เมนู

อรรถกถาอกิตติชาดก


พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภอุบาสกผู้ทานบดี ชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า อกิตฺตึ ทิสฺวาน สมฺมนฺตํ ดังนี้.
เล่ากันมาว่า อุบาสกนั้นนิมนต์พระศาสดา ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานตลอด 7 วัน ในวันสุดท้าย ได้ถวายบริขารทั้งปวง
แก่พระอริยสงฆ์. ลำดับนั้น พระศาสดาประทับท่ามกลางบริษัทนั้นแหละ เมื่อ
ทรงกระทำอนุโมทนาตรัสว่า อุบาสก การบริจาคของเธอใหญ่หลวง กรรม
ที่ทำได้ยากยิ่งเธอกระทำแล้ว ธรรมดาว่าทานวงศ์นี้ เป็นวงศ์ของหมู่บัณฑิต
แต่ก่อนแท้จริง อันชื่อว่าทานไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ ไม่ว่าเป็นบรรพชิต ควรให้
ทั้งนั้น ก็บัณฑิตแต่เก่าก่อนบวชอยู่ในป่า และแม้จะฉันใบหมากเม่านึ่งกับวัตถุ
เพียงแต่น้ำ ไม่เค็มและไร้กลิ่น ก็ยังให้แก่ยาจกที่ประจวบเหมาะ ตนเองยัง
อัตภาพให้เป็นไปด้วยปีติสุข. อุบาสกนั้นกราบทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ การถวายบริกขารทั้งปวงนี้ ปรากฏแก่มหาชนแล้วละ พระเจ้าข้า
ข้อนี้พระองค์ตรัสยังมิได้ปรากฏ โปรดตรัสคำนั้นแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้า
ข้า ดังนี้แล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ กรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล มีสมบัติ 80 โกฏิ บิดามารดา
ขนานนามว่า อกิตติ. เมื่อท่านเดินได้แล้ว มารดาคลอดน้องสาวคนหนึ่ง.
บิดามารดาขนานนามว่า ยสวดี. พระมหาสัตว์ได้อายุ 16 ปี ไปเมืองตักกศิลา
เรียนศิลปะทั้งปวงแล้วกลับมา. ลำดับนั้น มารดาบิดาของท่านทำกาลกิริยาลง.

