เมนู

หญิงหม้ายนั้นหมดแล้ว ก็ทำลายมิตรภาพไปหาหญิง
อื่นต่อไป เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินนักเลง
หญิงเหล่านั้น.

[1672] เมื่อใด คนผู้มีมารยา ปกปิดโทษตน
เปิดเผยโทษผู้อื่น คิดให้ทุกข์ผู้อื่น มีอยู่ในโลก เมื่อนั้น
สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.

จบมหากัณหชาดกที่ 6

อรรถกถามหากัณหชาดก


พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
พระปรารภความประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลก จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า กณฺโห กณฺโห จ โฆโร จ ดังนี้.
ความพิสดารมีว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งในธรรมสภาพรรณนาถึง
พระคุณของพระทศพล ที่ทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นจำนวน
มาก ทรงละความผาสุกส่วนพระองค์เสีย ทรงประพฤติประโยชน์แก่สัตวโลก
โดยส่วนเดียว จำเดิมแต่บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้ว ทรงถือบาตรจีวร
ด้วยพระองค์เอง เสด็จพุทธดำเนินทางสิบแปดโยชน์ ทรงแสดงธรรมจักรแก่
พระเถระปัญจวัคคีย์ ในดิถีที่ 5 แห่งปักษ์ ตรัสอนัตตลักขณสูตร ประทาน
พระอรหัตแก่พระเถระปัญจวัคคีย์ทั้งหมด แล้วเสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ทรง

แสดงพระปาฏิหาริย์สามพันห้าร้อยแก่ชฎิลสามพี่น้อง ให้บรรพชาแล้วพาไป
คยาสีสประเทศ ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร ประทานพระอรหัตแก่ชฎิล
พันหนึ่ง เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสประยะทางสามคาวุต ประทานอุปสมบท
ด้วยโอวาทสามข้อ ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่พระองค์เดียวล่วงมรรคา
สิบห้าโยชน์ ให้ปุกกุสาติกุลบุตรตั้งอยู่ในอนาคามิผล เสด็จไปต้อนรับมหากัปปินะ
ระยะทางยี่สิบโยชน์ ประทานพระอรหัต ครั้งหนึ่งเวลาปัจฉาภัตร เสด็จแต่
พระองค์เดียว ล่วงมรรคาสามสิบโยชน์ ให้พระองคุลีมาลซึ่งเป็นคนหยาบช้า
ตั้งอยู่ในพระอรหัต ครั้งหนึ่งเสด็จล่วงบรรดาสามสิบโยชน์ โปรดอาฬวกยักษ์
ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ทรงกระทำความสวัสดีแก่กุมารที่จะเป็นอาหารยักษ์
ครั้งหนึ่งเสด็จจำพรรษาในดาวดึงส์พิภพ ให้เทวดาแปดสิบโกฏิบรรลุธรรมา-
ภิสมัย แล้วเสด็จไปพรหมโลก ทำลายทิฏฐิของพวกพรหม ประทานพระอรหัต
แก่พวกพรหมหมื่นหนึ่ง เสด็จจาริกไปสามมณฑลตามลำดับปี ประทานสรณะ
และศีลแก่พวกมนุษย์ที่มีอุปนิสัยสมบูรณ์ ทรงประพฤติประโยชน์มีประการ
ต่าง ๆ แม้แก่นาคและสุบรรณเป็นต้น.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้วประพฤติเป็นประโยชน์
แก่สัตวโลกในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อนเมื่อตถาคตยังมีกิเลสมีราคะ
เป็นต้น ก็ได้ประพฤติเป็นประโยชน์แก่สัตวโลกมาแล้วเหมือนกัน ทรงนำ
อดีตนิทานมาดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล ครั้งพระศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าอุส-
สินนร
ราชเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี เมื่อพระกัสสปสัมมาสัม-

