เมนู

2. สันถวชาดก



ว่าด้วยความสนิทสนม


[173] สิ่งอื่นที่จะชั่วช้ายิ่งขึ้นไปกว่าความสนิท
สนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับบุรุษเลวทราม
เป็นความชั่วช้า เพราะไฟนี้เราให้อิ่มหนำแล้ว
ด้วยสัปปิและข้าวปายาส ยังไหม้บรรณศาลาที่
เราทำได้ยากให้พินาศ.
[174] สิ่งอื่นที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าความสนิท
สนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับสัตบุรุษเป็น
ความประเสริฐ สามามฤคิเลียปากราชสีห์ เสือ
โคร่งและเสือเหลืองได้ ก็เพราะความรักใคร่
สนิทสนมกัน.

จบ สันถวชาดกที่ 2

อรรถกถาสันถวชาดกที่ 2



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภการบูชาไฟ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
น สนฺถวสฺมา ปรมตฺถิ ปาปิโย.
เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในนังคุฏฐชาดกนั้นแล.
ภิกษุทั้งหลายเห็นชฏิลเหล่านั้นบูชาไฟ จึงทูลถามพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชฏิลทั้งหลายประพฤติตบะผิด
มีประการต่าง ๆ ความเจริญในการนี้มีอยู่หรือหนอ. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความเจริญไร ๆ
ในการนี้เลย แม้โบราณบัณฑิตก็สำคัญว่ามีความเจริญ เพราะ
การบูชาไฟ จึงบูชาไฟเป็นเวลานาน ครั้นเห็นไม่มีความเจริญ
ในกรรมนั้น จึงเอาน้ำดับไฟ เอากิ่งไม้เป็นต้นฟาดมิได้กลับ
มาดูอีกต่อไป แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ใน
เมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์. มารดา
บิดาเก็บไฟวันเกิดของพระโพธิสัตว์ไว้แล้ว กล่าวกะพระโพธิสัตว์
เมื่อมีอายุได้ 16 ปีว่า ลูกรัก ลูกจะรับเอาไฟวันเกิดไปบำเรอ
ไฟในป่า หรือจักเรียนไตรเพท เพราะปกครองสมบัติอยู่เป็น
ฆราวาส. พระโพธิสัตว์ตอบว่า ลูกไม่ต้องการอยู่เป็นฆราวาส
ลูกจักบำเรอไฟในป่ามุ่งหน้าต่อพรหมโลก แล้วจึงรับเอาไฟ
วันเกิดไหว้มารดาบิดา เข้าไปในป่า อาศัยอยู่ในบรรณศาลา
บำเรอไฟ. วันหนึ่งพระโพธิสัตว์นั้น ไปยังที่เชิญเลี้ยง ได้ข้าว
ปายาสกับสัปปิมา คิดว่า เราจักถวายข้าวปายาสนี้แก่มหาพรหม
จึงนำข้าวปายาสนั้นมา ตั้งใจว่าเราจะบูชาไฟ ให้พระเพลิงผู้เป็น
เจ้าดื่มข้าวปายาสผสมด้วยสัปปิก่อน แล้วสาดข้าวปายาสลงไป
ในไฟ. ข้าปายาสมียางมากพอใส่เข้าไปในไฟ ไฟก็ลุกมีเปลวพุ่ง
ขึ้นไหม้บรรณศาลา. พราหมณ์ทั้งกลัวทั้งตกใจก็หนีออกไปยืนอยู่

ภายนอกบ่นว่า ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว บัดนี้ บรรณ-
ศาลาของเราซึ่งทำแสนยากถูกไฟเผาเสียแล้ว. จึงกล่าวคาถา
แรกว่า :-
สิ่งอื่นที่จะชั่วช้ายิ่งขึ้นไปกว่าความสนิท
สนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับบุรุษเลวทราม
เป็นความชั่วช้า เพราะไฟนี้เราให้อิ่มหนำแล้ว
ด้วยสัปปิและข้าวปายาส ยังไหม้บรรณศาลา
ที่เราทำได้ยากให้พินาศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สนฺถวสฺมา ความว่า ความ
สนิทสนมมีสองอย่าง คือ ความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา 1
ความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร 1 ไม่มีสิ่งอื่นที่จะเลวทราม
ต่ำช้ายิ่งไปกว่าความสนิทสนมสองอย่างนั้น. บทว่า โย สนฺถโว
กาปุริเสน
ความว่า ไม่มีความสนิทสนมอื่นที่เลวทรามกว่าความ
สนิทสนมสองอย่างนี้กับคนชั่วช้าเลวทราม. ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะไฟที่เราเลี้ยงให้อิ่มหนำด้วยสัปปิและข้าวปายาส
ได้เผาบรรณศาลาที่เราสร้างไว้โดยลำบาก.
ครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็คิดว่าเราไม่ต้อง
การด้วยสิ่งที่ทำลายมิตร จึงเอาน้ำดับไฟนั้นเสียแล้ว เอากิ่งไม้
ฟาด เข้าไปสู่ภายในป่าหิมพานต์ พบแม่เนื้อตัวหนึ่งชื่อสามา
เลียปากราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง จึงดำริว่า ไม่มี

ความประเสริฐอื่น นอกจากความสนิทสนมกับสัตบุรุษแล้ว
จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-
สิ่งอื่นที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าความ
สนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับบุรุษ
เป็นความประเสริฐ แม่สามามฤคีเลียปากราชสีห์
เสือโคร่งและเสือเหลืองได้ ก็เพราะความรักใคร่
สนิทสนมกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามามุขํ เลหติ สนฺถเวน
ความว่า แม่เนื้อสามาเลียปากสัตว์ทั้งสามเหล่านี้ด้วยความ
สนิทสนม คือด้วยความเสน่หา.
ครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปภายในป่า
หิมพานต์ บรรพชาเป็นฤาษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด
ครั้นสิ้นชีพก็เข้าถึงพรหมโลก.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. เราได้เป็นดาบสในครั้งนั้น.
จบ อรรถกถาสันถวชาดกที่ 2

3. สุสีมชาดก



ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะ


[175] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่าสุสีมะ
ช้างสีดำมีงาขาวประมาณ 100 เชือกเศษนี้
ประดับด้วยข่ายทองเป็นของพระองค์ พระองค์
ทรงระลึกถึงการกระทำแห่งพระบิดา และ พระ
อัยยกาของพระองค์อยู่เนือง ๆ ตรัสว่าเราจะ
ให้ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็น
ความจริงหรือพระเจ้าข้า.
[176] ดูก่อนพ่อมาณพ ช้างสีดำมีงาขาวประ
มาณ 100 เชือกเศษนี้ประดับด้วยข่ายทองซึ่ง
เป็นของเรา เราระลึกถึงการกระทำแห่งพระบิดา
และพระอัยยกาอยู่เนือง ๆ พูดว่า เราจะให้ช้าง
เหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็นความ
จริง.

จบ สุสีมะชาดกที่ 3

อรรถกถาสุสีมชาดกที่ 3



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหารทรงปรารภ
การถวายทานตามความพอใจ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่ม