เมนู

8. โกกิลวรรค


1. โกกาลิกชาดก


ว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด


[622] เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด ผู้ใดพูดเกิน
กาลไป ผู้นั้นย่อมถูกทำร้ายดุจลูกนกดุเหว่า
ฉะนั้น.
[623] มีดที่ลับคมดีแล้ว ดุจยาพิษอันร้ายแรง
หาทำให้ตกไปทันทีทันใด เหมือนวาจาทุพ-
ภาษิตไม่.
[624] เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรรักษาวาจาไว้
ทั้งในกาลควรพูดและไม่ควร ไม่ควรพูดให้
ล่วงเวลา แม้ในบุคคลผู้เสมอกับตน.
[625] ผู้ใดมีความคิดเห็นเป็นเบื้องหน้า มี
ปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นประจักษ์ พูดพอ
เหมาะในกาลที่ควรพูด ผู้นั้นย่อมจับศัตรูได้
ทั้งหมด ดุจครุฑจับนาคได้ ฉะนั้น.

จบ โกกาลิกชาดกที่ 1

อรรถกถาโกกิลวรรคที่ 4


อรรถกถาโกกาลิกชาดกที่ 1

1

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระโกกาลิกะ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย เว
กาเล อสมฺปตฺเต
ดังนี้. เรื่องปัจจุบันได้ให้พิสดารแล้วในตักการิย-
ชาดก. ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์แก้วของพระเจ้าพาราณสีนั้น.
พระราชานั้นได้เป็นผู้มีพระดำรัสมาก พระโพธิสัตว์คิดว่า จักห้ามการ
ตรัสมากของพระราชานั้น จึงเที่ยวคิดหาอุบายอย่างหนึ่ง. ครั้นวันหนึ่ง
พระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน แล้วประทับนั่งบนแผ่นศิลาอันเป็น
มงคล. เบื้องบนแผ่นศิลานั้น มีมะม่วงอยู่ต้นหนึ่ง นางนกดุเหว่า
วางฟองไข่ของตนไว้ในรังการังหนึ่ง ณ ต้นมะม่วงนั้น แล้วได้ไปเสีย.
นางกาก็ประคบประหงมฟองไข่นกดุเหล่านั้น. จำเนียรกาลล่วงมา ลูก-
นกดุเหว่าก็ออกจากฟองไข่นั้น. นางกาสำคัญว่าบุตรของเรา จึงนำอาหาร
มาด้วยจงอยปาก ปรนนิบัติลูกนกดุเหว่านั้น. ลูกนกดุเหว่านั้นขนปีก
ยังไม่งอกก็ส่งเสียงร้องเป็นเสียงดุเหว่า ในกาลอันไม่ควรร้องเลย.
นางกาคิดว่า ลูกนกนี้มันร้องเป็นเสียงอื่นในบัดนี้ก่อน เมื่อโตขึ้นจัก
ทำอย่างไร จึงตีด้วยจะงอยปากให้ตายตกไปจากรัง. ลูกนกดุเหว่านั้น
1. ม. โคลิล ฯ