พุทธเจ้า เปลื้องมหาชนให้พ้นจากเครื่องผูกพันคือกิเลส ด้วยจตุราริยสัจเทศนา
ทำพระนครคือพระนิพพานให้เต็มแล้วเสด็จปรินิพพาน ครั้นกาลล่วงมานาน
ศาสนาก็เสื่อม ภิกษุทั้งหลายเลี้ยงชีพด้วยการแสวงหาไม่สมควร ทำการเกี่ยวข้อง
กับพวกภิกษุณีจนมีบุตรธิดา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและพราหมณ์ ต่างละธรรม
ของตนเสียสิ้น โดยมากพวกมนุษย์ประพฤติอกุศลกรรมบถสิบ ผู้ที่ตายไป ๆ
จึงไปอัดแน่นกันอยู่ในอบาย.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชไม่เห็นเทวบุตรใหม่ ๆ จึงตรวจดูมนุษยโลก
ก็ทรงทราบว่า พวกมนุษยโลกไปเกิดในอบาย ทรงเล็งเห็นความที่ศาสนาของ
พระศาสดาเสื่อมโทรม ทรงดำริว่า จักทำอย่างไรดีหนอ ทรงเห็นอุบายมีอยู่
อย่างหนึ่ง จึงตกลงพระทัยว่า เราจักต้องทำให้มหาชนกลัว สะดุ้งหวาดเสียว
แล้วค่อยปลอบโยนแสดงธรรม ยกย่องพระศาสนาที่เสื่อมแล้วให้ถาวรต่อไปได้
อีกพันปี รับสั่งให้มาตลีเทพบุตรแปลงเพศเป็นสุนัขดำใหญ่เท่าม้าอาชาไนย
มีรูปร่างดุร้าย มีเขี้ยวโตเท่าผลกล้วย มีรัศมีร้อนเป็นไฟ พลุ่งออกจากเขี้ยว
ทั้งสี่ รูปพิลึกน่าสะพรึงกลัว หญิงมีครรภ์เห็นเข้าอาจแท้งลูก มีเชือกผูกอยู่ห้าแห่ง
คือที่เท้าทั้งสี่และที่คอ บนศีรษะประดับพวงดอกไม้แดง ท้าวสักกะแปลงเพศ
เป็นนายพรานป่า นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด มุ่นผมข้างหน้าไว้ข้างหลังแล้วประดับ
พวงดอกไม้แดง มือขวาถือปลายเชือกที่ผูกสุนัข มือซ้ายถือธนูใหญ่มีสาย มีสี
ดังแก้วประพาฬ กวัดแกว่งวชิราวุธด้วยพระนขา เหาะลงในที่ห่างพระนคร
โยชน์หนึ่ง ส่งเสียงขึ้นสามครั้งว่า มนุษย์ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจักพินาศทำให้
มนุษย์ทั้งหลายหวาดเสียว แล้วไปชานพระนครส่งเสียงขึ้นอีก พวกมนุษย์เห็น
สุนัขนั้นก็หวาดเสียว พากันเข้าพระนคร กราบทูลความเป็นไปให้พระราชา
ทรงทราบ พระราชารับสั่งให้ปิดพระนครโดยด่วน ท้าวสักกะได้โดดข้ามกำแพง

