เมนู

2. รถลัฏฐิชาดก


ว่าด้วยใคร่ครวญก่อนแล้วทำ


[626] ข้าแต่พระราช บุคคลทำร้ายตนเอง
กลับกล่าวหาว่าคนอื่นทำร้ายดังนี้ก็มี โกงเขา
แล้ว กลับกล่าวหาว่าเขาโกงดังนี้ก็มี ไม่ควร
เชื่อคำของโจทก์ฝ่ายเดียว.
[627] เพราะฉะนั้น บุคคลผู้เป็นเชื้อชาติ
บัณฑิตควรฟังคำแม้ของฝ่ายจำเลย เมื่อฟัง
คำของโจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่ายแล้ว พึง
ปฏิบัติตามธรรม.
[628] คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามคุณ เกียจคร้าน ไม่ดี
บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่งาม พระเจ้าแผ่นดิน
ไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำไป ไม่งาม
บัณฑิตมีความโกรธเป็นเจ้าเรือน ก็ไม่งาม.
[629] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้าแห่งทิศ พระมหา-
กษัตริย์ทรงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงปฏิบัติ
ไม่ทรงใคร่ครวญเสียก่อน ไม่ควรปฏิบัติ
อิสริยยศ บริวารยศ และเกียรติคุณของ

พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงใคร่ครวญแล้วจึงทรง
ปฏิบัติย่อมมีแต่เจริญขึ้น.

จบ รถลัฏฐิชาดกที่ 2

อรรถกถารถลัฏฐิชาดกที่ 2


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ปุโรหิตของพระเจ้าโกศล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อปิ หนฺตฺวา หโต พรูติ ดังนี้.
ได้ยินว่า ปุโรหิตนั้นไปบ้านส่วยของตนด้วยรถ ขับรถไปในทาง
แคบ พบหมู่เกวียนพวกหนึ่ง จึงกล่าวว่า พวกท่านจงหลีกเกวียนของ
พวกท่าน ดังนี้แล้วก็จะไป เมื่อเขายังไม่ทันจะหลีกเกวียนก็โกรธ จึง
เอาด้ามปฏักประหารที่แอกรถของนายเกวียนในเกวียนเล่มแรก. ด้าม
ปฏักนั้นกระทบแอกรถก็กระดอนกลับมาพาดหน้าผากของปุโรหิตนั้น
เข้า ทันทีนั้นที่หน้าผากก็มีปมปูดขึ้น. ปุโรหิตนั้นจึงกลับไปกราบทูล
แก่พระราชาว่า ถูกพวกนายเกวียนตี พระราชาจึงทรงสั่งพวกตุลาการ
ให้วินิจฉัย พวกตุลาการจึงให้เรียกพวกนายเกวียนมาแล้ววินิจฉัยอยู่
ได้เห็นแต่โทษผิดของปุโรหิตนั้นเท่านั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
นั่งสนทนากันในธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลายได้ยินว่า ปุโรหิต
ของพระราชาเป็นความหาว่า พวกเกวียนตีตน แต่ตนเองกลับเป็น
ฝ่ายผิด. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้