เมนู

8. สังวรชาดก



ว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม



[1577] ข้าแต่พระมหาราช พระราชาผู้เป็น
จอมแห่งชน ทรงทราบถึงพระศีลาจารวัตรของ
พระองค์ ทรงยกย่องพระกุมารเหล่านี้ มิได้สำคัญ
พระองค์ด้วยชนบทอะไรเลย.

[1578] เมื่อพระมหาราชาผู้สมมติเทพ ยังทรง
พระชนม์อยู่หรือทิวงคตแล้วก็ตาม พระประยูรญาติ
ผู้เห็นประโยชน์ตนเป็นสำคัญ พากันยอมรับนับถือ
พระองค์.

[1579] ข้าแต่พระเจ้าสังวรราช ด้วยพระศีลา-
จารวัตรข้อไหน พระองค์จึงสถิตอยู่เหนือพระเชษฐ-
ภาดาผู้ทรงร่วมกำเนิดได้ ด้วยพระศีลาจารวัตรข้อไหน
หมู่พระญาติที่ประชุมกันแล้ว จึงไม่ย่ำยีพระองค์ได้.

[1580] ข้าแต่พระราชบุตร หม่อมฉันมิได้
ริษยาสมณะทั้งหลายผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง
หม่อมฉันนอบน้อมท่านเหล่านั้นโดยเคารพ ไหว้เท้า
ของท่านผู้คงที่.

[1581] สมณะเหล่านั้น ยินดีแล้วในคุณธรรม
ของท่านผู้แสวงหาคุณ ย่อมพร่ำสอนหม่อมฉันผู้
ประกอบในคุณธรรม ผู้พอใจฟังไม่มีความริษยา.

[1582] หม่อมฉันได้ฟังคำของสมณะ ผู้แสวง
หาคุณอันใหญ่หลวงเหล่านั้นแล้ว มิได้ดูหมิ่นสักน้อย
หนึ่งเลย ใจของหม่อมฉันยินดีแล้วในธรรม.

[1583] กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ
และกองพลเดินเท้า หม่อมฉันไม่ตัดเบี้ยเลี้ยงและ
บำเหน็จบำนาญของจาตุรงคเสนาเหล่านั้นให้ลด
น้อยลง.

[1584] อำมาตย์ผู้ใหญ่ และข้าราชการผู้มี
ปรีชาของหม่อมฉันมีอยู่ ช่วยกันบำรุงพระนคร
พาราณสีให้มีเนื้อมาก มีน้ำดี.

[1585] อนึ่ง พวกพ่อค้าผู้มั่งคั่งมาแล้วจากรัฐ
ต่าง ๆ หม่อมฉันช่วยจัดอารักขาให้พ่อค้าเหล่านั้น
ขอได้โปรดทราบอย่างนี้เถิด เจ้าพี่อุโบสถ.

[1586] ข้าแต่พระเจ้าสังวรราช ได้ยินว่า
พระองค์ทรงครอบครองราชสมบัติแห่งหมู่พระญาติ
โดยธรรม พระองค์เป็นผู้มีพระปรีชาด้วย เป็นบัณฑิต
ด้วย ทั้งทรงเกื้อกูลพระประยูรญาติด้วย.

[1587] ศัตรูทั้งหลายย่อมไม่เบียดเบียนพระ-
องค์ผู้แวดล้อมไปด้วยพระประยูรญาติ ทรงพร้อมมูล
ด้วยรัตนะต่าง ๆ เหมือนจอมอสูร ไม่เบียดเบียนพระ-
อินทร์ ฉะนั้น.

จบสังวรชาดกที่ 8

อรรถกถาสังวรมหาราชชาดก



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภภิกษุทอดทิ้งความเพียรเสียแล้วรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้น
ว่า ชานนฺโต โน มหาราชา ดังนี้.
เรื่องมีว่า ภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถี ฟังพระธรรม
เทศนาของพระศาสดา บรรพชาได้อุปสมบทแล้ว บำเพ็ญอาจาริยวัตร และ
อุปัชฌายวัตร ท่องพระปาฏิโมกข์ทั้งสองจนคล่อง มีพรรษาครบ 5 เรียน
กรรมฐาน ลาอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า ผมจักอยู่ในป่า ไปถึงบ้านชายแดน
ตำบลหนึ่ง พวกคนต่างเลื่อมใสในอิริยาบถ พากันสร้างบรรณศาลาบำรุงอยู่
ในบ้านนั้น ครั้นเข้าพรรษา ก็บำเพ็ญสืบสร้างพยายามจำเริญกรรมฐานตลอด
ไตรมาส ด้วยความเพียรอันปรารภแล้ว ไม่สามารถให้คุณแม้เพียงโอภาส
บังเกิดได้ ดำริว่า ในบุคคลสี่เหล่า ที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว เราคงเป็น
ประเภทปทปรมะเสียแน่แล้ว เราจะอยู่ป่าทำไม ไปพระเชตวัน คอยดูพระรูป
พระโฉมของพระตถาคตเจ้า สดับธรรมเทศนาอันไพเราะ ยับยั้งอยู่เถอะ.
เธอทอดทิ้งความเพียรออกจากบ้านนั้น ไปถึงพระเชตวันโดยลำดับ ถูกอาจารย์
และอุปัชฌาย์ทั้งภิกษุที่เคยรู้จักมักคุ้น รุมถามถึงเหตุที่บังคับให้มา ก็บอก
เรื่องนั้น ถูกภิกษุเหล่านั้นติเตียนว่า เหตุไรคุณจึงทำอย่างนี้ นำตัวไปสู่สำนัก
พระศาสดา เมื่อตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอพาภิกษุผู้ไม่ปรารถนามากัน
หรือ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้ทอดทิ้งความเพียรมาแล้ว
พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า ที่เขาว่าน่ะจริงหรือ เมื่อกราบทูลว่าจริง
พระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เหตุไรจึงทอดทิ้งความเพียรเสียล่ะ ที่จริง