เมนู

9. กปิชาดก



ว่าด้วยคุณธรรมของผู้บริหารคณะ



[1028] ผู้จองเวรอยู่ ณ ที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่
ณ ที่นั้น ในที่มีคนจองเวร อยู่คืนเดียวหรือ
2 คืน ก็เป็นทุกข์.
[1029] คนที่เป็นหัวหน้าใจเบา เมื่อคนใจเบา
คล้อยตามจะทำหน้าที่จองเวร เพราะเหตุแห่ง
กระบี่ตัวเดียว เขาได้ทำความย่อยยับให้กระบี่
ทั้งฝูง.
[1030] ก็คนพาลแต่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิตบริ-
หารหมู่คณะลุอำนาจความคิดของตน คงนอน
ตายเหมือนกระบี่ตัวนี้ฉะนั้น.
[1031] คนโง่แต่มีกำลังบริหารหมู่คณะก็ไม่ดี ไม่
เป็นประโยชน์แก่เหล่าญาติเหมือนนกต่อ ไม่
เป็นประโยชน์แก่นกทั้งหลายฉะนั้น.

[1032] ส่วนคนฉลาด มีกำลังบริหารหมู่คณะดี
เป็นประโยชน์แก่เหล่าญาติ เหมือนท้าววาสวะ
เป็นประโยชน์แก่ทวยเทพชาวไตรทศฉะนั้น.
[1033] อนึ่ง ผู้ใดเห็นศีล ปัญญาและสุตะ มี
ในตน ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์แก่คนทั้ง
2 ฝ่าย คือทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น.
[1034] เพราะฉะนั้น ธีรชนควรชั่งใจดูตัวเอง
เหมือนชั่งใจดูศีล ปัญญาและสุตะฉะนั้นแล้ว
จึงบริหารหมู่คณะบ้าง อยู่คนเดียวเว้นการ
บริหารบ้าง.

จบ กปิชาดกที่ 9

อรรถกถาปิชาดกที่ 9



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
แผ่นดินสูบพระเทวทัตแล้ว จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยตฺถ เวรี
นิวสติ
ดังนี้.
ดังจะกล่าวโดยย่อ เมื่อพระเทวทัตเข้าไปสู่แผ่นดินแล้ว ภิกษุทั้ง-
หลายพากันตั้งเรื่องนี้ขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า พระเทวทัตพินาศ