เมนู

3. คุตติลชาดก



ศิษย์คิดล้างครู


[336] ข้าพระองค์ได้สอนให้ศิษย์ชื่อมุสิละ เรียน
วิชาดีดพิณ 7 สาย มีเสียงไพเราะจับใจคนฟัง
เขากลับมาขันดีดพิณสู้ข้าพระองค์ ณ ท่ามกลาง
สนาม ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่ง
ของข้าพระองค์เถิด.
[337] ดูก่อนสหาย ฉันจะเป็นที่พึ่งของท่าน ฉัน
เป็นผู้บูชาอาจารย์ ศิษย์จักไม่ชนะท่าน ท่านจัก
ชนะศิษย์.

จบ คุตติลชาดกที่ 3

อรรถกถาคุตติลชาดกที่ 3



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
พระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สตฺตตนฺตึ
สุมธุรํ
ดังนี้.
ความย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายกล่าวกะพระ-
เทวทัตว่า ดูก่อนพระเทวทัต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอาจารย์

ของท่าน ท่านอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เล่าเรียนพระไตรปิฎก
ยังฌาน 4 ให้เกิดขึ้น การที่จะเป็นศัตรูต่อผู้ที่ชื่อว่าเป็นอาจารย์
ไม่สมควรเลย. พระเทวทัตกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระ-
สมณโคดมเป็นอาจารย์ของเราหรือ พระไตรปิฎกเราเรียนด้วย
กำลังของตนเองทั้งนั้นมิใช่หรือ ฌานทั้ง 4 เราก็ทำให้เกิดด้วย
กำลังของตนทั้งนั้น บอกคืนอาจารย์แล้วฉะนี้. ภิกษุทั้งหลาย
สนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตบอกคืน
อาจารย์แล้วกลับเป็นศัตรูต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถึงความ
พินาศแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ครั้นภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัต
มิใช่บอกคืนอาจารย์เป็นศัตรูต่อเรา แล้วถึงความพินาศในบัดนี้
เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ถึงความมหาวินาศแล้วเหมือนกัน ทรงนำ
เรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลนักขับร้อง. มารดา
บิดาตั้งชื่อว่า คุตติลกุมาร. กุมารนั้นครั้นเจริญวัย สำเร็จศิลปะ
การขับร้อง ได้เป็นนักขับร้องชั้นยอด ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ชื่อว่า
คุตติลคนธรรพ์. เขาไม่มีภรรยา เลี้ยงมารดาบิดาผู้ตาบอด. ใน
กาลนั้น พ่อค้าชาวกรุงพาราณสีไปค้าขายยังเมืองอุชเชนี เมื่อ
เขาป่าวร้องมีการมหรสพ จึงเรี่ยไรกันหาดอกไม้ของหอมและ