สูงสิบแปดศอก เข้าไปข้างในพระนครพร้อมกับสุนัข พวกมนุษย์กลัวสะดุ้ง
หวาดเสียว ต่างก็หนีเข้าเรือนปิดประตู ฝ่ายสุนัขดำใหญ่ก็วิ่งไล่พวกมนุษย์ที่
ตนได้เห็น ทำให้พวกมนุษย์หวาดเสียวไปพระราชนิเวศน์.
พวกมนุษย์ที่พระลานหลวงพากันหนีไปด้วยความกลัว เข้าพระราช-
นิเวศน์แล้วปิดพระทวาร แม้พระเจ้าอุสสินนรราชก็พานางสนมทั้งหลายขึ้น
ปราสาท สุนัขดำใหญ่ยกเท้าหน้าขึ้นเกาะบานประตูแล้วเห่าลั่น เสียงที่สุนัขเห่า
ดังสนั่นเบื้องล่างถึงอเวจี เบื้องบนถึงภวัครพรหม สกลจักรวาลสะเทือนทั่วถึง
กันหมด เสียงดังเช่นนี้ได้มีในชมพูทวีปสามครั้ง คือเสียงของพระเจ้าปุณณกราช
ในปุณณกชาดกครั้งหนึ่ง เสียงของพระยาสุทัศนนาคราช ในภูริทัตชาดก
ครั้งหนึ่ง และเสียงในมหากัณหชาดกนี้ครั้งหนึ่ง ชาวพระนครพากันกลัวสะดุ้ง
หวาดเสียว แม้บุรุษคนหนึ่งก็ไม่อาจมาเจรจากับท้าวสักกะได้.
พระราชาเท่านั้นดำรงพระสติไว้มั่นคง เยี่ยมพระแกล เรียกท้าวสักกะ
มาตรัสว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ สุนัขของท่านเห่าเพื่ออะไร ท้าวสักกะ
ตอบว่า เห่าด้วยความหิว พระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เราจักให้ข้าวแก่สุนัข
แล้วรับสั่งให้ให้ข้าวที่หุงไว้สำหรับคนในราชสำนักและสำหรับพระองค์ทั้งหมด
สุนัขได้ทำข้าวทั้งหมดนั้นเหมือนกะเป็นข้าวคำเดียว แล้วก็เห่าขึ้นอีก
พระราชาตรัสถามอีก ทรงสดับว่า บัดนี้สุนัขของเรายังหิวอยู่ จึงรับสั่งให้นำ
อาหารที่หุงไว้สำหรับช้างม้าเป็นต้นทั้งหมดมาให้ สุนัขได้กินคำเดียวหมด
เหมือนกัน รับสั่งให้ให้อาหารที่หุงไว้สำหรับพระนครทั้งสิ้น สุนัขได้กินอาหาร
นั้นโดยทำนองนั้นแหละ แล้วก็เห่าขึ้นอีก พระราชาทรงตกพระทัยสะดุ้งกลัว
ทรงดำริว่า นี่เห็นจะไม่ใช่มนุษย์ ต้องเป็นยักษ์โดยไม่ต้องสงสัย เราจะถาม
เหตุที่มาของนายพรานนี้ เมื่อจะตรัสถามได้ตรัสคาถาที่ 1 ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัขตัวนี้ดำจริง
ดุร้าย มีเขี้ยวขาว มีความร้อนพุ่งออกจากเขี้ยว ท่าน
ผูกไว้ด้วยเชือกถึง 5 เส้น สุนัขของท่านจะทำอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณฺโห กณฺโห ความว่า เปล่งเสียง
ซ้ำด้วยอำนาจความกลัว หรือด้วยอำนาจกรรมอันมั่น. บทว่า โฆโร ได้แก่
ให้เกิดความกลัวแก่ผู้ได้พบเห็น. บทว่า ปตาปวา ความว่า มีแสงร้อน ด้วย
ความร้อนแห่งรัศมีที่พลุ่งออกมาจากเขี้ยวทั้งหลาย. บทว่า กึ วีร ความว่า
พระราชาตรัสอย่างนั้นด้วยทรงพระประสงค์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีความเพียร สุนัข
ตัวดุร้ายของท่าน เห็นปานนี้นั้น ทำอะไร มันจับมฤคกินหรือจับอมิตรให้
ท่าน ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยสุนัขตัวนี้ จงปล่อยมันไปเถิด.
ท้าวสักกะได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสคาถาที่ 2 ว่า
ดูก่อนพระเจ้าอุสินนระ สุนัขนี้มิได้มาเพื่อต้อง
การกินเนื้อ แต่เพื่อจะกินมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อใดจักมี
มนุษย์ทำความพินาศให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อนั้น
สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินมนุษย์.

คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า ก็สุนัขตัวนี้มิได้มาในที่นี้ด้วยหวังว่า
จะกินเนื้อมฤค เพราะฉะนั้น จะไม่มีประโยชน์สำหรับพวกมฤค แต่มาเพื่อจะ
กินเนื้อมนุษย์ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะทำความฉิบหายความพินาศให้แก่มนุษย์
เหล่านั้น เมื่อใด ผู้นั้นทำพวกมนุษย์ให้ถึงความพินาศ เมื่อนั้น สุนัขดำนี้ย่อม
หลุด คือจักหลุดจากมือของเราไปกินผู้นั้น.
ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามท้าวสักกะว่า ดูก่อนนายพรานผู้เจริญ
สุนัขดำของท่านจักกินเนื้อมนุษย์ทุกคนหรือว่าจักกินแต่ผู้ที่มิใช่มิตรของท่าน

เท่านั้น ท้าวสักกะตอบว่า ดูก่อนพระราชาผู้ใหญ่ สุนัขจักกินเนื้อมนุษย์ที่มิใช่
มิตรของเราเท่านั้น. คนเช่นไร ที่มิใช่มิตรของท่านในที่นี้. คนที่ไม่ยินดีในธรรม
มีความประพฤติไม่เรียบร้อย ชื่อว่าผู้มีใช่มิตร. ขอท่านจงกล่าวลักษณะคน
เหล่านั้นให้เราทราบก่อน.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสบอกแก่พระราชา ได้ตรัส
พระคาถาสิบคาถาว่า
ผู้ที่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะมีบาตรในมือ มี
ศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิ ทำไรไถนาเลี้ยงชีพ คน
เหล่านี้เป็นคนทุศีล มิใช่มิตรของเรา สุนัขของเราจัก
ฆ่ากินเนื้อได้เมื่อใด สุนัขดำจะหลุดจากเชือกห้าเส้น
ไป เมื่อนั้น.
เมื่อใด จักมีหญิงผู้ปฏิญาณตนว่ามีตบะ บวช
มีศีรษะโล้น คลุมผ้าสังฆาฏิเที่ยวบริโภคกามคุณอยู่
เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินหญิงเหล่านั้น.
เมื่อใด ชฎิลทั้งหลายมีหนวดอันยาว มีฟัน
เขลอะ มีศีรษะเกลือกกลั้วด้วยธุลีเที่ยวภิกขาจาร รวม
ทรัพย์ไว้ให้กู้ ชื่นชมยินดีด้วยดอกเบี้ยเลี้ยงชีพ เมื่อ
นั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินชฎิลเหล่านั้น.
เมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลายเรียนเวทคือสาวิตติ
ศาสตร์ ยัญญวิธีและยัญญสูตร แล้วรับจ้างบูชายัญ
เมื่อนั้น สุนัขดำเหล่านี้จะหลุดไปกินพราหมณ์เหล่า
นั้น.

