เมนู

เห็นปานนั้น. บทว่า ปมชฺเชยฺยํ ความว่า อาตมภาพถึงความประมาทเสีย
คือพึงปรารถนาสิริสมบัติของท่าน ในเมื่อตบะกรรมอาตมภาพบำเพ็ญเพื่อต้อง
การพระนิพพาน มาปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะเสียเล่า อาตมาภาพต้องได้
นามว่าเป็นผู้ประมาท การเห็นท่านเป็นภัยแก่อาตมาภาพอย่างนี้.
ท้าวสักกเทวราชรับคำว่า ดีละ พระคุณเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ข้าพเจ้าจัก
ไม่มาสู่สำนักพระคุณเจ้าละ บังคมท่านขอสมาแล้วก็ครรไลหลีกไป พระมหาสัตว์
อยู่ ณ ที่นั้นเองตลอดชีวิต เจริญพรหมวิหารธรรมบังเกิดในพรหมโลกแล้ว.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
ท้าวสักกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะ ส่วนอกิตติบัณฑิต คือ
เราตถาคตแล.
จบอรรถกถาอกิตติชาดก

8. ตักการิยชาดก



ว่าด้วยการพูดดีเป็นศรีแก่ตัว


[1826] ดูก่อนพ่อตักการิยะ ฉันเองเป็นคน
โง่เขลา กล่าวคำชั่วช้าเหมือนกบในป่าร้องเรียกงูมา
ให้กินตนฉะนั้น ฉันน่าจะตกลงไปในหลุมนี้ ได้ยิน
มาว่า บุคคลที่พูดล่วงเลยขอบเขตไม่ดีเลย.

[1827] บุคคลที่พูดล่วงเลยขอบเขต ย่อมได้
ประสบการจองจำ การถูกฆ่า ความเศร้าโศกและความ

ร่ำไห้ ข้าแต่ท่านอาจารย์ ชนทั้งหลายจะฝังท่านลงใน
หลุมเพราะเหตุใด ท่านต้องติเตียนตัวท่านเองเพราะ
เหตุนั้น.

[1828] เราจะซักถามตุณฑิละ เพื่อประโยชน์
อะไรเล่า นางกาลีซิควรทำกะน้องชายของเขาเอง เรา
ถูกแย่งผ้าจนเป็นคนเปลือยกาย แม้เรื่องนี้ ก็เหมือน
กับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.

[1829] นกกะลิงตัวใด มิได้ชนกับเขาด้วย
เข้าไปจับอยู่ในระหว่างศีรษะแพะทั้งสองซึ่งกำลังชน
กันอยู่ นกกะลิงตัวนั้น ก็ถูกศีรษะแพะบดขยี้แล้ว ณ ที่
นั่นเอง แม้เรื่องนี้ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.

[1830] คน 4 คนจะป้องกันคน ๆ เดียว ช่วย
กันจับชายผ้าไว้คนละชาย คนทั้งหมดนั้นก็พากันหัว
แตกนอนตายแล้ว แม้เรื่องนี้ ก็เหมือนกับเรื่องของ
ท่านเป็นอันมาก.

[1831] นางแพะที่ถูกโจรทั้งหลายผูกไว้ในพุ่ม
กอไผ่ คึกคะนองเอาเท้าหลังดีดไปกระทบมีดตกลงมา
พวกโจรก็เอามีดนั้นเองเชือดคอนางแพะฉันใด แม้
เรื่องนี้ ก็เหมือนกับเรื่องของท่านเป็นอันมาก.

[1832] พวกนี้มิใช่เทวดา มิใช่บุตรคนธรรพ์
พวกนี้เป็นเนื้อ พวกนี้ถูกนำมาด้วยอำนาจประโยชน์

เจ้าทั้งหลายจงย่างมันตัวหนึ่ง สำหรับอาหารมื้อเย็น
อีกตัวหนึ่งสำหรับอาหารมื้อเช้า.

