เมนู

3. กายนิพพินทชาดก


ว่าด้วยความเบื่อหน่ายร่างกาย


[478] เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้
เสวยทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนา
เบียดเบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่าง
รวดเร็ว ดุจดอกไม้ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทราย
[479] ก็รูปร่างอันไม่น่าพอใจ ถึงการนับว่านี้
พอใจ ที่ไม่สะอาด สมมติว่าเป็นของสะอาด
เต็มด้วยซากศพต่าง ๆ ปรากฏแก่คนพาลผู้
ไม่พิจารณา เห็นว่าเป็นของน่าพอใจ.
[480] น่าติเตียนกายอันเปื่อยเน่า กระสับ
กระส่าย น่าเกลียดไม่สะอาด มีความป่วยไข้
เป็นธรรมดา เป็นที่ที่หมู่สัตว์ผู้ประมาทหมก
มุ่นอยู่ ย่อมยังหนทางเพื่อความเข้าถึงสุคติ
ให้เสื่อมไป.

จบ กายนิพพินทชาดกที่ 3

อรรถกถากายนิพพินทชาดกที่ 3


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
บุรุษคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ผุฏฺฐสฺส เม ดังนี้.

ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีบุรุษคนหนึ่งเป็นผู้เดือดร้อนด้วย
โรคผอมเหลือง พวกแพทย์ไม่ยอมรักษา. แม้บุตรและภรรยาของเขา
ก็คิดว่า ใครจะสามารถปฏิบัติพยาบาลผู้นี้ได้. บุรุษผู้นั้นได้มีความ
ดำริดังนี้ว่า ถ้าเราหายจากโรคนี้ เราจักบวช. โดยล่วงไป 2-3 วัน
เท่านั้น บุรุษผู้นั้นได้ความสบายเล็กน้อยจนเป็นผู้ไม่มีโรค จึงไปยัง
พระเชตวันมหาวิหาร ทูลขอบรรพชากับพระศาสดา. เขาได้บรรพชา
และอุปสมบทในสำนักของพระศาสดาแล้ว ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุ
พระอรหัต. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุรุษผู้มีโรคผอมเหลืองชื่อโน้นคิดว่า
เราหายจากโรคนี้ จักบวช ครั้นหายโรคแล้วจึงบวชและบรรลุ
พระอรหัต. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บุรุษผู้นี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน บัณฑิตทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ ครั้นหายจากโรค
ผอมเหลืองแล้วบวช ได้ทำความเจริญแก่ตน ดังนี้ แล้วทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พอเจริญวัย
แล้ว ได้รวบรวมทรัพย์สมบัติอยู่ ได้เกิดเป็นโรคผอมเหลือง. พระ-
โพธิสัตว์นั้นคิดว่า เราหายจากโรคนี้แล้วจักบวช จึงกล่าวอย่างนั้น

ออกมา ได้ความสบายขึ้นมาบ้างจนเป็นผู้ไม่มีโรค จึงเข้าป่าหิมพานต์
บวชเป็นฤๅษี ทำสมาบัติและอภิญญาให้เกิดขึ้น แล้วอยู่ด้วยความสุข
ในฌาน คิดว่า เราไม่ได้ความสุขเห็นปานนี้ ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้
เมื่อจะเปล่งอุทาน จึงได้กล่าวคำถาเหล่านี้ว่า.
เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้เสวย
ทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนาเบียด
เบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่างรวดเร็ว
ดุจดอกไม่ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทรายฉะนั้น.
รูปร่างอันไม่น่าพอใจ ถึงการนับว่าน่า
พอใจ ที่ไม่สะอาด สมมติว่าเป็นของสะอาด.
เต็มด้วยซากศพต่าง ๆ ปรากฏแก่คนพาลผู้
ไม่พิจารณาเห็นว่าเป็นของน่าพอใจ.
น่าติเตียนกายอันเปื่อยเน่า กระสับกระ-
ส่าย น่าเกลียดไม่สะอาด มีความป่วยไข้เป็น
ธรรมดา เป็นที่ที่หมู่สัตว์ผู้ประมาทหมกมุ่น
อยู่ ย่อมยังหนทางเพื่อเข้าถึงสุคติให้เสื่อมไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญตเรน ได้แก่ พยาธิ คือ
โรคผอมเหลืองอย่างหนึ่ง ในบรรดาโรค 96 ประเภท. บทว่า โรเคน
ได้แก่ อันได้นามว่าโรคอย่างนี้ เพราะมีการเสียดแทงเป็นสภาวะ.
บทว่า รุปฺปโต แปลว่า เบียดเบียน คือบีบคั้น. บทว่า ปํสุนิ อาตเป
กตํ
ความว่า ย่อมซูบผอมไป เหมือนดอกไม้อันละเอียดอ่อน ซึ่ง