เครื่องลูบไล้ตลอดจนของเคี้ยวของบริโภคเป็นต้น เป็นอันมาก
ประชุมกัน ณ สนามกีฬา ให้ค่าจ้างแล้วกล่าวว่า พวกท่านจง
นํานักร้องมาคนหนึ่งเถิด.
สมัยนั้นในกรุงอุชเชนี มีนักขับร้องชั้นเยี่ยม ชื่อมุสิละ.
พวกพ่อค้าจึงหาเขามาให้แสดงการขับร้องให้ตนชม. มุสิละ
เมื่อจะดีดพิณ ได้ขึ้นสายเสียงเอกดีดแล้ว. การดีดสีของเขานั้น
ได้ปรากฏดุจเสียงเกาเสื่อรำแพนแก่พวกพ่อค้าเหล่านั้น ผู้มีความ
ชินหูในการดีดสีของคุตติลคนธรรพ์ จึงมิได้แสดงอาการชอบใจ
แม้สักคนเดียว. มุสิละเมื่อพวกพ่อค้าเหล่านั้นไม่แสดงอาการพอใจ
คิดว่า เราเห็นจะดีดพิณขันตึงเกินไป จึงลดลงปานกลาง ดีด
ด้วยเสียงปานกลาง. พวกพ่อค้าเหล่านั้นก็คงเฉยอยู่ในเสียงพิณ
นั้น. ลำดับนั้นเขาคิดว่า พวกพ่อค้าเหล่านี้คงไม่รู้จักอะไร จึง
แกล้งทำเป็นไม่รู้เรื่องเสียเอง ดีดพิณหย่อน ๆ. พวกพ่อค้าก็
มิได้ว่าอะไร. มุสิละจึงกล่าวกะพ่อค้านั้นว่า ดูก่อนพ่อค้าผู้เจริญ
เมื่อข้าพเจ้าดีดพิณท่านไม่พอใจหรือ. พวกพ่อค้ากล่าวว่า ก็ท่าน
ดีดพิณอะไร พวกเรามิได้เข้าใจว่า ท่านขึ้นเสียงพิณดีดสี. มุสิละ
ถามว่า ก็ท่านรู้จักอาจารย์ที่เก่งกว่าข้าพเจ้าหรือ หรือไม่รู้สึก
ยินดีเพราะตนไม่รู้จักฟัง. พวกพ่อค้ากล่าวว่า เราเคยได้ฟัง
เสียงพิณคุตติลคนธรรพ์ที่กรุงพาราณสี เสียงพิณของท่านจึง
ฟังคล้ายเสียงสตรีกล่อมเด็ก. มุสิละกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจง
รับค่าจ้างที่ท่านให้คืนไปเถิด ข้าพเจ้าไม่ต้องการค่าจ้างนั้น.

ก็แต่ว่า เมื่อท่านจะกลับไปกรุงพาราณสี ช่วยพาข้าพเจ้าไปด้วย.
พวกพ่อค้าเหล่านั้นรับว่า ดีละ. ในเวลากลับได้พาเขาไปกรุง
พาราณสี บอกมุสิละว่า นี่คือที่อยู่ของคุตติลคนธรรพ์ แล้วเลยไป
ที่อยู่ของตน. มุสิละเข้าไปบ้านพระโพธิสัตว์ เห็นพิณคู่มือของ
พระโพธิสัตว์ จึงหยิบมาดีด. ลำดับนั้นมารดาบิดาของพระ-
โพธิสัตว์แลไม่เห็นมุสิละ เพราะตาบอด เข้าใจว่าเห็นจะหนู
กัดพิณ จึงกล่าวว่า หนูกัดพิณ. มุสิละจึงวางพิณไหว้มารดา
บิดาพระโพธิสัตว์. เมื่อท่านถามว่า มาแต่ไหน จึงกล่าวว่ามา
จากเมืองอุชเชนี เพื่อขอเรียนศิลปะในสำนักของท่านอาจารย์.
เมื่อมารดาบิดาพระโพธิสัตว์รับดีละ แล้วจึงถามว่า ท่านอาจารย์
อยู่ไหน ได้ฟังว่า ไม่อยู่จ้ะพ่อคุณ วันนี้จะกลับมา จึงนั่งอยู่ที่นั้น
เอง. ครั้นพระโพธิสัตว์กลับมาได้รับปฏิสันถารแล้ว จึงบอก
เหตุที่ตนมา. พระโพธิสัตว์รู้องค์วิชาทำนายลักษณะคน จึงรู้ว่า
มุสิละเป็นอสัตยบุรุษ ได้บอกปัดว่า ไปเถิดพ่อ ศิลปะไม่สำเร็จ
แก่ท่านดอก. มุสิละจับเท้ามารดาบิดาพระโพธิสัตว์ลูบไล้ให้
สงสารตนแล้วอ้อนวอนว่า ขอท่านจงช่วยให้พระโพธิสัตว์ถ่ายทอด
ศิลปะให้ข้าพเจ้าเถิด. พระโพธิสัตว์ถูกมารดาบิดาช่วยพูดบ่อย ๆ
ก็ไม่อาจขัดท่านได้ จึงสอนศิลปะให้. มุสิละไปราชนิเวศน์กับ
พระโพธิสัตว์. พระราชาทอดพระเนตรเห็นเขา ตรัสถามว่า นั่น
ใครน่ะท่านอาจารย์. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะ นี่คือ
อันเตวาสิกของข้าพระองค์. เขาจึงได้คุ้นเคยกับพระราชาโดย