เมื่อใด ผู้มีกำลังสามารถจะเลี้ยงดูมารดาบิดาได้
แต่ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดาผู้แก่เฒ่าชรา เมื่อนั้น สุนัขดำ
ตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
อนึ่ง เมื่อใด ชนทั้งหลายจักกล่าวดูหมิ่นมารดา
บิดาผู้แก่เฒ่าชราว่า เป็นคนโง่เง่า เมื่อนั้น สุนัขดำ
ตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
อนึ่ง เมื่อใด คนในโลกจะคบหาภรรยาของ
อาจารย์ ภรรยาเพื่อน ป้าและน้าเป็นภรรยา เมื่อนั้น
สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้น.
เมื่อใด พวกพราหมณ์จักถือโล่และดาบ คอย
ดักอยู่ที่ทางฆ่าคนชิงเอาทรัพย์ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้จะ
หลุดไปกินพราหมณ์เหล่านั้น.
เมื่อใด นักเลงหญิงทั้งหลาย ขัดสีผิวกายบำรุง
ร่างกายให้อ้วนพี ไม่รู้จักหาทรัพย์ ร่วมสังวาสกับหญิง
หม้ายที่มีทรัพย์ ครั้นใช้สอยทรัพย์ของหญิงหม้ายนั้น
หมดแล้ว ก็ทำลายมิตรภาพไปหาหญิงอื่นต่อไป เมื่อ
นั้น สุนัขดำตัวนี้จะหลุดไปกินนักเลงหญิงเหล่านั้น.
เมื่อใด คนผู้มีมารยา ปกปิดโทษตน เปิดเผย
โทษผู้อื่น คิดให้ทุกข์ผู้อื่น มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ
อยู่ในโลก เมื่อนั้น สุนัขดำจะหลุดพ้นจากเชือก 5 เส้น
ไปกินคนเหล่านั้นทั้งหมด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมณกา ความว่า ท้าวสักกเทวราช
ตรัสอย่างนี้โดยโวหารว่าละอายเพียงปฏิญาณตนว่า เราเป็นสมณะ. บทว่า
กสิสฺสนฺติ ความว่า คนเหล่านั้น ย่อมทำไร่ไถนาเลี้ยงชีพอย่างเดียว แม้ใน
เวลานั้น. ก็ท้าวสักกะทำเป็นเหมือนไม่รู้จึงกล่าวอย่างนี้. จริงอยู่ ท่านมีประสงค์
ดังนี้ว่า คนเหล่านี้ คือเห็นปานนี้ เป็นคนทุศีล ไม่ใช่เป็นมิตรของเรา เมื่อใด
สุนัขของเราจักฆ่ากินเนื้อคนเหล่านี้ เมื่อนั้น สุนัขดำตัวนี้ ย่อมหลุดพ้นจาก
เชือก 5 เส้นนี้. ด้วยอุบายนี้พึงทราบประกอบอธิบายในคาถาทั้งปวง. บทว่า
ปพฺพชิตา ได้แก่ เป็นผู้บวชในพระพุทธศาสนา. บทว่า คมิสฺสนฺติ ความว่า
เที่ยวบริโภคกามคุณ 5 ในท่ามกลางเรือน. บทว่า ทีฆุตฺตโรฏฺฐา ความว่า
ชื่อว่า มีริมฝีปากสูงยาว เพราะมีเขี้ยวโต. บทว่า ปงฺคทนฺตา ได้แก่ ฟันประกอบ
ด้วยมลทินดังเปือกตม. บทว่า อิณํ โมทาย ความว่า รวบรวมทรัพย์
ด้วยภิกขาจารประกอบหนี้ด้วยความเจริญ ยินดีการทำเช่นนั้น เลี้ยงชีพด้วย
ทรัพย์ที่ได้มาจากภิกขาจารนั้นไปในกาลใด. บทว่า สาวิตฺตึ ได้แก่เรียนเวท
คือสาวัตติศาสตร์. บทว่า ยญฺญํ ตตฺรญฺจ ได้แก่ เรียนยัญญวิธี และยัญญสูตร
ในที่นั้น. บทว่า ภติกาย ความว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นเข้าไปหาพระราชา
และราชมหาอำมาตย์ แล้วบูชายัญเพื่อต้องการค่าจ้างอย่างนี้ว่า เราจักบูชายัญ
เพื่อท่าน ท่านจงให้ทรัพย์แก่เรา. บทว่า ปหุสนฺตา ความว่า เป็นผู้สามารถ
เพื่อพอกเลี้ยง. บทว่า พาลา ตุมฺเห ความว่า คนพาลทั้งหลาย กล่าวคำ
เป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายไม่รู้อะไร. บทว่า คมิสฺสนฺติ ความว่า จักไปด้วย
อำนาจการเสพโมกขธรรม. บทว่า ปนฺถฆาฏํ ความว่า ยืนอยู่ในทางเปลี่ยว
แล้วปล้นฆ่าพวกมนุษย์ ยึดเอาสิ่งของ ๆ พวกมนุษย์เหล่านั้น. บทว่า สุกฺกจฺฉวี