บุคคลเอาวางไว้ในที่ร้อน คือ ที่ทรายอันร้อนฉะนั้น. บทว่า อชญฺญํ
ชญฺญพสงฺขาตํ
ได้แก่ เป็นของปฏิกูลไม่น่าชอบใจเลย แต่ถึงการ
นับว่าเป็นที่น่าพอใจของพวกคนพาล. บทว่า นานากุณปปริปูรํ
ได้แก่ บริบูรณ์ด้วยซากศพ 32 ชนิด มีผมเป็นต้น. บทว่า ชญฺญรูปํ
อปสฺสโต
ความว่า ย่อมปรากฏเป็นที่น่าพอใจ คือเป็นของดี มี
สภาวะเป็นเครื่องบริโภคใช้สอย สำหรับคนผู้เป็นอันธพาลปุถุชนผู้
ไม่เห็นอยู่ คือ ภาวะอันไม่สะอาดที่ท่านประกาศโดยนัยมีอาทิว่า คูถตา
ออกจากนัยน์ตา ดังนี้ ย่อมไม่ปรากฏแก่คนพาลทั้งหลาย. บทว่า
อาตุรํ คือ จับไข้เป็นนิตย์. บทว่า อธิมุจฺฉิตา ได้แก่ สยบหมก
มุ่นด้วยความสยบเพราะกิเลส. ว่า ปชา ได้แก่ ปุถุชนผู้บอดเขลา.
หาเปนฺติ มคฺคํ สุคตูปปตฺติยา ความว่า หมู่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้
ข้องอยู่ในกายอันเปื่อยเน่านี้ ทำหนทางอบายให้เต็ม ทำหนทางเพื่อ
เข้าถึงสุคติอันต่างด้วยเทวดาและมนุษย์ ให้เสื่อมไป.
พระมหาสัตว์กำหนดพิจารณาภาวะอันไม่สะอาด และภาวะอัน
กระสับกระส่ายเป็นนิตย์ โดยประการต่างๆ ด้วยประการดังนี้อยู่ เบื่อ
หน่ายในกาย จึงเจริญพรหมวิหาร 4 จนตลอดชีวิต ได้เป็นผู้มี
พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอัน
มากได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น. พระดาบสในครั้งนั้น คือเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากายนิพพินทชาดกที่ 3

4. ชัมพูขาทกชาดก


ว่าด้วยการสรรเสริญกันและกัน


[481] ใครนี่มีเสียงอันไพเราะเพราะพริ้ง อุดม
กว่าสัตว์ผู้มีเสียงเพราะทั้งหลาย จับอยู่ที่กิ่ง
ชมพู่ ส่งเสียงร้องไพเราะดุจลูกนกยูงฉะนั้น.
[482] กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดู
ก่อนสหายผู้มีผิวพรรณคล้ายกับลูกเสือโคร่ง
เชิญท่านบริโภคเถิด เรายอมให้แก่ท่าน.
[483] ดูก่อนบุคคลผู้สรรเสริญกันและกัน
เราได้เห็นคนพูดมุสา คือ กาผู้เคี้ยวกินของ
ที่คนอื่นตายแล้ว และสุนัขจิ้งจอกผู้กิน
ซากศพ มาประชุมกันนานมาแล้ว.

จบ ชัมพูขาทกชาดกที่ 4

อรรถกถาชัมพูขาทกชาดกที่ 4


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โกยํ
วินฺทุสฺสโร วคฺคุ
ดังนี้.