ลำดับ. พระโพธิสัตว์มิได้ปิดบังอำพรางวิชาให้ศึกษาตามแบบ
ที่ตนรู้มาจนจบ แล้วกล่าวว่า แน่ะพ่อ ท่านเรียนศิลปะจบแล้ว.
มุสิละคิดว่า ศิลปะเราก็ช่ำชองแล้ว ทั้งกรุงพาราณสีนี้ก็เป็น
นครเลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น. แม้ถ้าอาจารย์แก่เราควรจะอยู่ใน
กรุงพาราณสีนี้แหละ. มุสิละจึงบอกอาจารย์ว่า ข้าพเจ้าจักรับ
ราชการ. อาจารย์กล่าวว่าดีแล้ว. เราจะกราบทูลพระราชา
จึงพาไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า อันเตวาสิกของข้าพระองค์
ปรารถนาจะรับราชการสนองพระคุณพระองค์ ขอพระองค์
จงพิจารณาเบี้ยหวัดให้เขา. เมื่อพระราชาตรัสว่า เขาจะได้กึ่ง
หนึ่งจากเบี้ยหวัดที่ท่านได้. จึงบอกเรื่องนั้นแก่มุสิละ. มุสิละ
กล่าวว่า เมื่อข้าพเจ้าได้รับเบี้ยหวัดเท่ากับท่าน จึงจะรับราชการ
เมื่อไม่ได้เท่าจะไม่ขอรับ. พระโพธิสัตว์ถามว่าเพราะเหตุไร.
มุสิละตอบว่า ข้าพเจ้ารู้ศิลปะที่ท่านรู้หมดมิใช่หรือ. พระโพธิสัตว์
กล่าวว่า ถูกแล้วท่านรู้ทั้งหมด. มุสิละกล่าวว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น
เหตุไรพระราชาจึงพระราชทานแก่ข้าพเจ้ากึ่งหนึ่งเล่า. พระ-
โพธิสัตว์จึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสว่า ถ้าเขา
สามารถแสดงศิลปะทัดเทียมท่านก็จะได้เท่ากัน. พระโพธิสัตว์
ฟังพระดำรัสดังนั้น จึงบอกแก่มุสิละ เมื่อเขากล่าวว่า ดีละ
ข้าพเจ้าจักแสดง จึงกราบทูลแด่พระราชา เมื่อพระองค์ตรัสว่า
ดีแล้ว จงแสดงเถิดจะแสดงแข่งขันกันวันไหนเล่า กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราช ขอจงแข่งขันกันในวันที่ 7 นับแต่วันนี้. พระราชา