ท่านได้จัดทำเปตกิจแก่มารดาบิดาแล้ว ทำการสำรวจทรัพย์อยู่ สดับว่าท่านผู้
ชื่อโน้นสร้างสมบัติไว้เท่านี้ล่วงลับไปแล้ว. ท่านผู้โน้นสร้างสมบัติประมาณ
เท่านี้ล่วงลับไปแล้ว ก็มีใจสลด ดำริว่า ทรัพย์นี้ปรากฏแก่เรา ผู้รวบรวมทรัพย์
หาปรากฏไม่ ทุกคนทิ้งทรัพย์นี้ไปเสียทั้งนั้น. เราก็คงขนเอามันไปไม่ได้ จึง
เรียกน้องสาวมาบอกว่า เธอจงดูแลทรัพย์นี้เถิด. น้องสาวถามว่า ก็พี่มีอัธยาศัย
อย่างไรเล่าพี่. กล่าวว่าฉันอยากจะบวช น้อง. คุณพี่เจ้าคะ ดิฉันไม่ขอน้อมเศียร
รับทรัพย์ที่พี่ถ่มทิ้งไว้แล้ว ดิฉันไม่ต้องการทรัพย์นี้ดอก แม้ดิฉันก็จักบวชบ้าง.
ท่านอำลาพระราชา แล้วให้คนเที่ยวตีกลองร้องประกาศว่า เหล่าชน
ผู้มีความต้องการทรัพย์ จงพากันไปสู่เรือนของท่านอกิตติบัณฑิตเถิด ท่าน
บำเพ็ญมหาทานตลอด 7 วัน ครั้นยังไม่สิ้นไป ก็ดำริว่า อายุสังขารของเรา
ย่อมเสื่อมไป เราจะมัวรอให้ทรัพย์หมดในรูปทำไมกัน ผู้ต้องการจงพากันถือ
เอาไป แล้วเปิดประตูนิเวศน์ประกาศว่า เราให้หมดเลย เชิญขนไปเถิด ทิ้งเรือน
อันมีเงินทองเสีย พาน้องสาวออกจากพระนครพาราณสีไป ทั้ง ๆ ที่มวลญาติ
พากันร่ำไห้ ท่านออกทางประตูใด ประตูนั้นได้นามว่า ประตูอกิตติ ท่าน
ข้ามแม่น้ำท่าใด แม้ท่านั้นก็ได้นามว่า ท่าอกิตติ ท่านเดินไปได้สองสามโยชน์
ก็สร้างบรรณศาลาในสถานอันน่ารื่นรมย์ แล้วบวชพร้อมกับน้องสาว. ตั้งแต่กาล
ท่านบวช ประชาชนชาวบ้าน ชาวตำบลและราชธานีเป็นอันมากพากันบวช จึง
ได้มีบริวารมาก เกิดลาภสักการะมากเป็นไปเหมือนครั้งพุทธุปบาทกาล.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า ลาภสักการะนี้มีมากนัก ทั้งบริวารของเราก็มี
มากมาย แต่เราควรอยู่ลำพังผู้เดียวเท่านั้น ถึงยามปลอด แม้แต่น้องสาวก็ไม่
บอกให้ทราบ ออกไปลำพังผู้เดียวเท่านั้น ไปถึงแคว้นทมิฬโดยพักอยู่ใน
อุทยานใกล้กับท่ากาจีระ ยังฌานและอภิญญาให้บังเกิดแล้ว. แม้ในที่นั้น ลาภ

และสักการะมากมายก็บังเกิดแก่ท่าน ท่านรังเกียจลาภสักการะนั้น ก็ทิ้งเหาะไป
