เมนู

5. จุลลโพธิชาดก



ว่าด้วยความโกรธ



[1367] ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าจะมีบุคคลมาพาเอา
นางปริพพาชิกา ผู้มีนัยน์ตากว้างงามน่ารัก มี
ใบหน้าอมยิ้ม ของท่านไปด้วยกำลัง ท่านจะ
ทำอย่างไรเล่า ?
[1368] ถ้าความโกรธเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว
ยังไม่เสื่อมคลายไป เมื่ออาตมภาพยังมีชีวิตอยู่
ยังไม่หาย อาตมภาพจะห้ามกันเสียโดยพลัน
ทีเดียว ดังฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น.
[1369] ท่านกล่าวอวดอ้างไว้ในวันก่อนอย่างไร
หนอ วันนี้เป็นเหมือนว่ามีกำลัง ทำเป็นไม่
เห็น นั่งนิ่งเย็บสังฆาฏิอยู่ในบัดนี้.
[1370] ความโกรธเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยัง
ไม่เสื่อมคลายไป เมื่ออาตมภาพยังมีชีวิตอยู่ก็
ยังไม่หาย แต่อาตมภาพได้ห้ามกันแล้วโดย
พลัน เหมือนฝนห่าใหญ่ชำระล้างธุลี ฉะนั้น.

[1371] ความโกรธเกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว ยังไม่
เสื่อมคลายไปเป็นอย่างไร เมื่อท่านยังมีชีวิต
อยู่ ความโกรธ ก็ยังไม่หายเป็นอย่างไร ท่าน
ได้ห้ามกันความโกรธ เหมือนฝนห่าใหญ่ชำระ
ล้างธุลีฉะนั้น เป็นไฉน ?
[1372] เมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว บุคคลย่อม
ไม่เห็นประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น เมื่อความ
โกรธไม่เกิดขึ้น บุคคลย่อมเห็นได้ดี ความ
โกรธนั้นเกิดขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่เสื่อม
คลายไป ความโกรธเป็นอารมณ์ของตนไร้
ปัญญา.
[1373] ชนทั้งหลายย่อมยินดีด้วยความโกรธที่
เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าเป็นศัตรูแก่ตัวเอง หาความ
ทุกข์ใส่ตัว ความโกรธนั้นเกิดขึ้นแก่อาตมภาพ
แล้ว ยังไม่เสื่อมคลายไป ความโกรธเป็น
อารมณ์ของตนไร้ปัญญา.

[1374] อนึ่ง เมื่อความโกรธเกิดขึ้น บุคคล
ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ตน ความโกรธนั้นเกิด
ขึ้นแก่อาตมภาพแล้ว ยังไม่เสื่อมคลายไป
ความโกรธเป็นอารมณ์ของคนไร้ปัญญา.
[1375] ผู้ที่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมละ
ทิ้งกุศลเสีย แลจะซัดส่ายประโยชน์แม้มาก
มายได้ เขาประกอบด้วยเสนาคือกิเลสหมู่ใหญ่
ที่น่ากลัว มีกำลังสามารถปราบผู้อันให้อยู่ใน
อำนาจได้ ความโกรธนั้นยังไม่เสื่อมคลายไป
จากอาตมภาพ ขอถวายพระพร.
[1376] ธรรมดาไฟย่อมเกิดขึ้นที่ไม้สีไฟอัน
บุคคลสีอยู่ ไฟเกิดขึ้นแต่ไม้ใด ย่อมเผาไม้
นั้นเองให้ไหม้.
[1377] ความโกรธย่อมเกิดขึ้นแก่คนพาล ผู้
โฉดเขลาไม่รู้จริง เพราะความแข่งดี แม้เขา
ก็ถูกความโกรธนั้นแหละเผาลน.

[1378] ความโกรธย่อมเจริญขึ้นแก่ผู้ใด ดุจไฟ
เจริญขึ้นในกองหญ้าแลไม้ฉะนั้น ยศของ
บุคคลนั้นย่อมเสื่อมไป เหมือนพระจันทร์ข้าง
แรม ฉะนั้น.
[1379] ความโกรธของผู้ใดสงบลงได้ ประดุจ
ไฟที่ไม่มีเชื้อฉะนั้น ยศของผู้นั้นย่อมเต็ม
เปี่ยม เหมือนพระจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น.

จบ จุลลโพธิชาดกที่ 5

อรรถกถาจุลลโพธิชาดกที่ 5



พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุมักโกรธรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย เต
อิมํ วิสาลกฺขึ
ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุรูปนั้นแม้บวชในพระพุทธศาสนา ที่จะนำออก
จากทุกข์ ก็ไม่สามารถเพื่อจะข่มความโกรธได้ เป็นคนมักโกรธ มากไป
ด้วยความเคียดแค้นเสมอ เมื่อถูกกล่าวว่าเพียงเล็กน้อย ก็ขุ่นแค้นโกรธ
มุ่งร้ายหมายขวัญ ดังนี้แหละ พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุรูปนั้น
มักโกรธ จึงรับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า