เมนู

4. วิคติจฉชาดก



ความปรารถนาไม่มีที่สิ้นสุด


[338] บุคคลเห็นสิ่งใด ไม่ปรารถนาสิ่งนั้น อนึ่ง
บุคคลไม่เห็นสิ่งใด ย่อมปรารถนาสิ่งนั้น เราเข้า
ใจว่า บุคคลนั้นจักท่องเที่ยวไปอีกนาน อยาก
ได้สิ่งใด ก็จักไม่ได้สิ่งนั้นเลย.
[339] บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น
ปรารถนาสมบัติอันใด ก็ติเตียนสมบัติที่ได้มา
นั้น เพราะขึ้นชื่อว่า ความปรารถนามีอารมณ์ไม่
สิ้นสุด เราขอกระทำความนอบน้อมแด่ท่านผู้
ปราศจากความปรารถนา.

จบ วิคติจฉชาดกที่ 4

อรรถกถาวิคติจฉชาดกที่ 4



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภปลายิปริพาชกผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า ยํ ปสฺสติ น ตํ อิจฺฉติ ดังนี้.
ได้ยินว่า ปริพาชกผู้นั้นไม่ได้คำตอบโต้ในสกลชมพูทวีป
ทั้งสิ้น จึงมากรุงสาวัตถี ถามว่าใครจะสามารถโต้วาทะกับเรา

บ้าง ได้ฟังว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถ จึงแวดล้อม
ด้วยมหาชนพากันไปเชตวันมหาวิหาร ทูลถามปัญหากะพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัทสี่.
ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแก้ปัญหาแก่ปริพาชกนั้น แล้ว
ตรัสถามว่า อะไรชื่อว่าหนึ่ง. ปริพาชกนั้นไม่สามารถแก้ปัญหา
ได้ จึงลุกหนีไป. บริษัทที่นั่งอยู่ต่างกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ปริพาชกถูกพระองค์ข่มด้วยปัญหาบทเดียวเท่านั้น พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เรามิได้ข่มปริพาชก
นั้นด้วยปัญหาบทเดียวในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเราก็ข่มได้
เหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้น
กาสี ครั้นเจริญวัย ละกามสมบัติกามคุณออกบวชเป็นฤๅษี
อยู่ในหิมวันตประเทศเป็นเวลานาน ต่อมาพระโพธิสัตว์ลงจาก
ภูเขาอาศัยหมู่บ้านตำบลหนึ่ง พำนักอยู่ ณ บรรณศาลาใกล้
แม่น้ำวน.
ลำดับนั้น ปริพาชกผู้หนึ่งไม่ได้วาทะโต้ตอบในชมพูทวีป
ทั้งสิ้น จึงไปถึงตำบลนั้นถามว่า มีใครบ้างหนอที่สามารถโต้ตอบ
วาทะกับเราได้ รู้ว่ามีทั้งได้ฟังถึงความอาจหาญของพระโพธิสัตว์
จึงแวดล้อมด้วยมหาชนไปยังที่อยู่ของพระโพธิสัตว์นั้น กระทำ
ปฏิสันถารนั่งอยู่. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ถามปริพาชกนั้นว่า

ท่านจักดื่มน้ำแม่คงคา มีสีและกลิ่นอบอวลบ้างไหม. ปริพาชก
เมื่อจะเล่นสำนวน จึงกล่าวว่า อะไรคือคงคา คงคาทราย คงคาน้ำ
คงคาฝั่งนี้ หรือคงคาฝั่งโน้น. พระโพธิสัตว์กล่าวโต้ว่า ดูก่อน
ปริพาชกก็ท่านจะแยกน้ำกับทรายและฝั่งนี้ฝั่งโน้นออกเสียแล้ว
จักได้คงคาที่ไหนเล่า. ปริพาชกสิ้นปฏิภาณลุกหนีไป. เมื่อ
ปริพาชกหนีไป พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงธรรมแก่บริษัทที่นั่ง
อยู่ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
บุคคลเห็นฝั่งใด ไม่ปรารถนาสิ่งนั้น อนึ่ง
บุคคลไม่เห็นสิ่งใด ย่อมปรารถนาสิ่งนั่น เราเข้า
ใจว่า บุคคลนั้นจักท่องเที่ยวไปอีกนาน อยากได้
สิ่งใด ก็จักไม่ได้สิ่งนั้นเลย.

บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น
ปรารถนาสมบัติอันใด ก็ติเตียนสมบัติที่ได้มา
นั้น เพราะขึ้นชื่อว่าความปรารถนามีอารมณ์ไม่
สิ้นสุด เราขอกระทำความนอบน้อมแด่ท่านผู้
ปราศจากความปรารถนา.

ในบทเหล่านั้น บทว้า ยํ ปสฺสติ ความว่า บุคคลเห็นน้ำ
เป็นต้น ก็ไม่ปรารถนาว่าเป็นแม่คงคา. บทว่า ยญฺจ น ปสฺสติ
ความว่า บุคคลไม่เห็นคงคาที่ไม่มีน้ำเป็นต้น นัยว่ายังปรารถนา
แม่คงคานั้น. บทว่า มญฺญามิ จิรํ จริสฺสติ ความว่า ข้าพเจ้า
เข้าใจอย่างนี้ว่า ปริพาชกนี้แสวงหาแม่คงคา เห็นปานนี้จักเที่ยว

ไปอีกนาน หรือนัยหนึ่งเมื่อแสวงหาตนอันพ้นไปจากรูปเป็นต้น
เหมือนหาแม่คงคาที่ไม่มีน้ำเป็นต้น ฉะนั้น จักเที่ยวไปในสงสาร
สิ้นกาลนาน แม้เที่ยวไปสิ้นกาลนาน ก็ย่อมไม่ได้แม่คงคาหรือ
ตนตามที่ปรารถนา เมื่อได้น้ำเป็นต้น หรือรูปเป็นต้น ก็ย่อม
ไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจในสิ่งที่ได้อย่างนี้ ปรารถนาสมบัติใด ๆ
ครั้นได้แล้วย่อมดูหมิ่นดูแคลนเสียด้วยคิดว่า จักมีประโยชน์
อะไรด้วยสมบัตินี้. ตัณหาอันชื่อว่าความปรารถนานี้ มีอารมณ์
หาที่สุดมิได้ เพราะดูหมิ่นสิ่งที่ได้แล้วไปปรารถนาอารมณ์อื่น ๆ.
ฉะนั้นบัณฑิตเหล่าใด เป็นผู้ปราศจากความปรารถนา มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น เราทั้งหลายขอทำความเคารพนอบน้อมท่าน
บัณฑิตเหล่านั้น ดังนี้.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ปริพาชกในครั้งนั้นได้เป็นปริพาชกในครั้งนี้. ส่วน
ดาบส คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาวิคติจฉชาดกที่ 4

5. มูลปริยายชาดก



กาลเวลากินสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง


[340] กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเอง
ด้วย ก็ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้
แล้ว.
[341] ศีรษะของนรชนปรากฏว่ามีมาก มีผม
ดำยาวปกคลุมถึงคอ บรรดาคนทั้งหลายนี้ จะหา
คนผู้มีปัญญาสักคนก็ไม่ได้.

จบ มูลปริยายชาดกที่ 5

อรรถกถามูลปริยายชาดกที่ 5



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ สุภควัน อาศัยอุกกัฏฐธานี
ทรงปรารภ มูลปริยายสูตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า กาโล ฆสติ ภูตานิ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกาลนั้นมีพราหมณ์ 500 จบไตรเพทแล้ว
ออกบวชในพระศาสดาเรียนพระไตรปิฎก เป็นผู้มัวเมาด้วยความ
ทะนงตนคิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้พระไตรปิฎก แม้เรา
ก็รู้พระไตรปิฎก เมื่อเป็นอย่างนี้ เรากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า