รับสั่งหาตัวมุสิละมาตรัสถามว่า ได้ยินว่าท่านจะทำการแข่งขัน
กับอาจารย์หรือ กราบทูลว่า ขอเดชะจริงพระเจ้าข้า แม้ทรง
ห้ามว่าอันการแข่งดีกับอาจารย์ไม่สมควรเลย. กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชช่างเถิด ขอให้ข้าพระองค์แข่งขันกับอาจารย์ใน
วันที่เจ็ดเถิด จักได้ทราบว่าคนไหนจักชนะ. พระราชารับสั่งว่า
ดีแล้ว รับสั่งให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องว่า ในวันที่เจ็ดนับแต่วันนี้
อาจารย์กับศิษย์จะแสดงศิลปะแข่งขันกันที่ประตูวัง ชาวเมือง
จงมาประชุมดูศิลปะกันเถิด. พระโพธิสัตว์คิดว่า มุสิละผู้นี้ยัง
หนุ่มแน่นมีกำลังแข็งแรง เราแก่ตัวถอยกำลังแล้ว. ธรรมดาว่า
กิริยาของคนแก่ย่อมไม่กระฉับกระเฉง. อนึ่ง ธรรมดาว่าลูกศิษย์
แพ้ก็ไม่แปลกอะไร แต่เมื่อลูกศิษย์ชนะเข้าไปตายเสียในป่ายัง
ดีกว่า ความละอายที่พึงจะได้รับ. พระโพธิสัตว์จึงเข้าไปป่า
แล้วก็กลับเพราะกลัวตายแล้วกลับไปอีกกลัวอาย. เมื่อพระโพธิ-
สัตว์กลับไปกลับมาดังนี้ จนล่วงไปได้ 6 วัน ต้นหญ้าตายราบ
เกิดเป็นรอยทางเดินเท้าแล้ว. ขณะนั้นพิภพของท้าวสักกะแสดง
อาการร้อน. ท้าวสักกะทรงเล็งแลดูก็รู้เหตุการณ์นั้น ทรงดำริ
ว่า คุตติลคนธรรพ์ได้รับความทุกข์ใหญ่หลวงในป่า เพราะกลัว
อันเตวาสิก. เราควรจะเป็นที่พึ่งแก่เขา จึงรีบเสด็จไปยืนอยู่
ข้างหน้า ตรัสถามว่า ท่านอาจารย์ท่านเข้าป่าไปทำไม เมื่อ
พระโพธิสัตว์ถามว่าท่านเป็นใคร ตรัสว่าเราเป็นท้าวสักกะ.
ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์จึงทูลท้าวสักกะว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า

ข้าพระองค์ไปป่าก็เพราะกลัวแพ้อันเตวาสิก จึงกล่าวคาถาแรก
ว่า :-
ข้าพระองค์ได้สอนให้ศิษย์ชื่อ มุสิละ
เรียนวิชาดีดพิณ 7 สาย มีเสียงไพเราะจับใจ
คนฟัง เขากลับมาขันดีดพิณสู้ข้าพระองค์ ณ ท่าม
กลางสนาม ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ขอพระองค์จงเป็น
ที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด.

ท้าวสักกะสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้วตรัสว่า อย่ากลัว
เลย เราจะช่วยต่อต้านป้องกันท่านเอง ได้กล่าวคาถา 2 คาถา ว่า :-
ดูก่อนสหาย ฉันจะเป็นที่พึ่งของท่าน ฉัน
เป็นผู้บูชาอาจารย์ ศิษย์จักไม่ชนะท่าน ท่านจัก
ชนะศิษย์.

ท้าวสักกะตรัสว่า ก็และเมื่อท่านจะดีดพิณ ท่านจงเด็ด
เสียสายหนึ่ง ดีด 6 สาย เสียงพิณของเจ้าจักเหมือนเดิม แม้
มุสิละก็จะเด็ดสายพิณ แต่เสียงพิณของเขาจักไม่เหมือนเดิม.
ขณะนั้นเขาจะถึงความปราชัย ครั้นทราบว่าเขาถึงความปราชัย
แล้ว ท่านพึงเด็ดแม้สายที่ 2 สายที่ 3 สายที่ 4 สายที่ 5
สายที่ 6 สายที่ 7 ดีดแต่คันพิณเปล่า ๆ เสียงจะออกจากเงื่อน
สายพิณที่เด็ดทิ้ง ดังไปทั่วกรุงพาราณสีทั้ง 12 โยชน์ทั้งสิ้น
ท้าวสักกะตรัสอย่างนี้แล้ว จึงประทานห่วง 3 ห่วงให้พระโพธิสัตว์

