เมนู

10. ปูฏทูสกชาดก


ว่าด้วยผู้ชอบทำลาย


[439] พระยาเนื้อเห็นจะฉลาดในการทำห่อ
ใบไม้เป็นแน่ เพราะฉะนั้น จึงได้รื้อห่อ
ใบไม้เสีย คงจะทำห่อใบไม้อย่างอื่นให้ดี
กว่าเก่าเป็นมั่นคง.
[440] บิดาหรือมารดาของเรา ไม่ใช่เป็นคน
ฉลาดในการทำห่อใบไม้เลย เราได้แต่รื้อสิ่ง
ของที่ทำไว้แล้ว ๆ เท่านั้น ตระกูลของเรานี้
เป็นธรรมดาอย่างนี้.
[441] ธรรมดาของท่านทั้งหลายเป็นถึงเช่นนี้
ก็สภาพที่มิใช่ธรรมดาจะเป็นเช่นไร ขอพวก
เราอย่าได้เห็นธรรมดาหรือมิใช่ธรรมดาของ
ท่านทั้งหลายในกาลไหน ๆ เลย.

จบ ปูฏทูสกชาดกที่ 10

อรรถกถาปูฏทูสกชาดกที่ 10


พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กุมารผู้ประทุษร้ายห่อใบไม้คนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า
อทฺธา หิ นูน มิคราชา ดังนี้.

ได้ยินว่า อำมาตย์คนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้ประทับนั่งในสวน เมื่อจะถวายทาน
กล่าวว่า ในระหว่างภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่จะเที่ยวไปในสวน
ก็จงเที่ยวไปเถิด. ภิกษุทั้งหลายจึงเที่ยวไปในสวน. ในขณะนั้น
คนรักษาส่วนขึ้นต้นไม้อันสะพรั่งด้วยใบแล้วเก็บใบไม้ใหญ่ ทำให้
เป็นห่อ ๆ แล้วทิ้งลงที่โคนต้นไม้ด้วยคิดว่า นี้จัดเป็นห่อดอกไม้ นี้จัด
เป็นห่อผลไม้. ฝ่ายทารกผู้เป็นบุตรของตนรักษาสวนนั้น ก็ฉีกห่อ
ใบไม้ที่คนรักษาสวนทิ้งลงมา ๆ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแก่
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนทารกผู้นี้ก็ได้เป็นผู้ทำลายห่อใบไม้
เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมือง
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่งใน
เมืองพาราณสี เจริญวัยแล้ว ได้อยู่ครองเรือน วันหนึ่ง ได้ไปสวน
ด้วยกรณียกิจเฉพาะบางอย่าง. วานรจำนวนหนึ่งได้อยู่ในสวนนั้น
ฝ่ายคนรักษาสวนทำห่อใบไม้ให้ตกลงโดยทำนองนี้แหละ. วานรจ่าฝูง
ก็มารื้อห่อใบไม้ที่คนรักษาสวนให้ตกลงมา ๆ. พระโพธิสัตว์จึงเรียก
วานรจ่าฝูงนั้นมากล่าวว่า เจ้ารื้อห่อใบไม้ที่คนรักษาสวนทิ้งลงมา ๆ
เห็นจะประสงค์จะทำห่อใบไม้ที่เขาทิ้งลง ๆ ให้เป็นที่น่าชอบใจกว่า
กระมัง แล้วจึงกล่าวคาถาที่ 1 ว่า :-

พระยาเนื้อเห็นจะฉลาดในการทำห่อใบ
ไม้เป็นแท้ เพราะฉะนั้น จึงได้รื้อห่อใบไม่
เสีย คงจะทำห่อใบไม้อย่างอื่นให้ดีกว่าเก่า.
เป็นมั่นคง.

พระโพธิสัตว์เมื่อจะยกย่องลิงจึงกล่าวว่า มิคราชา พระยา
เนื้อ ในคาถานั้น. บทว่า ปูฏกมฺมสฺส ได้แก่ ในการกระทำห่อ
ดอกไม้. บทว่า เฉโก แปลว่า ผู้ฉลาด. ก็ในคาถานี้ มีความย่อ
ดังต่อไปนี้. ก็พระยาเนื้อนี้ เห็นจะเป็นคนผู้ฉลาดในปูฏกรรมงานทำ
ห่อใบไม้โดยแน่แท้จริงอย่างนั้น พระยาเนื้อนี้จึงทำลายห่อใบไม้อื่น
ที่คนเฝ้าสวนทิ้งลงมาเสีย คงจักกระทำห่อใบไม้อย่างอื่นให้เป็นที่น่า
ชอบใจกว่านั้นเป็นแน่.
ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
บิดาหรือมารดาของข้าพเจ้า มิใช่เป็น
ผู้ฉลาดในการทำห่อใบไม้ พวกเราได้แต่รื้อ
ของที่เขาทำไว้แล้ว ๆ เท่านั้น ตระกูลของ
ข้าพเจ้านี้ มีธรรมดาเป็นอย่างนี้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ 3 ว่า :-
ธรรมดาของพวกท่านเป็นถึงเช่นนี้ ก็
สภาพที่มิใช่ธรรมดาจะเป็นเช่นไร ขอพวก

เราอย่าได้เห็นธรรมดาหรือมิใช่ธรรมดาของ
ท่านทั้งหลายในกาลไหน ๆ เลย.

ก็แหละครั้นกล่าวแล้วจึงติเตียนหมู่วานรแล้วหลีกไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกว่า วานรในครั้งนั้น
ได้เป็นทารกผู้ทำลายห่อใบไม้ในบัดนี้ ส่วนบุรุษบัณฑิตในครั้งนั้น
ได้เป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาปูฏทูสกชาดกที่ 10

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อุทปานทูสกชาดก 2. พยัคฆชาดก 3. กัจฉปชาดก
4. โลลชาดก 5. รุจิรชาดก 6. กุรุธรรมชาดก 7. โรมชาดก
8. มหิสชาดก 9. สตปัตตชาดก 10. ปูฏทูสกชาดก.
จบ อุทปานวรรคที่ 3