เมนู

3. กุนตินีชาดก


ว่าด้วยการเชื่อมิตรภาพ


[670] หม่อมฉันได้อาศัย อยู่ในพระราชนิเวศน์
ของพระองค์ พระองค์ทรงอุปถัมภ์บำรุงมา
เป็นอย่างดีมิได้ขาด มีบัดนี้ พระองค์ทีเดียว
ได้ก่อเหตุขึ้น ข้าแต่พระราชา ผิฉะนั้น
หม่อมฉันจะขอทูลลาไปป่าหิมพานต์.
[671] ผู้ใดแล เมื่อคนอื่นทำธรรนอันชั่วร้าย
ให้แก่ตนแล้ว และตนก็ได้ทำตอบแทนแล้ว
ย่อมรู้สึกได้ว่า เราได้ทำตอบแก่เขาแล้ว
เวรของผู้นั้นย่อมสงบไปด้วยอาการเพียงเท่านี้
ดูก่อนนางนกกะเรียน ท่านจงอยู่เถิด อย่า
เพิ่งไปเลย.
[672] มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย
ย่อมเชื่อมกันไม่ติดอีก ใจของหม่อมฉันไม่
อนุญาตให้อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันขอทูลลาไป.

[673] มิตรภาพของผู้ที่ถูกทำร้ายกับผู้ที่ทำร้าย
ย่อมกลับเชื่อมติดกันได้อีกเฉพาะพวกบัณ-
ฑิตด้วยกัน ย่อมเชื่อมกันไม่ติดอีกเฉพาะ
พวกชนพาล ดูก่อนนางนกกะเรียน ท่าน
จงอยู่เถิด อย่าไปเลย.

จบ กุนตินีชาดกที่ 3

อรรถกถากุนตินีชาดกที่ 3


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
นางนกกะเรียนซึ่งอยู่อาศัยในพระราชวังปองพระเจ้าโกศล จึงตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อวสิมฺหา ตวาคาเร ดังนี้.
ได้ยินว่า นางนกกะเรียนนั้นเป็นผู้จำทูลพระราชสาสน์ของ
พระราชา นางนกนั้นมีลูกนกอยู่ 2 ตัว. พระราชาทรงให้นางนกนั้น
ถือพระราชหัตถเลขาไปส่งแก่พระราชาองค์หนึ่ง. ในเวลาที่นางนกนั้น
ไปแล้ว พวกทารกในราชสกุลพากัน เอามือบีบลูกนกเหล่านั้นจน
ตายไป. นางนกนั้นกลับมาแล้วเห็นลูกนกเหล่านั้นตายแล้วจึงถามว่า
ใครฆ่าลูกฉันตาย ? เขาบอกว่า เด็กคนโน้นและเด็กคนโน้นฆ่า. ก็
ในเวลานั้น ในราชสกุล มีเสือโคร่งที่เลี้ยงไว้ตัวหนึ่งดุร้ายหยาบช้า
มันอยู่ได้โดยการล่ามไว้. ทีนั้นพวกเด็กเหล่านั้น ได้ไปเพื่อจะดูเสือ
โคร่งนั้น. นางนกแม้นั้นก็ได้ไปกับเด็กเหล่านั้น คิดว่า เราจักกระทำ