[1833] คำทุพภาษิตตั้งแสนคำ ก็ไม่ถึงแม้ส่วน
เสี้ยวของคำสุภาษิต กินนรรังเกียจคำทุพภาษิตจึงเศร้า
หมอง เพราะเหตุนั้น กินนรจึงนิ่งเฉยเสีย ไม่ใช่นิ่ง
เฉยเพราะความโง่เขลา.

[1834] กินรีตัวนี้กล่าวแก้เราได้แล้ว เจ้า
ทั้งหลาย จงปล่อยกินรีตัวนั้นไป อนึ่ง จงนำไปส่ง
ให้ถึงเขาหิมพานต์ ส่วนกินนรตัวนี้เจ้าทั้งหลาย จงส่ง
ไปให้โรงครัวใหญ่ จงย่างมันสำหรับอาหารเช้า แต่เช้า
ทีเดียว.

[1835] ข้าแต่พระมหาราชา ปศุสัตว์ทั้งหลาย
พึ่งฝน ประชาชนนี้ ก็พึ่งปศุสัตว์ พระองค์เป็นที่พึ่ง
ของข้าพระบาท ภรรยาของข้าพระบาท ก็พึ่งข้าพระ-
บาท ในระหว่างข้าพระบาททั้งสอง ตัวหนึ่งรู้ว่าอีก
ตัวหนึ่งตายแล้ว ตนเองพ้นแล้วจากความตาย จึงจะ
ไปสู่บรรพต.

[1836] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ความ
นินทาทั้งหลายมิใช่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นไปโดยง่ายดาย
ชนทั้งหลายมีฉันทะต่าง ๆ กัน ซึ่งควรจะส้องเสพ
คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญด้วยคุณธรรมข้อใด คนอื่น
ก็ได้ความนินทา ด้วยคุณธรรมข้อนั้นเอง.

[1837] โลกทั้งปวงมีจิตยิ่งด้วยจิตของคนอื่น
โลกทั้งปวงชื่อว่า มีจิตในจิตของตน สัตว์ทั้งปวง
ที่เป็นปุถุชน ต่างก็มีจิตใจต่างกัน สัตว์ทั้งหลายใน
โลกนี้ ไม่พึงเป็นไปในอำนาจแห่งจิตของใคร.

[1838] กินนรพร้อมด้วยกินรีผู้ภรรยา เป็น
ผู้นิ่งไม่พูด เป็นผู้กลัวภัยได้กล่าวแก้แล้วในบัดนี้
กินนรนั้นชื่อว่าพ้นแล้วในบัดนี้ เป็นผู้มีความสุข หา
โรคมิได้ เพราะว่าการเปล่งวาจาดีนำมาซึ่งประโยชน์
แก่นรชนทั้งหลาย.

จบตักการิยชาดกที่ 8

อรรถกถาตักการิยชาดก


พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภภิกษุชื่อโกกาลิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหเมว
ทุพฺภาสิตํ ภาสิ พาโล
ดังนี้.
ความพิสดารว่า ภายในพรรษาหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสองท่าน
ประสงค์จะละหมู่อยู่อย่างเงียบ ๆ ทูลลาพระศาสดา ไปถึงที่อยู่ของพระโกกาลิกะ
ในโกกาลิกรัฐกล่าวเธออย่างนี้ว่า โกกาลิกะผู้มีอายุ เรากับเธอถ้อยทีถ้อยอาศัย
กัน จักอยู่เป็นผาสุกตลอดไตรมาสนี้ เราขออยู่จำพรรษา ณ ที่นี้แหละ. เธอ
ตอบว่า ผู้มีอายุ ก็ท่านอาศัยผมแล้วจักอยู่สำราญได้ไฉนเล่า. พระอัครสาวก
ตอบว่า ผู้มีอายุ ถ้าเธอไม่บอกแก่ใคร ๆ ว่า พระอัครสาวกอยู่จำพรรษาที่นี้