เมนู

6. พกชาดก



นกเจ้าเล่ห์


[321] นกมีปีกตัวนี้ดีจริง ยืนนิ่งดังดอกโกมุท
หุบปีกทั้ง 2 ไว้ ง่วงเหงาซบเซาอยู่.
[322] เจ้าทั้งหลายไม่รู้จักกิริยาของมัน พวกเจ้า
ไม่รู้จึงได้พากันสรรเสริญ นกตัวนี้ไม่ได้คุ้มครอง
รักษาพวกเราดอก เพราะเหตุนั้น นกตัวนี้จึงไม่
เคลื่อนไหวเลย.

จบ พกชาดกที่ 6

อรรถกถาพกชาดกที่ 6



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุโกหกรูปหนึ่ง ตรัสธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ภทฺทโก วตายํ ปกฺขี ดังนี้.
ความย่อมีอยู่ว่า พระศาสดาทรงเห็นภิกษุโกหกรูปหนึ่ง
ซึ่งถูกนำตัวมาเฝ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้มิใช่
โกหกในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็โกหก แล้วทรงนำเรื่องอดีต
มาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นปลามีบริวารมากอาศัยอยู่ใน

สระแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ. ครั้งนั้นนีมีนกยางตัวหนึ่ง คิดว่า
จักกินปลา จึงยืนก้มหัวกางปีกทำเซื่อง ๆ มองดูปลาในที่ใกล้
สระ คอยดูปลาเหล่านั้นเผลอ. ขณะนั้นพระโพธิสัตว์แวดล้อม
ด้วยฝูงปลาเที่ยวหาเหยื่อกินไปถึงที่นั้น. ฝูงปลาเห็นนกยางนั้น
จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
นกมีปีกตัวนี้ดีจริงหุบปีกทั้งสองไว้ ง่วง
เหงาซบเซาอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มนฺทมนฺโท ว ฌายติ ได้แก่ นกยาง
ซบเซาอยู่ตัวเดียว เหมือนจะหมดแรง ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อะไร
ทั้งนั้น.
ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์มองดูนกยางนั้น กล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
เจ้าทั้งหลาย ไม่รู้จักกิริยาของมัน พวกเจ้า
ไม่รู้จึงพากันสรรเสริญ นกตัวนี้ไม่ได้คุ้มครอง
รักษาพวกเราดอก เพราะเหตุนั้นนกตัวนี้จึงไม่
เคลื่อนไหวเลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺญาย แปลว่าไม่รู้. บทว่า
อเมฺห ทิโช น ปาเลติ ความว่า นกนี้ไม่รักษา ไม่คุ้มครองพวก
เรา ครุ่นคิดอยู่แต่ว่าในปลาเหล่านี้ เราจะจิกตัวไหนกิน. บทว่า
เตน ปกฺขี น ผนฺทติ ด้วยเหตุนั้น นกตัวนี้จึงไม่เคลื่อนไหวเลย.
เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้ ฝูงปลาก็พ่นน้ำให้นกยาง

หนีไป.
พระคาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. นกยางในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุโกหกในครั้งนี้ ส่วนพญาปลา
คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาพกชาดกที่ 6

7. สาเกตชาดก



เหตุให้เกิดความรัก


[323] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุไรหนอ
เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าก็เฉย ๆ
หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้าจิตก็เลื่อมใส.
[324] ความรักนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุ 2
ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน
ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน เหมือนดอก
อุบลและชลชาติ เมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดเพราะ
อาศัยเหตุ 2 ประการ คือ น้ำและเปือกตม
ฉะนั้น.

จบ สาเกตชาดกที่ 7

อรรถกถาสาเกตชาดกที่ 7



พระศาสดา เมื่อประทับอาศัยเมืองสาเกตทรงปรารภ
สาเกตพราหมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โก นุ โข
ภควา เหตุ
ดังนี้.
ส่วนเรื่องราวในชาดกนี้ ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันกล่าวไว้
ในเอกนิบาตในหนหลังแล้ว.