เมนู

4. อุททาลกชาดก



ว่าด้วยจรณธรรม


[1907] ชฎิลเหล่าใดครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ
ฟันเขลอะ รูปร่างเลอะเทอะ ร่ายมนต์อยู่ ชฎิลเหล่านั้น
เป็นผู้รู้การประพฤติตบะ และการสาธยายมนต์นี้ ใน
ความเพียรที่มนุษย์จะพึงทำกัน จะพ้นจากอบายได้ละ
หรือ.

[1908] ข้าแต่พระราชา ถ้าบุคคลเป็นพหูสูต
ไม่ประพฤติธรรม ก็จะพึงกระทำกรรมอันลามก
ทั้งหลายได้ แม้จะมีเวทตั้งพันอาศัยแต่ความเป็นพหูสูต
ยังไม่บรรลุจรณธรรม จะพ้นจากทุกข์ไปไม่ได้เลย.

[1909] แม้บุคคลผู้มีเวทตั้งพัน อาศัยแต่ความ
เป็นพหูสูตนั้น ยังไม่บรรลุจรณธรรมแล้ว จะพ้นจาก
ทุกข์ไปไม่ได้ อาตมภาพย่อมสำคัญว่าเวททั้งหลายก็
ย่อมไม่มีผล จรณธรรมอันมีความสำรวมเท่านั้นเป็น
ความจริง.

[1910] เวททั้งหลายจะไม่มีผลก็หามิได้ จรณ-
ธรรมอันมีความสำรวมนั่นแลเป็นความจริง แต่บุคคล
เรียนเวททั้งหลายแล้ว ย่อมได้รับเกียรติคุณ ท่านผู้
ฝึกฝนตนด้วยจรณธรรมแล้วย่อมบรรลุถึงสันติ.

[1911] บุตรที่เกิดแต่มารดาบิดาและเผ่าพันธุ์ใด
อันบุตรจะต้องเลี้ยงดูอาตมภาพเป็นคน ๆ นั้นแหละ
มีชื่อว่าอุททาลก เป็นเชื้อสายของวงศ์ตระกูลโสตถิยะ
แห่งท่านผู้เจริญ.

[1912] ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์
ได้อย่างไร เป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร ความดับ
รอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิตเรียกว่า
กระไร.

[1913] บุคคลเป็นพราหมณ์ ต้องบูชาไฟเป็น
นิตย์ ต้องรดน้ำ เมื่อบูชายังต้องยกเสาเจว็ด ผู้กระทำ
อย่างนี้จึงเป็นพราหมณ์ผู้เกษม ด้วยเหตุนั้น ชน-
ทั้งหลายจึงได้พากันสรรเสริญว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

[1914] ความหมดจด ย่อมไม่มีด้วยการรดน้ำ
อนึ่ง พราหมณ์จะเป็นพราหมณ์เต็มที่ด้วยการรดน้ำก็
หาไม่ ขันติและโสรัจจะย่อมมีไม่ได้ ทั้งผู้นั้นจะเป็น
ผู้ดับรอบก็หามิได้.

[1915] ดูก่อนท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นพราหมณ์
ได้อย่างไร และเป็นพราหมณ์เต็มที่ได้อย่างไร ความ
ดับรอบจะมีได้อย่างไร ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม บัณฑิต
เรียกว่ากระไร.

[1916] บุคคลผู้ไม่มีไร่นา ไม่มีพวกพ้อง ไม่
ถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง ไม่มีบาปคือความ
โลภ สิ้นความละโมบในภพแล้ว ผู้กระทำอย่างนี้

ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ผู้เกษม เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลาย
จึงได้พากันสรรเสริญว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

[1917] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน
จัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม
ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ
คนเป็นผู้เย็นแล้ว ยังจะมีคนดีคนเลวอีกหรือไม่.

[1918] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน
จัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม
ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ
คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย.

[1919] กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คน
จัณฑาล คนเทหยากเยื่อทั้งปวง เป็นผู้สงบเสงี่ยม
ฝึกฝนตนแล้ว ย่อมดับรอบได้ทั้งหมด เมื่อคนทุก ๆ
คนเป็นผู้เย็นแล้ว ย่อมไม่มีคนดีคนเลวเลย เมื่อเป็น
อย่างนี้ ท่านชื่อว่าทำลายความเป็นเชื้อสายแห่ง
ตระกูลโสตถิยะ จะประพฤติเพศพราหมณ์ที่เขา
สรรเสริญกันอยู่ทำไม.

[1920] วิมานที่เขาคลุมด้วยผ้ามีสีต่าง ๆ กัน
เงาแห่งผ้าเหล่านั้นย่อมเป็นสีเดียวกันหมด สีที่ย้อมนั้น
ย่อมไม่เกิดเป็นสี ฉันใด ในมนุษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
เมื่อใด มาณพบริสุทธิ์ เมื่อนั้น มาณพเหล่านั้นเป็นผู้มี
วัตรดีเพราะรู้ทั่วถึงธรรม ย่อมละชาติของตนได้.

จบอุททาลกชาดกที่ 4

อรรถกถาอุททาลกชาดก


พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรง
พระปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ขราชินา
ชฏิลา ปงฺกทนฺตา
ดังนี้.
เรื่องย่อมีว่า ภิกษุนั้น แม้บวชในพระศาสนาอันมีธรรมเป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์ได้แล้ว ก็ยังชอบประพฤติเรื่องหลอกลวง 3 สถาน เพื่อต้อง
การปัจจัยทั้งสี่. ครั้งนั้นพวกภิกษุเมื่อจะประกาศโทษของเธอ ตั้งเรื่องสนทนา
กันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุที่ชื่อโน้นบวชในพระศาสนา อัน
ประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้แล้ว ยังจะอาศัยการ
หลอกลวงเลี้ยงชีวิตอยู่เล่า. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อกี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนเธอก็
หลอกลวงเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ พระนคร
พาราณสี
พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปุโรหิต เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาด.
วันหนึ่งท่านไปเล่นอุทยาน เห็นหญิงแพศยารูปงามนางหนึ่ง ติดใจ สำเร็จการ
อยู่ร่วมกับนาง. นางอาศัยท่านมีครรภ์ ครั้นรู้ว่าตนมีครรภ์ ก็บอกท่านว่า
เจ้านาย ดิฉันตั้งครรภ์แล้วละ ในเวลาเด็กเกิด เมื่อดิฉันจะตั้งชื่อ จะขนานนาม
เขาว่าอย่างไรเจ้าคะ. ท่านคิดว่า เพราะเด็กเกิดในท้องวัณณทาสีไม่อาจขนาน
นามตามสกุลได้ แล้วกล่าวว่า แม่นางเอ๋ย ต้นไม้ที่ป้องกันลมได้ต้นนี้ชื่อว่า
ต้นคูณ เพราะเราได้เด็กที่นี้ เธอควรตั้งชื่อเขาว่า อุททาลกะ (คูณ) เถิด แล้ว