แล้วตรัสว่า เมื่อเสียงพิณของท่านดังไปทั่วนครแล้ว ท่านจง
โยนห่วงจากจำนวนนี้ไปในอากาศห่วงหนึ่ง ลำดับนั้นนางอัปสร
300 จักลงมาฟ้อนรำข้างหน้าท่าน ในเวลาที่นางอัปสรเหล่านั้น
ฟ้อนรำ ท่านพึงโยนห่วงที่ 2 ไป ลำดับนั้นนางอัปสรอีก 300
จะลงมาฟ้อนรำข้างหน้าพิณของท่าน จากนั้นพึงโยนห่วงที่ 3 ไป
ลำดับนั้นนางอัปสรอีก 300 จะลงมาฟ้อนรำบนลานสนามฟ้อน
แม้เราก็จักมาหาท่าน ท่านจงไปเถิด อย่ากลัวเลย.
พระโพธิสัตว์ได้กลับไปบ้านในเวลาเช้า. พวกชาวเมือง
ทำมณฑปที่ใกล้ประตูพระราชวัง ตกแต่งที่ประทับสำหรับ
พระราชา. พระราชาเสด็จลงจากปราสาทแล้วประทับนั่งกลาง
บัลลังก์ ณ มณฑปที่ประดับประดาแล้ว. สตรีตกแต่งแล้วหนึ่งหมื่น
และอำมาตย์ พราหมณ์ ชาวแว่นแคว้นเป็นต้น ต่างก็เฝ้าแหน
อยู่พร้อมพรั่ง. ชาวนครทั้งปวงชุมนุมกันแล้ว. ต่างจัดตั้งรถ
ซ้อนรถ เตียงซ้อนเตียงที่สนามหลวง. แม้พระโพธิสัตว์อาบน้ำ
ลูบไล้กายแล้ว บริโภคอาหารมีรสเลิศต่าง ๆ แล้ว ให้ถือพิณ
ไปนั่งบนอาสนะสำหรับตน. ท้าวสักกเทวราชมาสถิตอยู่ใน
อากาศโดยไม่ปรากฏกาย. พระโพธิสัตว์เท่านั้นเห็นท้าวสักก-
เทวราช. ฝ่ายมุสิละมานั่งบนอาสนะของตน. มหาชนแวดล้อม
แล้ว แม้ทั้งสองก็ดีดพิณตั้งแต่เริ่มเสมอกัน. มหาชนต่างโห่ร้อง
ยินดีด้วยการบรรเลงของทั้งสองคน. ท้าวสักกเทวราชสถิตอยู่
บนอากาศ บอกให้ได้ยินแต่พระโพธิสัตว์เท่านั้นว่า ท่านจงเด็ด

พิณเสียสายหนึ่ง. พระโพธิสัตว์เด็ดพิณสายที่ 1 ทิ้งแล้ว แม้
เด็ดสายที่ 1 ออกแล้ว เสียงยังดังออกได้จากเงื่อนที่ขาดแล้ว
ดุจเสียงพิณเทพคนธรรพ์. ฝ่ายมุสิละก็เด็ดสายพิณบ้าง แต่เสียง
หาดังออกไม่. อาจารย์ได้เด็ดสายที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6
ที่ 7. เมื่อดีดแต่คันพิณเปล่า ๆ เสียงยังดังตลบทั่วพระนคร
เสียงโห่ร้องและธงโบกสะบัดเป็นจำนวนพันได้เป็นไปแล้ว.
พระโพธิสัตว์ได้โยนห่วงที่ 1 ไปในอากาศ ในคราวนั้นนางอัปสร
300 นางลงมาขับฟ้อน เมื่อโยนห่วงที่ 2 และที่ 3 ไปแล้ว
นางอัปสรทั้ง 900 ได้ลงมาฟ้อนรำตามนัยที่กล่าวแล้ว ขณะ
พระราชาได้ให้อิงคิตสัญญาโครงพระเศียรแก่มหาชน. มหาชน
ต่างพากันลุกขึ้นคุกคามมุสิละว่า ท่านแข็งข้อกับอาจารย์ พยายาม
ทำอาการตีเสมอ ท่านไม่รู้จักประมาณตน ทุบตีด้วยก้อนหิน
ต้นไม้เป็นต้น ที่ฉวยได้นั่นเองจนแหลกเหลว ให้ถึงแก่ความตาย
จับเท้าลากไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ. พระราชามีพระทัยยินดีพระ-
ราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่พระโพธิสัตว์ ดุจฝนลูกเห็บโปรย
ปรายลงมา. ชาวนครก็ให้เหมือนอย่างนั้น. แม้ท้าวสักกะทรง
ทำปฏิสันถารกับพระโพธิสัตว์ว่า ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าจะให้
มาตลีเทพบุตรเอารถเทียมม้าอาชาไนยหนึ่งพันมารับท่านภาย
หลัง. ท่านพึงขึ้นรถเวชยันต์เทียมม้าหนึ่งพันไปเทวโลกเถิด
ตรัสแล้วเสด็จกลับ. ครั้งนั้นเทพธิดาทั้งหลายได้ทูลถามท้าว-
สักกเทวราช ผู้เสด็จมาถึงประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์

