เมนู

3. จตุโปสถิกชาดก



ว่าด้วยสมณะ



[1342] ผู้ใดไม่ทำความโกรธในบุคคลผู้ควรโกรธ
ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ย่อมไม่โกรธในกาลไหน ๆ
บุคคลนั้นแม้จะโกรธ ก็ไม่ทำความโกรธให้
ปรากฏ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล
ว่าเป็นสมณะในโลก.
[1343] นรชนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิว
ได้ นรชนนั้นเป็นผู้ฝึกตนแล้ว มีตบะ มีข้าว
และน้ำพอประมาณ ย่อมไม่บาปเพราะเหตุแห่ง
อาหาร นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวนรชนนั้นแล
ว่าเป็นสมณะในโลก.
[1344 ] บุคคลละการเล่นและความยินดีทั้งปวง
ได้เด็ดขาด ไม่กล่าวคำเหลาะแหละนิดหน่อย
ในโลก เว้นจากการแต่งเนื้อแต่งตัว และเว้น
จากเมถุนธรรม นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าว
บุคคลนั่นแล ว่าเป็นสมณะในโลก.

[1345] บุคคลใดละสิ่งที่เขาหวงแหนและโลภ
ธรรมทั้งปวงเสีย ด้วยปัญญาเครื่องกำหนดรู้
นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นแล ผู้ฝึก
คนแล้ว มีจิตตั้งมั่น ไม่มีตัณหา ไม่มีความหวัง
ว่าเป็นสมณะในโลก.
[1346] ดูก่อนท่านผู้มีปัญญาสามารถจะรู้เหตุ
และมิใช่เหตุที่ควรทำ เราขอถามท่าน ความทุ่ม
เถียงกันในถ้อยคำทั้งหลาย บังเกิดมีแก่เราทั้ง
หลาย ขอท่านโปรดช่วยตัดเสีย ซึ่งความ
สงสัย ความเคลือบแคลงในวันนี้ ขอได้โปรด
ช่วยเราทั้งหมดให้ข้ามพ้นความสงสัยนั้น ใน
วันนี้.
[1347] บัณฑิตเหล่าใดเป็นผู้สามารถเห็นเนื้อ
ความ บัณฑิตเหล่านั้นจึงจะกล่าวได้โดยแยบ-
คาย ในกาลนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชา-
นิกร ท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย จะพึงวินิจฉัยเนื้อ
ความแห่งถ้อยคำทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้กล่าวแล้ว
ได้อย่างไรหนอ.

[1348] พญานาคกล่าวอย่างไร ? พญาครุฑ
กล่าวอย่างไร ? ท้าวสักกะผู้เป็นพระราชาของ
คนธรรพ์ตรัสอย่างไร ? และพระราชาผู้ประ-
เสริฐของชาวกุรุรัฐตรัสอย่างไร ?
[1349] พญานาคกล่าวสรรเสริญขันติ พญา
ครุฑกล่าวยกย่องการไม่ประหาร ท้าวสักกะผู้
เป็นพระราชาของตนธรรพ์ตรัสชมการละความ
ยินดี พระราชาผู้ประเสริฐของชาวกุรุรัฐตรัส
สรรเสริญความไม่กังวล.
[1350] คำเหล่านี้ทั้งหมดเป็นสุภาษิต ในถ้อยคำ
ของท่านทั้ง 4 นี้ ไม่มีคำทุพภาษิตแม้นิดหน่อย
เลย คุณทั้ง 4 มีขันติเป็นต้นนี้ ตั้งมั่นอยู่ใน
ผู้ใดก็เปรียบได้กับกำรถสอดเข้าสนิทดี ที่ดุม
รถฉะนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลผู้
พร้อมเพรียงด้วยธรรม 4 ประการนั้นแล ว่า
เป็นสมณะในโลก.

[1351] ท่านนั้นแลเป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีผู้อื่น
ยิ่งกว่า เป็นผู้ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม มีปัญญาดี
พิจารณาปัญหาด้วยปัญญา เป็นนักปราชญ์ตัด
ความสงสัย ความเคลือบแคลงทั้งหลายเสีย
ได้ ตัดความสงสัยความเคลือบแคลงทั้งหลาย
สำเร็จแล้ว ดุจนายช่างตัดงาช้างด้วยเครื่องมือ
อันคม ฉะนั้น.
[1352] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ
ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึงขอให้ผ้า
ผืนนี้ ซึ่งมีสีสดใสดุจสีอุบลเขียว ไม่หม่น
หมองหาค่ามิได้ มีสีเสมอด้วยควันไฟ เพื่อ
เป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.
[1353] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ
ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึงขอให้
ดอกไม้ทองมีกลีบตั้งร้อยอันแย้มบาน มีเกสร
ประดับด้วยรัตนะจำนวนพัน เพื่อเป็นธรรม
บูชาแก่ท่าน.

[1354] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ
ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึงขอให้แก้ว
มณีอันหาค่ามิได้งามผ่องใส คล้องอยู่ที่คอ
เป็นแก้วมณีเครื่องประดับคอของข้าพเจ้า เพื่อ
เป็นธรรมบูชาแก่ท่าน.
[1355] ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ข้าพเจ้าพอใจ
ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของท่าน จึงขอให้โคนม
โคผู้และช้างอย่างละพัน รถเทียมด้วยม้า
อาชาไนย 10 คัน และบ้านส่วย 16 ตำบล
แก่ท่าน.
[1356] พญานาคในกาลนั้น เป็นพระสารีบุตร
พญาครุฑ เป็นพระโมคคัลลานะ ท้าวสักก-
เทวราช เป็นพระอนุรุทธะ พระเจ้าโกรัพยะ
เป็นพระอานนท์บัณฑิต วิฑุรบัณฑิตเป็นพระ-
โพธิสัตว์นั่นเอง ขอท่านทั้งหลายจงจำชาดกไว้
อย่างนี้.

จบ จุตโปสถิกชาดกที่ 3

อรรถกถาจตุโปสถิกชาดกที่ 3



จตุโปสถิกชาดกนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย โกปเนยฺโย จักมีแจ้งใน
ปุณณกชาดก.
จบ อรรถกถาจตุโปสถิกชาดกที่ 3