เมนู

15. มหามังคลชาดก



ว่าด้วยมงคล



[1473] นรชนรู้วิชาอะไรก็ดี รู้สุตะทั้งหลายอะไร
ก็ดี กระซิบถามกันว่า อะไรเป็นมงคลในเวลา
ปรารถนามงคล นรชนนั้นจะทำอะไร จึงจะเป็น
ผู้อันความสวัสดีคุ้มครองแล้ว ทั้งในโลกนี้
และโลกหน้า.
[1474] เทวดาและพรหมทั้งปวง ทีฆชาติและ
สรรพสัตว์ทั้งหลาย อันบุคคลใดอ่อนน้อม
อยู่เป็นนิจด้วยเมตตา บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
เมตตาของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสวัสดิมงคล
ในสัตว์ทั้งหลาย.
[1475] ผู้ใดประพฤติถ่อมตนแก่สัตวโลกทั้งปวง
แก่หญิงและชายพร้อมทั้งเด็ก เป็นผู้อดทนต่อ
ถ้อยคำชั่วร้าย ไม่กล่าวลำเลิกถึงเรื่องเก่า ๆ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวความอดกลั้นของผู้นั้นว่า
เป็นสวัสดิมงคล.

[1476] ผู้ใดเป็นผู้มีปัญญาดี มีความรู้ปรุโปรง
ในเมื่อเหตุเกิดขึ้นไม่ดูหมิ่นมิตรสหายทั้งหลาย
ด้วยศิลปะ สกุล ทรัพย์ และด้วยชาติ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่ดูหมิ่นสหายของผู้
นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสหายทั้งหลาย.
[1477] สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ชอบพอคุ้นเคย
กัน เป็นมิตรแท้ของผู้ใด ผู้มีคำพูดมั่นคง
อนึ่ง ผู้ใด เป็นผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร แบ่งปัน
ทรัพย์ของตนให้แก่มิตร บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
การได้ประโยชน์เพราะอาศัยมิตร และการ
แบ่งปันของผู้นั้น ว่าเป็นสวัสดิมงคลในมิตร
ทั้งหลาย.
[1478] ภรรยาของผู้ใดมีวัยเสมอกัน อยู่ร่วมกัน
ด้วยความปรองดอง ประพฤติตามใจกัน เป็น
คนใคร่ธรรม ไม่เป็นหญิงหมัน มีศีลโดย
สมควรแก่สกุล รู้จักปรนนิบัติสามี บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวคุณความดีในภรรยาของผู้นั้น ว่า
เป็นสวัสดิมงคลในภรรยาทั้งหลาย.

[1479] พระราชาผู้เป็นเจ้าชีวิต ทรงพระอิสริย-
ยศ ทรงทราบความสะอาด และความขยัน
หมั่นเพียรของราชเสวกคนใด และทรงทราบ
ราชเสวกคนใด ด้วยความเป็นผู้ไม่ร้าวรานกับ
พระองค์ และทรงทราบราชเสวกคนใดว่า มี
ความจงรักภักดีต่อพระองค์ บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวคุณความดีของ ราชเสวกนั้น ๆ ว่า เป็น
สวัสดิมงคลในพระราชาทั้งหลาย.
[1480] บุคคลใดมีศรัทธาให้ข้าวน้ำ ให้ดอกไม้
ของหอม และเครื่องลูบไล้ มีจิตเลื่อมใส
บันเทิงใจ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวคุณข้อนั้น
ของบุคคลนั้นแล ว่าเป็นสวัสดิมงคลในสวรรค์
ทั้งหลาย.
[1481] สัตบุรุษทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งด้วยญาณ ผู้
ยินดีแล้วในสัมมาปฏิบัติ เป็นพหูสูต แสวง
หาคุณเป็นผู้มีศีล ยังบุคคลใดให้บริสุทธิ์ด้วย
อริยธรรม บัณฑิตทั้งหลายยกย่องความดีของ

สัตบุรุษนั้น ว่า เป็นสวัสดิมงคลในท่ามกลาง
พระอรหันต์.
[1482] ความสวัสดีเหล่านี้แล ผู้รู้สรรเสริญ
แล้ว มีสุขเป็นผลกำไรในโลก นรชนผู้มีปัญญา
พึงเสพความสวัสดีเหล่านั้นไว้ในโลกนี้ ก็ใน
มงคล มีประเภท คือ ทิฏฐมงคล สุตมงคล
และมุตมงคล มงคลสักนิดหนึ่งที่จะเป็นมงคล
จริง ๆ ไม่มีเลย.

จบ มหามังคลชาดกที่ 15

อรรถกถามหามังคลชาดกที่ 15



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
มหามงคลสูตร จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กึสุ นโร ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในพระนครราชคฤห์ บุรุษผู้ 1 อยู่ท่ามกลาง
มหาชน ที่ประชุมกัน ณ เรือนรับแขก พูดขึ้นว่า วันนี้มงคลกิริยาจะ
มีแก่เรา ดังนี้ แล้วลุกขึ้นเดินไปด้วยกรณียกิจอย่าง 1 บุรุษอีกคน
1 ได้ฟังคำบุรุษนั้นแล้ว กล่าวว่า บุรุษนี้กล่าวว่า มงคล แล้วก็ไปเสีย
อะไรหนอที่ชื่อว่ามงคล ? บุรุษอีกคน 1 นอกจาก 2 คนที่กล่าวแล้ว
กล่าวว่า การเห็นรูปเป็นมงคลอย่างยิ่ง ความจริงคนบางคนลุกขึ้นแต่