เมนู

4. สุมังคลชาดก



ว่าด้วยคุณธรรมของกษัตริย์



[1146] พระเจ้าแผ่นดินทรงรู้ว่า เรากำลังกริ้วจัด
ไม่พึงลงอาชญา อันไม่สมควรแก่ตน โดยไม่
ใช่ฐานะก่อน พึงเพิกถอนความทุกข์ของผู้อื่น
อย่างร้ายแรงไว้.
[1147] เนื้อใดพึงรู้ว่าจิตของตนผ่องใส พึงใคร่
ครวญความผิดที่ผู้อื่นทำไว้ พึงพิจารณาให้เห็น
แจ่มเเจ้งด้วยตนเองว่า นี้ส่วนประโยชน์ นี่
ส่วนโทษ เมื่อนั้น พึงปรับไหมบุคคลนั้น ๆ
ตามสมควร.
[1148] อนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใด ไม่
ถูกอคติครอบงำ ย่อมแนะนำผู้อื่นที่ควรแนะนำ
และไม่ควรแนะนำได้ พระเจ้าแผ่นดินพระ-
องค์นั้น ชื่อว่าไม่เผาผู้อื่นและพระองค์เอง
พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดในโลกนี้ ทรงลง
อาชญาสมควรแก่โทษ พระเจ้าแผ่นดินพระ-

องค์นั้น อันคุณความดีคุ้มครองแล้ว ย่อมไม่
เสื่อมจากสิริ.
[1149] กษัตริย์เหล่าใด ถูกอคติครอบงำ ไม่
ทรงพิจารณาเสียก่อนแล้วทำลงไป ทรงลง
พระอาชญาโดยผลุนผลัน กษัตริย์เหล่านั้น
ประกอบไปด้วยโทษ น่าติเตียน ย่อมละทิ้ง
ชีวิตไป และพ้นไปจากโลกนี้แล้ว ก็ย่อม
ไปสู่ทุคติ.
[1150] พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศ-
พิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศไว้ พระ-
ราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยกาย วาจา
และใจ พระราชาเหล่านั้น ทรงดำรงมั่น อยู่
ในขันติ โสรัจจะ และสมาธิ ย่อมถึงโลก
ทั้งสองโดยวิธีอย่างนั้น.
[1151] เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ของสัตว์และ
มนุษย์ทั้งหลาย ถ้าเราโกรธขึ้นมา เราก็ตั้งตน
ไว้ในแบบอย่างที่โบราณราชแต่งตั้งไว้ คอย

ห้ามปรามประชาชนอยู่อย่างนั้น ลงอาชญา
โดยอุบายอันแยบคายด้วยความปราณี.
[1152] ข้าแต่กษัตริย์ผู้ชนาธิปัตย์ บริวาร
สมบัติ และปัญญา มิได้ละพระองค์ในกาล
ไหน ๆ เลย พระองค์มิได้มักกริ้วโกรธ มี
พระหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ขอพระองค์
ทรงปราศจากทุกข์ บำรุงพระชนม์ชีพ ยืนอยู่
ตลอดร้อยพรรษาเถิด.
[1153] ข้าแต่กษัตริย์ ขอพระองค์จงประกอบ
ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือโบราณราชวัตรมั่นคง
พระราชทานอภัยให้ทูลเตือนได้ ไม่ทรงกริ้ว-
โกรธมีความสุขสำราญไม่เดือดร้อน ปกครอง
แผ่นดินให้ร่มเย็น แม้จุติจากโลกนี้ไปแล้ว ก็
จงทรงถึงสุคติเถิด.
[1153] พระเจ้าธรรมิกราช ทรงฉลาดในอุบาย
เมื่อครองราชสมบัติด้วยอุบายอันเป็นธรรม คือ
กุศลธรรมบถ 10 อันบัณฑิตแนะนำกล่าวไว้ดี

แล้วอย่างนี้ พึงยังมหาชนผู้กำเริบร้อนกายและ
จิต ให้ดับหายไป เหมือนมหาเมฆ ยังแผ่น-
ดินให้ชุ่มชื่นด้วยน้ำ ฉะนั้น.

จบ สุมังคลชาดกที่ 4

อรรถกถาสุมังคลชาดกที่ 4



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ราโชวาทสูตร จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ภุสมฺหิ กุทฺโธ ดังนี้.
ก็ในครั้งนั้น พระศาสดา อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนา
ให้ตรัสเรื่องราว จึงได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี ทรงบำเพ็ญมหาทาน. พระองค์มีคนเฝ้าพระราชอุทยานคน
หนึ่ง ชื่อสุมังคละ. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ออกจาก
เงื้อมภูเขา นันทมูลกะ จาริกไปถึงพระนครพาราณสี อาศัยอยู่ในพระ-
ราชอุทยาน วันรุ่งขึ้นเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร. พระราชาทอด
พระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ทรงเลื่อมใส ไหว้แล้วนิมนต์
ให้ขึ้นไปสู่ปราสาท นั่งบนราชอาสน์ ทรงอังคาสด้วยของเคี้ยวของฉัน
มีรสเลิศต่าง ๆ ครั้นได้ทรงสดับอนุโมทนาแล้ว ทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้น ขอ