ว่า ข้าแต่เทวราช พระองค์เสด็จไปไหนมา. ท้าวสักกะตรัสเล่า
เหตุนั้นแก่พวกเทพธิดาโดยพิสดารแล้วพรรณนาศีล และคุณธรรม
ของพระโพธิสัตว์. พวกเทพธิดากราบทูลว่า ข้าแต่เทวราช
แม้พวกหม่อมฉันก็ใคร่จะเห็นท่านอาจารย์ ขอพระองค์จงให้
พามาที่นี่เถิด. ท้าวสักกเทวราชตรัสเรียกมาตลีเทพบุตรมาตรัส
ว่า แน่ะพ่อ นางเทพอัปสรอยากจะเห็นคุตติลคนธรรพ์ ท่านจง
ไปให้นั่งรถเวชยันต์พามาเถิด. มาตลีเทพบุตรรับเทวโองการ
ไปนำพระโพธิสัตว์มาแล้ว. ท้าวสักกะทรงชื่นชมกับพระโพธิสัตว์
ตรัสว่า ท่านอาจารย์พวกเทพกัญญาใคร่จะฟังการบรรเลงของ
ท่าน. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่เทวราช พวกข้าพระองค์
ชื่อว่าเป็นคนธรรพ์อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ เมื่อได้ค่ากำนัลจึงจะ
บรรเลง. ทัาวสักกะตรัสว่า จงบรรเลงเถิด เราจะให้ค่ากำนัล
แก่ท่าน. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ต้องการค่า
กำนัลอย่างอื่น ขอแต่ให้นางเทพธิดาเหล่านี้บอกกัลยาณธรรม
ของตนแก่ข้าพระองค์เถิด ถ้าอย่างนี้ข้าพระองค์จะบรรเลง.
ลำดับนั้นนางเทพธิดาทั้งหลายได้กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า พวก
ข้าพเจ้าจักบอกกัลยาณธรรมที่ทำไว้แก่ท่านในภายหลัง ขอท่าน
อาจารย์จงทำการบรรเลงก่อนเถิด. พระโพธิสัตว์ทำการบรรเลง
แก่เทพยดาทั้งหลายตลอด 7 วัน. เสียงพิณนั้นเสนาะสนั่นยิ่ง
กว่าพิณทิพยคนธรรพ์. ครั้นครบ 7 วัน พระโพธิสัตว์จึงเริ่ม
ถามเทพธิดาทั้งหลายถึงกัลยาณกรรม.