ความว่า นักเลงหญิงทั้งหลาย ตบแต่งด้วยการขัดสีด้วยจุณน้ำฝาดเป็นต้น มี
ผิวพรรณขาว. ในบทว่า เวธเวรา ที่ชื่อว่านักเลงหญิงเพราะอรรถว่าประพฤติ
เป็นเวรกับหญิงหม้าย คือหญิงผัวตายเหล่านั้น. บทว่า ถูลพาหุ ความว่า
มีร่างกายอ้วนพี ด้วยการบำรุงร่างกายเป็นต้น มีการนวดยำเท้าเป็นต้น.
บทว่า อปาตุภา ความว่า เพราะไม่ปรากฏ คือเพราะไม่ทำทรัพย์ให้เกิด.
บทว่า มิตฺตเภทํ แปลว่า ทำลายมิตร. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้
เหมือนกัน. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เมื่อใดนักเลงหญิงเห็นปานนี้คิดว่า
หญิงเหล่านั้นจักไม่ละพวกเรา จึงเข้าไปหาหญิงหม้ายผู้มีเงินร่วมสังวาสกัน เคี้ยว
กินทรัพย์ของหญิงเหล่านั้น จักทำลายมิตรกับหญิงเหล่านั้น ทำลายความคุ้นเคย
ไปหาหญิงอื่นผู้มีทรัพย์ เมื่อนั้นสุนัขดำนี้จะหลุดไปกินคนเหล่านั้นทั้งหมด ซึ่ง
เป็นโจร. บทว่า อสปฺปุริสจินฺติกา ความว่า มีปกติคิดอย่างอสัตบุรุษ คือ
คิดทำร้ายผู้อื่น. เมื่อนั้นสุนัขดำหลุดออกฆ่าพวกเหล่านั้นหมดกัดกินเนื้อแล.
ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะได้ตรัสว่า ดูก่อนมหาราช
คนเหล่านี้ไม่ใช่มิตรของเรา แล้วทรงแสดงสุนัขทำเป็นอยากจะวิ่งไปกัดพวก
อธรรมนั้น ๆ ขณะนั้นมหาชนมีจิตหวาดกลัว ท้าวสักกะทำเป็นฉุดเชือกรั้ง
สุนัขไว้ แล้วละเพศนายพราน เหาะขึ้นไปในอากาศดังดวงอาทิตย์แรกขึ้น
รุ่งเรืองอยู่ด้วยอานุภาพของพระองค์ แล้วตรัสว่า ดูก่อนมหาราช เราคือ
ท้าวสักกเทวราช มาด้วยเห็นว่า โลกนี้จักพินาศ เพราะเดี๋ยวนี้มหาชนพากัน
ประมาทประพฤติอธรรม ตายไป ๆ แออัดอยู่ในอบาย เทวโลกดุจว่างเปล่า ตั้ง
แต่นี้ไปเราจักรู้สิ่งที่ควรทำสำหรับผู้ไม่ประพฤติธรรม ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท
เถิดพระมหาราช แล้วทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาที่มีค่าตั้งร้อยสี่พระคาถา ให้
มนุษย์ทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมและศีล ทำพระศาสนาที่เสื่อมโทรมให้สามารถเป็น
ไปได้อีกพันปี แล้วพามาตลีเสด็จไปยังพิมานของพระองค์.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดง แล้วตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราประพฤติประโยชน์แก่โลกแม้ในกาลก่อนอย่างนี้ แล้วทรง
ประชุมชาดกว่า มาตลีเทพบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วน
ท้าวสักกะได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถามหากัณหชาดก

7. โกสิยชาดก



ว่าด้วยโกสิยเศรษฐีขี้ตระหนี่


[1673] ข้าพเจ้าไม่ซื้อไม่ขายเลย อนึ่ง ความ
สั่งสมของข้าพเจ้าก็มิได้มีในที่นี้เลย ภัตนี้นิดหน่อย
หาได้ยากเหลือเกิน ข้าวสุกแล่งหนึ่งหาพอเพียงแก่เรา
ทั้งสองคนไม่.

[1674] บุคคลควรแบ่งของน้อยให้ตามน้อย
ควรแบ่งของปานกลางให้ตามของปานกลาง ควรแบ่ง
ของมากให้ตามมาก การไม่ให้เสียเลย ย่อมไม่สมควร
ดูก่อนโกสิยเศรษฐี เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าว
กะท่าน ท่านจงขึ้นสู่ทางแห่งพระอริยะ จงให้ทานด้วย
จงบริโภคด้วย ผู้บร้โภคคนเดียวย่อมไม่ได้ความสุข.

[1675] ผู้ใด เมื่อแขกนั่งแล้ว บริโภคโภชนะ
แต่ผู้เดียว พลีกรรมของผู้นั้นย่อมไร้ผล ทั้งความเพียร
ที่จะหาทรัพย์ก็ไร้ประโยชน์ ดูก่อนโกสิยเศรษฐี