ทางอากาศ ลงที่เกาะหมากเม่า ใกล้เกาะนาค. ครั้งนั้นเกาะหมากเม่าได้นามว่า
เกาะงู ท่านสร้างบรรณศาลาชิดต้นหมากเม่าใหญ่พำนักอยู่ในเกาะงูนั้น การที่
ท่านอยู่ในเกาะนั้นไม่มีใครทราบเลย. ลำดับนั้นน้องสาวของท่านตามหาพี่ชาย
ลุถึงแคว้นทมิฬโดยลำดับ ไม่ได้พบท่าน จึงอยู่ในสถานที่ท่านเคยอยู่นั่นแหละ
แต่ไม่สามารถจะทำฌานให้เกิดได้. พระมหาสัตว์มิได้ไปที่ไหน ๆ เพราะท่าน
ปรารถนาน้อย ในเวลาที่ต้นหมากเม่านั้นมีผล ก็ฉันผลหมากเม่า เวลามีแต่ใบ
ก็เก็บมานึ่งฉัน.
ด้วยเดชแห่งศีลของท่าน บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกเทวราช
แสดงอาการร้อนแล้ว. ท้าวสักกเทวราชทรงนึกว่า ใครเล่านะประสงค์จะให้
เราเคลื่อนจากที่ ทรงเห็นอกิตติบัณฑิต ก็ทรงดำริว่า ดาบสนี้รักษาศีล
เพื่ออะไรเล่า ต้องการเป็นท้าวสักกะ หรือปรารถนาอย่างอื่น ต้องทดลอง
ท่านดู แล้วทรงดำริต่อไปว่า ดาบสนี้เลี้ยงชีวิตด้วยลำบาก ฉันใบหมาก
เม่าที่เพียงนึ่งกับน้ำ ถ้าปรารถนาความเป็นท้าวสักกะ คงจะให้ใบหมากเม่า
นึ่งแก่เรา ถ้าไม่ปรารถนาคงไม่ให้ แล้วแปลงเป็นพราหมณ์ไปสู่สำนักของท่าน
พระโพธิสัตว์นึ่งใบหมากเม่าแล้วปลงลง คิดว่า เราให้เย็นจึงจะฉัน นั่งอยู่ที่
ประตูบรรณศาลา. ลำดับนั้น ท้าวสักกะได้ยืนอยู่เฉพาะหน้าท่าน เพื่อขอภิกษา.
พระมหาสัตว์เห็นท้าวสักกะแล้วมีความโสมนัส ดำริว่า เป็นลาภเหลือหลาย
ของเราซินะ เราเห็นยาจก วันนี้ เราต้องให้ทานทำมโนรถของเราให้ลุถึงที่สุด
ถือใบหมากเม่านึ่งไปใส่ในภาชนะของท้าวเธอ มิได้เหลือไว้เพื่อตนเลยด้วยคิดว่า
ขอทานของเรานี้ จงเป็นปัจจัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณดังนี้. พราหมณ์
ได้รับใบหมากเม่านึ่งนั้นเดินไปหน่อย ก็อันตรธานไป. ฝ่ายพระโพธิสัตว์
ครั้นให้แก่ท้าวเธอแล้ว ก็มิได้นึ่งใหม่ คงยับยั้งด้วยปีตินั่นเอง วันรุ่งขึ้น
นึ่งเสร็จ ก็นั่งที่ประตูบรรณศาลานั่นแหละ. ท้าวสักกะก็แปลงเป็นพราหมณ์

