เมนู

7. เสนกชาดก



ว่าด้วยผู้มีปัญญาช่วยคนอื่นได้



[1014] ท่านหัวเสีย มีอินทรีย์ คือนัยตาโรยแล้ว
น้ำตาไหลจากตาของท่านทั้ง 2 ข้าง ท่านสูญ
เสียอะไรไปหรือ ก็ท่านต้องการอะไรจึงมา
ที่นี่ เชิญเถิด เชิญบอกให้เราทราบเถิด.
[1015] ยักษ์รุกขเทวดาบอกว่า วันนี้เมื่อข้าพเจ้า
ไปถึงบ้านเมียของข้าพเจ้าจะตาย แต่ถ้าข้าพเจ้า
ไปไม่ถึงก็จะมีความตายเอง. ข้าพเจ้าหวาดหวั่น
เพราะทุกข์นั้น ข้าแต่ท่านเสนกะ ขอท่านจง
บอกเหตุนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.
[1016] เราคิดค้นหาเหตุหลายอย่าง บรรดาเหตุ
เหล่านี้ เหตุที่เราจะบอกนั่นแหละเป็นของจริง
ดูก่อนพราหมณ์ เราเข้าใจว่า งูเห่าหม้อตัวหนึ่ง
ได้เลื้อยเข้าไปอยู่ในไถ้ข้าวตูของท่านผู้ไม่รู้สึก.
[1017] ท่านจงเอาท่อนไม้เคาะไถ้ดูเถิด จะเห็น
งูมีลิ้น 2 แฉก พ่นพิษเลื้อยออกมา ท่านจะ

สิ้นความเคลือบแคลงสงสัย วันนี้แหละ ท่าน
จงแก้ไถ้เถิด ท่านจะเห็นงู.
[1018] พราหมณ์นั้นสลดใจ ทิ้งไถ้ข้าวตูลง
ท่ามกลางบริษัท ลำดับนั้น งูพิษที่มีพิษร้าย
ได้แผ่แม่เบี้ยเลื้อยออกมา.
[1019] เป็นการได้ลาภที่ดีของพระเจ้าชนก ที่
ทรงเห็นเสนกบัณฑิตผู้มีปัญญาดี ท่านเป็นผู้
เปิดเครื่องปิดบังออกได้หรืออย่างไร จึงเห็น
ของทุกอย่าง ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ญาณของ
ท่านเป็นญาณที่น่าพิศวงนัก ทรัพย์เหล่านั้นของ
ข้าพเจ้ามีอยู่ 700 กหาปณะ ขอท่านจงรับเอา
ทั้งหมดเถิด ข้าพเจ้าขอมอบให้ท่าน เพราะว่า
วันนั้นข้าพเจ้าได้ชีวิตไว้ เพราะท่าน อีกโสดหนึ่ง
ท่านก็ได้ทำความสวัสดีให้แก่ภรรยาของข้าพ-
เจ้าด้วย.
[1020] บัณฑิตทั้งหลายจะไม่รับค่าจ้าง เพราะ
คาถาทั้งหลายที่ไพเราะที่ตนกล่าวดีแล้ว ดูก่อน

พราหมณ์ ที่ตนจงให้ทรัพย์ของท่านได้แต่
เพียงนี้ วางใกล้เท้า แล้วจงรับเอาไปยังที่อยู่
ของท่านเถิด.

จบ เสนกชาดกที่ 7

อรรถกถาเสนกชาดกที่ 7



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระปัญญาบารมีของพระองค์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วิพฺภนฺต-
จิตฺโต
ดังนี้. เรื่องปัจจุบันจักมีแจ่มแจ้งในอุปมังคชาดก.
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า ชนก ครองราชสมบัติ
อยู่ในนครพาราณสี. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์.
เหล่าญาติได้ขนานนามท่านว่า เสนกะ. ท่านเติบโต แล้วเรียนศิลปะ
ทุกอย่างที่เมืองตักกศิลา แล้วกลับมาเฝ้าพระราชาที่นครพาราณสี. พระ-
ราชาทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งอำมาตย์ และทรงเพิ่มยศยิ่งใหญ่
ให้ท่าน. ท่านได้ถวายอรรถธรรมแก่พระราชาเนื่อง ๆ. ท่านเป็นผู้สอน
ธรรมที่มีถ้อยคำไพเราะ ให้พระราชาทรงดำรงอยู่ในเบญจศีล แล้วให้
ทรงดำรงอยู่ในปฏิปทาที่ดีงามนี้ คือในทาน ในอุโบสถกรรม และใน
ศีลธรรมบถ 10 ข้อ. สมัยนั้น ได้เป็นเหมือนเวลาที่พระพุทธเจ้า
เสด็จอุบัติขึ้นในสากลรัฐ. พระมหาสัตว์ไปที่ท่ามกลางแท่นที่อบอวล