เทพธิดานางหนึ่งได้ถวายผ้าอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ครั้ง
ศาสนาพระกัสสปสัมสัมพุทธเจ้า ได้เกิดมาเป็นนางบริจาริกา
ของท้าวสักกเทวราช มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร พระ-
โพธิสัตว์จึงถามนางเทพกัญญา ผู้ทรงพัสตราภรณ์อันล้ำเลิศ
ว่า ในภพก่อนท่านได้ทำกรรมอะไรไว้. อาการที่พระโพธิสัตว์
ถามและนางกล่าวตอบมาแล้วในวิมานวัตถุนั้นแล. ความใน
วิมานวัตถุนั้นพระโพธิสัตว์ถามว่า :-
ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีผิวพรรณ
งามล้ำ ยืนอยู่สว่างไสวไปทั่วทิศ ดุจดาวประจำ
รุ่ง เพราะกรรมอันใด ท่านจึงมีผิวพรรณเช่นนี้
เพราะกรรมอันใดอิฐผลจึงสัมฤทธิ์แก่ท่านใน
ที่นี้ ทั้งบังเกิดโภคทรัพย์ทั้งหลายแก่ท่าน อัน
น่าชื่นใจไม่ว่าอย่างไหน

ดูก่อนนางเทพีผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้า
ขอถามท่านครั้งเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไรไว้
เพราะอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงอย่างนี้
ทั้งผิวพรรณของท่านก็สว่างจ้าไปทุกทิศ.

นางเทพธิดานั้นตอบว่า :-
นารีนางหนึ่งได้ถวายผ้าอย่างดี นับว่า
เป็นผู้ล้ำเลิศในชายหญิงทั้งหลาย นางนั้นผู้ถวาย

สิ่งของอันน่ารักอย่างนี้ จึงเลื่อนฐานะได้ทิพย-
สมบัติอันน่าปลื้มใจ. เชิญชมวิมานของข้าพเจ้า
นั่นเถิด ข้าพเจ้าเป็นอัปสรผู้มีผิวพรรณอันน่ารัก
ล้ำเลิศกว่านางอัปสรเป็นจำนวนพัน จงเห็นวิบาก
ของบุญเถิด เพราะกรรมนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณ
เช่นนี้ เพราะกรรมนั้นอิฐผลจึงสัมฤทธิ์แก่
ข้าพเจ้าในที่นี้ ทั้งบังเกิดโภคทรัพย์ทั้งหลายแก่
ข้าพเจ้า ล้วนแต่น่ารักไม่ว่าอย่างไหน เพราะ
กรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้
ทั้งผิวพรรณของข้าพเจ้าจึงสว่างจ้าไปทุกทิศ.

อีกนางหนึ่ง ได้ถวายดอกไม้สำหรับบูชาภิกษุผู้เที่ยว
บิณฑบาต. อีกนางหนึ่ง เมื่อเขาบอกว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวาย
ของหอม. สำหรับเจิมที่พระเจดีย์เถิด ได้ถวายของหอมแล้ว.
อีกนางหนึ่งได้ถวายผลไม้มีรสอร่อย. อีกนางหนึ่งได้ถวายอาหาร
รสเยี่ยม. นางหนึ่งได้ถวายของสำหรับเจิมที่เจดีย์ของพระกัสสป-
ทศพล. นางหนึ่งได้ฟังธรรมในสำนักภิกษุ ภิกษุณี ผู้เดินทาง
และพักที่หมู่บ้าน. นางหนึ่งยืนอยู่ในน้ำได้ถวายน้ำแก่ภิกษุผู้
ฉันจังหันในเรือ. นางหนึ่งเมื่ออยู่ในครอบครัวไม่มักโกรธ ทำ
การปรนนิบัติพ่อผัวและแม่ผัว. นางหนึ่งต้องแบ่งส่วนที่ตนได้
ออกแจกจ่ายเสียก่อน จึงบริโภคทั้งเป็นผู้มีศีล. นางหนึ่งเป็นทาสี
อยู่บ้านผู้อื่น เป็นคนไม่โกรธ ไม่ถือตัว แบ่งส่วนที่ตนได้ออก