มาอีก. พระมหาสัตว์ก็ให้แก่ท้าวเธออีก คงยับยั้งอยู่ด้วยอาการอย่างเดียว.
แม้ในวันเป็นคำรบสาม คงให้อย่างนั้นแหละ ถึงโสมนัสว่า โอ เป็นลาภ
เหลือหลายของเรา เราอาศัยใบหมากเม่าประสบบุญใหญ่โต แม้ถึงจะอิดโรย
เพราะไม่มีอาหารตลอดสามวัน ก็ยังออกจากบรรณศาลาในเวลาเที่ยงคืนได้
นั่งที่ประตูบรรณศาลารำพึงถึงทานอยู่. ท้าวสักกะทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้
ขาดอาหารตลอดสามวัน แม้จะอิดโรยเห็นปานนั้น ก็ยังให้ทานได้อย่างน่ายินดี
แม้ความแปรแห่งจิตก็มิได้มีเลย เรายังมิได้รู้ว่าท่านปรารถนาชื่อนี้แล้ว ให้ทาน
ต้องถามจึงจักทราบอัธยาศัยของท่าน. ท้าวเธอเสด็จมาในเวลาเที่ยงคืน ยืนอยู่
เบื้องหน้าพระมหาสัตว์ตรัสว่า เจ้าพระคุณดาบส ในเมื่อลมร้อนเห็นปาน
ฉะนี้พัดพานอยู่ พระคุณเจ้าก็คงกระทำตปกรรมอยู่ในป่าอันมีน้ำเค็มล้อมรอบ
เห็นปานนี้ เพื่ออะไรเล่าขอรับ.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาที่ 1 ว่า
ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูต ทรงเห็นอกิตติดาบส
ผู้ยับยั้งอยู่ จึงได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านปรารถนา
สมบัติอะไร ถึงยับยั้งอยู่ผู้เดียวในถิ่นอันแห้งแล้ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ ปฏฺฐยํ ความว่า ท่านปรารถนา
มนุษย์สมบัติหรือ หรือว่าสวรรค์สมบัติเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้น และทราบว่าท้าวเธอเป็นท้าวสักกะ เพื่อ
ประกาศว่า อาตมภาพมิได้ปรารถนาสมบัติเหล่านั้นเลย แต่ปรารถนาพระ-
สัพพัญญุตญาณ จึงกระทำการบำเพ็ญตบะ ดังนี้ จึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า
ดูก่อนท้าวสักกะ การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ อนึ่ง
ความแตกทำลายแห่งร่างกาย และความตายอย่าง
หลงใหล ก็เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงยับยั้ง
อยู่ ณ ที่นี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า พระมหาสัตว์แสดงความ
ที่ท่านมีอัธยาศัยในพระนิพพานอย่างนี้ว่า การแตกทำลายขันธ์บ่อย ๆ และการ
ตายอย่างลุ่มหลง เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงปรารถนาพระนิพพาน
อันเป็นธรรมชาติไม่มีเรื่องเหล่านั้น จึงยับยั้งอยู่ ณ ที่นี้.
ท้าวสักกะสดับคำนั้นแล้ว ทรงมีพระหฤทัยยินดีว่า ข่าวว่า พระคุณเจ้า
รูปนี้ เบื่อหน่ายในภพทั้งปวงแล้ว อยู่ในป่าเพื่อต้องการพระนิพพาน เราต้อง
ถวายพระพรแก่ท่าน เมื่อจะเชิญท่านรับพร จึงกล่าวคาถาที่ 3 ว่า
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้ เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวาย
พรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํกิญฺจิ มนสิจฺฉสิ ความว่า กระผม
ขอถวายพรสุดแต่พระคุณเจ้าจะปรารถนาสิ่งใด ขอพระคุณเจ้าจงรับพรเถิด.
พระมหาสัตว์เมื่อจะรับพร จึงกล่าวคาถาที่ 4 ว่า
ดูก่อนท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ ชน-
ทั้งหลายได้บุตร ภรรยา ทรัพย์ ข้าวเปลือก และสิ่ง
ของอันเป็นที่รักทั้งหลายแล้วยังไม่อิ่มด้วยความโลภใด
ความโลภนั้นอย่าพึงมีในอาตมภาพเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วรญฺเจ เม อโท ความว่า ถ้ามหาบพิตร
จะทรงประทานพรแก่อาตมภาพไซร้. บทว่า ปิยานิ จ ความว่า และสิ่งอื่นใด
อันเป็นที่รัก. บทว่า อนุตปฺเปนฺติ ความว่า ชนทั้งหลายย่อมปรารถนา
สมบัติมีบุตรเป็นต้นบ่อย ๆ ก็ยังไม่ถึงความอิ่ม. บทว่า น มยิ วเส ความว่า
ขอความโลภจงอย่าอยู่ คืออย่าเกิดในอาตมภาพเลย.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงยินดีต่อท่านเมื่อจะให้พรยิ่งขึ้นไป และ
พระมหาสัตว์ เมื่อจะรับพร ต่างก็กล่าวคาถาทั้งหลายว่า
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวายพร
แก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ นา ที่ดิน
เงิน โค ม้า ทาส กรรมกรย่อมเสื่อมสิ้นไปด้วยโทสะ
ใด โทสะนั้นอย่าพึงมีในอาตมภาพเลย.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวาย
พรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ อาตมภาพ
ไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ฟังคนพาล ไม่พึงอยู่รวมกับคน
พาล ไม่ขอกระทำและไม่ขอชอบใจการเจรจาปราศรัย
กับคนพาล.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ คนพาลได้กระทำอะไรให้แก่
ท่านหรือ ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่โยม เพราะเหตุไร
ท่านจึงไม่ปรารถนาเห็นคนพาล.
คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมแนะนำสิ่งที่ไม่ควร
จะแนะนำ ย่อมชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำ

