เมนู

6. กาลิงคโพธิชาดก



ว่าด้วยการพยากรณ์ที่อันเป็นชัยภูมิ


[1790] พระเจ้าจักพรรดิทรงพระนามว่ากาลิง-
คะ ได้ทรงสั่งสอนมนุษย์ทั่วแผ่นดินโดยธรรม ได้เสด็จ
ไปสู่ที่ใกล้ต้นโพธิ์ ด้วยช้างทรงมีอานุภาพมาก.

[1791] การทวาชปุโรหิตชาวกาลิงครัฐ พิจาร-
ณาดูภูมิภาคแล้ว จึงประคองอัญชลี กราบทูลพระเจ้า
จักรพรรดิผู้เป็นบุตรแห่งดาบสชื่อกาลิงคะว่า

[1792] ข้าแต่พระมหาราชา ขอเชิญพระองค์
เสด็จลงเถิด ภูมิภาคนี้อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นสมณะทรง
สรรเสริญแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้โดยยิ่ง มี
พระคุณหาประมาณมิได้ ย่อมไพโรจน์ ณ ภูมิภาคนี้.

[1793] หญ้าและเครือเถาทั้งหลายในภูมิภาค
ส่วนนี้ ม้วนเวียนโดยทักษิณาวัฏ ภูมิภาคส่วนนี้
เป็นที่ไม่หวั่นไหวแห่งแผ่นดิน (เมื่อกัลป์จะตั้งขึ้น
ย่อมตั้งขึ้นก่อนเมื่อกัลป์พินาศก็พินาศภายหลัง) ข้าแต่
พระมหาราชา ข้าพระองค์ได้สดับมาอย่างนี้.

[1794] ภูมิภาคส่วนนี้ เป็นมณฑลแห่งแผ่นดิน
อันทรงไว้ซึ่งภูตทั้งปวง มีสาครเป็นขอบเขต ขอเชิญ
พระองค์เสด็จลง แล้วทรงกระทำการนอบน้อมเถิด
พระเจ้าข้า.

[1795] ช้างกุญชรตัวประเสริฐ เกิดในตระกูล
อุโบสถย่อมไม่เข้าไปใกล้ประเทศนั้นเลย ด้วยเหตุมี
ประมาณเท่านี้.

[1796] ช้างตัวประเสริฐนี้ เป็นช้างเกิดแล้วใน
ตระกูลอุโบสถโดยแท้ ถึงกระนั้น ก็ไม่อาจจะเข้าไป
ใกล้ประเทศมีประมาณเท่านี้ได้ ถ้าพระองค์ยังทรง
สงสัยอยู่ ก็จงทรงไสช้างพระที่นั่งไปเถิด.

[1797] พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว
จึงทรงใคร่ครวญถ้อยคำของปุโรหิตผู้ชำนาญการพยา-
กรณ์ว่า เราจักรู้ถ้อยคำของปุโรหิตนี้ว่าจริงหรือไม่จริง
อย่างนี้แล้ว ทรงไสช้างพระที่นั่งไป.

[1798] ฝ่ายช้างพระที่นั่งนั้น ถูกพระราชา
ทรงไสไปแล้ว ก็เปล่งเสียงดุจนกกระเรียนแล้วถอย-
หลังทรุดคุกลง ดังอดทนภาระหนักไม่ได้.

[1799] ปุโรหิตภารทวาชะชาวกาลิงครัฐ รู้ว่า
ช้างพระที่นั่งสิ้นอายุแล้ว จึงรีบกราบทูลพระเจ้า-
กาลิงคะว่า ข้าแต่พระมหาราชา ขอเชิญเสด็จไปทรง
ช้างพระที่นั่งเชือกอื่นเถิด ช้างพระที่นั่งเชือกนี้สิ้นอายุ
แล้ว พระเจ้าข้า.

