เมนู

5. นกุลชาดก



อย่าวางใจมิตร


[179] ดูก่อนพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงู
ผู้เป็นศัตรูแล้ว ไฉนจึงยังนอนแยกเขี้ยวอยู่อีก
เล่า ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก.
[180] บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ แม้ในมิตร
ก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้วจากมิตร ย่อมตัด
มูลรากทั้งหลายเสีย.

จบ นกุลชาดกที่ 5

อรรถกถานกุลชาดกที่ 5



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
การทะเลาะของเสณี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สนฺธึ กตฺวา อมิตฺเตน ดังนี้.
เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในอุรคชาดก ในหนก่อน.
แม้ในเรื่องนี้พระศาสดาก็ตรัสว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย มหา-
อำมาตย์สองคนเหล่านี้ มิใช่เราทำให้สามัคคีกันในบัดนี้เท่านั้น
แม้เมื่อก่อนเราก็ได้ทำให้คนเหล่านี้สามัคคีกันเหมือนกัน แล้ว
ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ในบ้าน
แห่งหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ได้เรียนคิลปะทุกแขนง ในกรุงตักกสิลา
สละเพศฆราวาสออกบวชเป็นฤาษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้
เกิด มีรากไม้และผลาผลในป่าเป็นอาหาร โดยการเที่ยวแสวง
หา พำนักอยู่ในหิมวันตประเทศ. ท้ายสุดที่จงกรมของพระ-
โพธิสัตว์ มีพังพอนอาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ใกล้จอมปลวก
นั้นมีงูอาศัยอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง. งูและพังพอนทั้งสองก็ทะเลาะกัน
ตลอดกาล. พระโพธิสัตว์กล่าวถึงโทษในการทะเลาะกันและ
อานิสงส์ในการเจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งสองนั้น แล้วสอนว่า ไม่
ควรทะเลาะกัน ควรอยู่กันด้วยความสามัคคี ได้ทำให้สัตว์
ทั้งสองนั้นสามัคคีกัน. ครั้นถึงเวลาที่งูออกไปข้างนอก พังพอน
ก็นอนอ้าปากหันหัวไปทางช่องโพลงจอมปลวก ท้ายที่จงกรม
หายใจเข้าออกหลับไป. พระโพธิสัตว์เห็นพังพอนนั้นนอนหลับ
เมื่อจะถามว่า ภัยอะไรเกิดขึ้นแก่เจ้า จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
ดูก่อนพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงู
ผู้เป็นศัตรู ไฉนจึงยังนอนแยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า
ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺธึ กตฺวา คือทำความเป็น
มิตรกัน. บทว่า อณฺฑเชน งูซึ่งเกิดในกะเปาะไข่. เรียก

พังพอนว่า ชลาพุชะ. ด้วยว่าพังพานนั้นเรียกว่าชลาพุชะเพราะ
เกิดในครรภ์ บทว่า วิวริย แปลว่า อ้าปาก.
พระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พังพอนจึงบอกว่า พระคุณ-
เจ้า ขึ้นชื่อว่าศัตรูไม่ควรดูหมิ่น ควรระแวงไว้เสมอ แล้วกล่าว
คาถาที่ 2 ว่า :-
บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ แม้ในมิตร
ก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้วจากมิตร ย่อม
ตัดมูลรากทั้งหลายเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกยา ภยมุปฺปนฺนํ ได้แก่
ภัยไม่เกิดแก่ท่านจากโอกาสนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีภัย
ใครจัดว่าเป็นมิตร ผู้ที่คุ้นเคยจัดว่าเป็นมิตร เพราะฉะนั้น ภัย
ย่อมเกิดขึ้นจากมิตรนั้น ย่อมตัดแม้มูลรากนั้นเสีย อธิบายว่า
ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อกำจัดมูลราก เพราะค่าที่มิตรรู้โทษทั้งหมด
แล้ว.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้สอนพังพอนนั้นว่า เจ้าอย่า
กลัวเลย เราได้กระทำโดยที่ไม่ให้งูทำร้ายเจ้าแล้ว ตั้งแต่นี้ไป
เจ้าอย่าได้ระแวงงูนั้นเลย แล้วสอนให้เจริญพรหมวิหารสี่มุ่ง
ต่อพรหมโลก. แม้สัตว์เหล่านั้นก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุม
ชาดก. งูและพังพอนในครั้งนั้นได้เป็นมหาอำมาตย์สองคนใน
บัดนี้. ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถานกุลชาดกที่ 5

6. อุปสาฬหกชาดก



ด้วยคุณธรรมที่ไม่ตายไปจากโลก


[181] พราหมณ์ชื่อว่าอุปสาฬหกทั้งหลาย ถูก
ญาติทั้งหลายเผาเสียในประเทศนี้ ประมาณ
หมื่นสี่พันชาติแล้ว สถานที่อันใคร ๆ ไม่เคย
ตายแล้ว ย่อมไม่มีในโลก
[182] สัจจะ 1 ธรรม 1 อหิงสา 1 สัญญมะ 1
ทมะ 1 มีอยู่ในบุคคลใด พระอริยะทั้งหลายย่อม
คบหาบุคคลนั้น คุณชาตินี้แลชื่อว่าไม่ตายในโลก.

จบ อุปสาฬหกชาดกที่ 6

อรรถกถาอุปสาฬหกชาดกที่ 6



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พราหมณ์ผู้ถือความบริสุทธิ์ของป่าช้า ชื่ออุปสาฬหกะ.
มีเรื่องได้ยินมาว่า พราหมณ์นั้นเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก
แต่เพราะค่าที่ตนเป็นคนเจ้าทิฏฐิ จึงมิได้ทำการสงเคราะห์
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ประทับอยู่ ณ พระวิหารใกล้ ๆ. แต่
บุตรของเขาเป็นคนฉลาด มีความรู้. พราหมณ์บอกบุตรเมื่อ
ตัวแก่เฒ่าว่า นี่แน่ลูก เจ้าอย่าเผาพ่อในป่าช้าที่เผาคนเฉาโฉด
แต่ควรเผาพ่อในป่าช้าที่ไม่ปะปนกับใคร ๆ แห่งหนึ่ง. บุตรกล่าว