ชั่วเป็นความดีของเขา คนพาลนั้นถึงจะพูดดีก็โกรธ
เขามิได้รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลนั้นเป็นความดี.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวาย
พรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ อาตมภาพ
พึงขอเห็น ขอฟังนักปราชญ์ ขออยู่ร่วมกันกับ
นักปราชญ์ ขอกระทำและขอชอบใจการเจรจาปราศรัย
กับนักปราชญ์.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ นักปราชญ์ได้กระทำอะไร
ให้แก่ท่านหรือ ท่านจงบอกเหตุนั้นแก่โยม เพราะ
เหตุไร ท่านจึงปรารถนาเห็นนักปราชญ์.
นักปราชญ์ย่อมแนะนำสิ่งที่ควรแนะนำ ย่อมไม่
ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำดีเป็นความดี
ของนักปราชญ์นั้น นักปราชญ์นั้น ผู้อื่นกล่าวชอบ
ก็ไม่โกรธ ย่อมรู้จักวินัย การสมาคมคบหากันกับ
นักปราชญ์นั้นเป็นความดี.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวาย
พรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.

ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ เมื่อราตรี
สว่างจ้า พระอาทิตย์อุทัยขึ้นแล้ว ขออาหารอันเป็น
ทิพย์และยาจกผู้มีศีลพึงปรากฏขึ้น เมื่ออาตมภาพให้
ทานอยู่ ขอให้ศรัทธาของอาตมภาพไม่พึงเสื่อมสิ้นไป
ครั้นให้ทานแล้ว ขอให้อาตมภาพไม่พึงเดือดร้อน
ภายหลัง เมื่อกำลังให้อยู่ ก็ขอให้อาตมภาพพึงยังจิต
ให้เลื่อมใส ดูก่อนท้าวสักกะ ขอมหาบพิตรทรง
ประทานพรนี้แก่อาตมภาพเถิด.
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะถ้อยคำที่พระคุณเจ้า
กล่าวนี้เป็นถ้อยคำสมควร เป็นสุภาษิต โยมขอถวาย
พรแก่ท่านตามที่ท่านมีใจปรารถนา.
ดูก่อนท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง ถ้า
มหาบพิตรจะทรงประทานพรแก่อาตมภาพ มหาบพิตร
อย่าพึงเข้ามาใกล้อาตมภาพอีกเลย ดูก่อนท้าวสักกะ
ขอมหาบพิตรทรงประทานพรนี้แก่อาตมภาพเถิด.
นรชาติหญิงชายทั้งหลาย ย่อมปรารถนาจะเห็น
โยม ด้วยวัตรจริยาเป็นอันมาก เพราะเหตุไรหนอ
การเห็นโยมจึงเป็นภัยแก่ท่าน.
อาตมภาพเห็นเพศเทวดาเช่นพระองค์ ผู้สำเร็จ
ด้วยสิ่งที่ต้องประสงค์ทุกอย่างแล้ว ก็จะพึงประมาท
ทำความเพียรปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะ การเห็น
มหาบพิตรจึงเป็นภัยแก่อาตมภาพ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน ชาเตน ความว่า พระมหาสัตว์
ขอว่า หมู่สัตว์มีดวงจิตใดเกิดแล้วจึงโกรธ ต้องเสื่อมจากไร่นาเป็นต้นเหล่านี้
ด้วยอำนาจราชทัณฑ์ เพราะตนทำกรรมมีฆ่าสัตว์เป็นต้น หรือด้วยการฆ่าตน
เสียด้วยวิธี มีกินยาพิษเป็นต้น โทสจิตนั้นไม่พึงอยู่ในอาตมภาพเลย. บทว่า
น สุเณ ความว่า อาตมภาพไม่พึงได้ฟังด้วยเหตุเหล่านั้นว่า คนพาลย่อมอยู่ในที่
ชื่อโน้นเป็นต้นก็ดี. บทว่า กินฺนุ เต อกรํ ความว่า คนพาลย่อมฆ่ามารดา บิดา
ของพระคุณเจ้าหรือ ก็หรือว่า คนพาลกระทำความพินาศอะไรให้แก่ท่านหรือ.
บทว่า อนยํ นยติ ความว่า คนมีปัญญาทรามย่อมยึดถือสิ่งที่มิใช่เหตุว่า
เป็นเหตุ คือย่อมคิดถึงกรรมที่ทารุณเห็นปานนี้ว่า เราจักกระทำปาณาติบาต
เป็นต้นเลี้ยงชีพ. บทว่า อธุรายํ ความว่า คนมีปัญญาทราม ไม่ชักชวน
ในสัทธาธุระ ศีลธุระ และปัญญาธุระ ชักชวนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ. บทว่า
ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ ความว่า การแนะนำชั่วนั่นแลเป็นความดีสำหรับ
ผู้มีปัญญาทราม คือเขาย่อมยึดเอาทุศีลกรรมห้าประการแล้วประพฤตินั่นแหละ
เป็นดี อีกอย่างหนึ่ง เขาเป็นคนที่แนะนำได้ยากในทางปฏิบัติที่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพราะใคร ๆ ไม่สามารถที่จะแนะนำได้. บทว่า สมฺมา วุตฺโต
ความว่า เขาถูกกล่าวโดยเหตุโดยการณ์ย่อมโกรธเคือง. บทว่า วินยํ
ความว่า เขาไม่รู้จักวินัยที่ต้องประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ เช่นว่าต้องก้าวไปอย่างนี้
เป็นอาทิ ทั้งไม่รับโอวาทด้วย. บทว่า สาธุ ตสฺส ความว่า เพราะเหตุเหล่านี้
การไม่พบเห็นเขาเสียได้นั่นแหละเป็นการดี. บทวา ยาจกา ได้แก่ ผู้รับ
โภชนะอันเป็นทิพย์นั้น. บทว่า วตฺตจารีหิ ได้แก่ ด้วยทาน ศีล และอุโบสถ
กรรม. บทว่า ทสฺสนํ อภิกงฺขนฺติ ความว่า เหล่านระและนารีพากันมุ่งหวัง
จะเห็นข้าพเจ้า. บทว่า ตํ ตาทิสํ ความว่าเห็นท่านผู้ประดับด้วยเครื่องประดับ