[1800] พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว จึง
รีบเสด็จไปทรงช้างพระที่นั่งเชือกใหม่ เมื่อพระราชา
เสด็จก้าวไปพ้นแล้ว ช้างพระที่นั่งที่ตายแล้วก็ล้มลง

ณ พื้นดินที่นั้นเอง ถ้อยคำของปุโรหิต ผู้ชำนาญ
การพยากรณ์เป็นอย่างใด ช้างพระที่นั่งเป็นอย่างนั้น.

[1801] พระเจ้ากาลิงคะได้ตรัสกะพราหมณ์
ภารทวาชะ ชาวกาลิงครัฐอย่างนี้ว่า ท่านเป็นสัมพุทธะ
รู้เห็นเหตุทั้งปวงโดยแท้.

[1802] กาลิงคพราหมณ์ เมื่อไม่รับคำสรร-
เสริญนั้นจึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา ข้า
พระองค์เป็นผู้ชำนาญการพยากรณ์ชื่อว่าพุทธะผู้รู้เหตุ
ทั้งปวงก็จริง.

[1803] แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นพระสัพ-
พัญญูด้วย เป็นพระสัพพวิทูด้วย ย่อมรู้เหตุทั้งปวงด้วย
พระญาณเป็นเครื่องกำหนด ข้าพระองค์รู้เหตุทั้งปวง
ได้เพราะกำลังแห่งอาคม พระพุทธเจ้าทั้งหลาย รู้เหตุ
ทั้งปวงได้ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.

[1804] พระเจ้ากาลิงคะ ทรงนำเอามาลาและ
เครื่องลูบไล้พร้อมด้วยดนตรีต่าง ๆ ไปบูชาพระมหา-
โพธิ์แล้ว รับสั่งให้กระทำกำแพงแวดล้อม.

[1805 ] รับสั่งให้เด็ดดอกไม้ประมาณหกหมื่น
เล่มเกวียนมาบูชาโพธิมณฑลอันเป็นอนุตริยะ แล้ว
เสด็จกลับ.

จบกาลิงคโพธิชาดกที่ 6

อรรถกถากาลิงคชาดก*


พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ-
ปรารภการบูชามหาโพธิ์ ที่พระอานนท์เถระการทำแล้ว ตรัสพระธรรม
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชา กาลิงฺโค จกฺกวตฺติ ดังนี้.
ความพิสดารว่า พระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปตามชนบท เพื่อ
ประโยชน์จะทรงสงเคราะห์เวไนยสัตว์ ชาวกรุงสาวัตถีต่างถือของหอมและ
ดอกไม้เป็นต้นไปยังพระเชตวัน ไม่ได้ปูชนียสถานอย่างอื่นไปวางไว้ที่ประตู
พระคันธกุฎี ด้วยเหตุนั้น เขาก็มีความปราโมทย์กันอย่างยิ่ง. ท่านอนาถปิณฑิก
มหาเศรษฐีทราบเหตุนั้นแล้ว จึงไปยังสำนักพระอานนท์เถระ ในเวลาที่
พระตถาคตเสด็จมาพระเชตวัน กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อพระตถาคต
เสด็จหลีกจาริกไป พระวิหารนี้ไม่มีปัจจัย มนุษย์ทั้งหลายไม่มีสถานที่บูชา
ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ขอโอกาสเถิดท่านเจ้าข้า ขอท่านจงกราบทูล
ความเรื่องนี้แด่พระตถาคต แล้วจงรู้ที่ที่ควรบูชาสักแห่งหนึ่ง.
พระอานนทเถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง. พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่างอานนท์.
พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้างพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า
ธาตุเจดีย์ 1 ปริโภคเจดีย์ 1 อุทเทสิกเจดีย์ 1. พระอานนทเถระทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์
ได้หรือ. พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้ เพราะ
ธาตุเจดีย์นั้น จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สำหรับอุทเทสิกเจดีย์
ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้า
บาลีเป็น กาลิงคโพธิชาดก*