ผิวพรรณเพียงดังทอง หมู่ญาติได้ขนานนามให้ท่านว่า สุปารก