แจกจ่ายจึงได้มาเกิดเป็นนางบริจาริกาของท้าวสักกเทวราช
ความทั้งหมดนี้ อยู่ในคุตติลวิมานวัตถุ. นางเทพธิดา 37 นาง
ได้ทำกรรมใด ๆ ไว้ จึงได้มาเกิดในเทวโลกนั้นทั้งหมด พระ-
โพธิสัตว์ซักถามได้กล่าวคาถาทั้งหลาย แสดงกรรมที่ตนได้
ทำไว้ ๆ. พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้วกล่าวว่า เป็นลาภของ
ข้าพเจ้าหนอ ข้าพเจ้าได้ดีแล้วหนอ ที่มาที่นี้ได้ฟังสมบัติที่ได้
มาด้วยกรรมแม้มีประมาณน้อย คราวนี้ตั้งแต่นี้ไป ข้าพเจ้ากลับ
ไปมนุษยโลกแล้ว จักทำแต่กุศลกรรมมีทานเป็นต้นเท่านั้น ได้
เปล่งอุทานดังนี้ว่า :-
วันนี้นับว่าเรามาดีแล้วหนอ เป็นฤกษ์งาม
ยามดีที่ได้มาเห็นนางเทพอัปสรทั้งหลาย ผู้มี
ผิวพรรณน่ารักใคร่ เราได้ฟังคำของนางเทพธิดา
นี้แล้ว จักทำกุศลให้มาก ด้วย ทาน การให้
สมจริยา ประพฤติชอบ สัญญม การสำรวม กับ
ทมะ การฝึกหัดตนอีกอย่างหนึ่ง ข้าพเจ้าจักต้อง
ไปเทวโลกนั้นให้ได้ เป็นที่ซึ่งไปแล้วไม่เสียใจ.

ครั้นครบ 7 วันท้าวสักกเทวราชทรงบัญชาให้มาตลีเทพ-
สารถี พาพระโพธิสัตว์ให้นั่งรถไปส่งกรุงพาราณสีดังเดิม.
พระโพธิสัตว์ครั้นกลับมากรุงพาราณสีแล้ว ได้เล่าถึงเหตุการณ์
ที่ตนได้เห็นแล้วในเทวโลกให้พวกมนุษย์ฟัง. ตั้งแต่นั้นพวก
มนุษย์เหล่านั้นก็ตั้งหน้าอุตสาหะทำบุญกัน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. มุสิละในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ท้าวสักกะได้
เป็นอนุรุทธ พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนคุตติลคนธรรพ์ คือ
เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาคุตติลชาดกที่ 3

4. วิคติจฉชาดก



ความปรารถนาไม่มีที่สิ้นสุด


[338] บุคคลเห็นสิ่งใด ไม่ปรารถนาสิ่งนั้น อนึ่ง
บุคคลไม่เห็นสิ่งใด ย่อมปรารถนาสิ่งนั้น เราเข้า
ใจว่า บุคคลนั้นจักท่องเที่ยวไปอีกนาน อยาก
ได้สิ่งใด ก็จักไม่ได้สิ่งนั้นเลย.
[339] บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น
ปรารถนาสมบัติอันใด ก็ติเตียนสมบัติที่ได้มา
นั้น เพราะขึ้นชื่อว่า ความปรารถนามีอารมณ์ไม่
สิ้นสุด เราขอกระทำความนอบน้อมแด่ท่านผู้
ปราศจากความปรารถนา.

จบ วิคติจฉชาดกที่ 4

อรรถกถาวิคติจฉชาดกที่ 4



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภปลายิปริพาชกผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า ยํ ปสฺสติ น ตํ อิจฺฉติ ดังนี้.
ได้ยินว่า ปริพาชกผู้นั้นไม่ได้คำตอบโต้ในสกลชมพูทวีป
ทั้งสิ้น จึงมากรุงสาวัตถี ถามว่าใครจะสามารถโต้วาทะกับเรา