เห็นปานนั้น. บทว่า ปมชฺเชยฺยํ ความว่า อาตมภาพถึงความประมาทเสีย
คือพึงปรารถนาสิริสมบัติของท่าน ในเมื่อตบะกรรมอาตมภาพบำเพ็ญเพื่อต้อง
การพระนิพพาน มาปรารถนาตำแหน่งท้าวสักกะเสียเล่า อาตมาภาพต้องได้
นามว่าเป็นผู้ประมาท การเห็นท่านเป็นภัยแก่อาตมาภาพอย่างนี้.
ท้าวสักกเทวราชรับคำว่า ดีละ พระคุณเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ข้าพเจ้าจัก
ไม่มาสู่สำนักพระคุณเจ้าละ บังคมท่านขอสมาแล้วก็ครรไลหลีกไป พระมหาสัตว์
อยู่ ณ ที่นั้นเองตลอดชีวิต เจริญพรหมวิหารธรรมบังเกิดในพรหมโลกแล้ว.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
ท้าวสักกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะ ส่วนอกิตติบัณฑิต คือ
เราตถาคตแล.
จบอรรถกถาอกิตติชาดก

8. ตักการิยชาดก



ว่าด้วยการพูดดีเป็นศรีแก่ตัว


[1826] ดูก่อนพ่อตักการิยะ ฉันเองเป็นคน
โง่เขลา กล่าวคำชั่วช้าเหมือนกบในป่าร้องเรียกงูมา
ให้กินตนฉะนั้น ฉันน่าจะตกลงไปในหลุมนี้ ได้ยิน
มาว่า บุคคลที่พูดล่วงเลยขอบเขตไม่ดีเลย.

[1827] บุคคลที่พูดล่วงเลยขอบเขต ย่อมได้
ประสบการจองจำ การถูกฆ่า ความเศร้าโศกและความ