เมนู

2. ทุททุภายชาดก


ว่าด้วยพวกกระต่ายตื่นตูม


[586] ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ข้าพเจ้าอยู่
ในประเทศใด ประเทศนั้นทำเสียงว่าทุททุภะ
แม้ข้าพเจ้าเองก็ไม่รู้เสียงลั่นนั้นว่า อะไรทำ
ให้เกิดเสียงว่าทุททุภะ.
[587] กระต่ายได้ยินผลมะตูมสุกหล่นมีเสียง
ว่า ทุททุภะ ก็วิ่งหนีไป หมู่เนื้อได้ฟังถ้อยคำ
ของกระต่ายแล้ว พากันตกใจวิ่งหนีไปด้วย.
[588] ชนเหล่าใดมักเชื่อตามเสียงคนอื่น ยัง
ไม่ทันได้ถึงร่องรอยแห่งวิญญาณเลย ชน
เหล่านั้นนับว่าเป็นพาล มีความประมาทเป็น
อย่างยิ่ง ดีแต่เชื่อผู้อื่น.
[589] ส่วนชนเหล่าใดสมบูรณ์ด้วยศีล ด้วย
ปัญญา ยินดีในความสงบ ชนเหล่านั้นนับ
ว่าเป็นบัณฑิต งดเว้นความชั่วห่างไกล ย่อม
ไม่เชื่อคนอื่นเลย.

จบ ทุททุภรยชรดกที่ 2

อรรถกถาทัทธภายชาดก ที่ 1

1

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพวก
อัญญเดียรถีย์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ททธภายติ
ภทฺทนฺเต
ดังนี้.
ได้ยินว่า เดียรถีย์ทั้งหลายสำเร็จการนอนบนที่นอนหนาม
เผาทำให้ร้อนห้าประการ ประพฤติมิจฉาตบะมีประการต่าง ๆ อยู่ใน
ที่นั้น ณ ที่ใกล้พระวิหารเชตวัน ครั้งนั้น ภิกษุมากด้วยกันเที่ยว
บิณฑบาต ในนครสาวัตถีแล้วพากันมายังพระวิหารเชตวัน ในระหว่าง
ทาง ได้เห็นเดียรถีย์เหล่านั้น จึงพากันไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถาม
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสาระแก่นสารในการสมาทานวัตรของสมณ-
พราหมณ์ผู้เป็นอัญญเดียรถีย์ มีอยู่หรือพระเจ้าข้า ? พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แก่นสารหรือความวิเศษในการสมาทาน
วัตรของพวกอัญญเดียรย์เหล่านั้น ย่อมไม่มีเลย เพราะวัตรนั้น เมื่อ
เลือกเฟ้นสอบสวนเข้า ก็เป็นเช่นกับทางแห่งภาคพื้นเต็มด้วยหยากเยื่อ
และเหมือนกระต่ายกลัวเสียงกึกก้อง อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมไม่ทราบความที่วัตร
นั้นเป็นเสมือนกระต่ายกลัวเสียงดังกึกก้อง ขอพระองค์จงตรัสบอก
เถิด พระเจ้าข้า จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
1. ในบาลีเป็น ทุททุภายชาดก.