เมนู

10. ทุติยปลายิชาดก



คนถูกความเร่าร้อนเผาจนไม่อาจสู้ข้าศึกได้


[309] ธงสำหรับรถของเรามีมากมาย พลพาหนะ
ของเราก็นับไม่ถ้วน แสนยากที่ศัตรูจะหาญหัก
เข้าสู้รบได้ ดุจสาครยากที่ฝูงกาจะบินข้ามให้ถึง
ฝั่งได้ ฉะนั้น อนึ่ง กองพลของเรานี้ยากที่กองพล
อื่นจะหาญเข้าตีหักได้ ดุจภูเขาอันลมไม่อาจให้
ไหวได้ฉะนั้น วันนี้เราประกอบด้วยกองพลเท่านี้
อันกองพลเช่นนั้นยากที่ศัตรูจะหาญหักเข้ารุกราน
ได้.
[310] ท่านอย่าพูดเพ้อถึงความที่ตนเป็นคนโง่
เขลาไปเลย คนเช่นท่านจะเรียกว่าผู้สามารถ
ไม่ได้ ท่านถูกความเร่าร้อน คือ ราคะ โทสะ
โมหะ และมานะเผารนอยู่เสมอ ไม่อาจจะกำจัด
เราได้เลย จะต้องหนีเราไป กองพลของเราจัก
ย่ำยีท่านหมดทั้งกองพล ดุจช้างเมามันขยี้ไม้อ้อ
ด้วยเท้า ฉะนั้น.

จบ ทุติยปลาชาดกที่ 10

อรรถกถาทุติยปลายิชาดกที่ 10



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภปลายิปริพาชก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ธชมปริมิตํ อนนฺตปารํ ดังนี้.
แต่ในเรื่องนี้ปริพาชกนั้นเข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหาร.
ขณะนั้นพระศาสดาแวดล้อมด้วยมหาชนประทับนั่งบนธรรมาสน์
อันประดับประดาแล้วแสดงธรรมดุจลูกสีหะแผดเสียงสีหนาท
อยู่เหนือพื้นมโนสิลา. ปริพาชกเห็นพระรูปของพระทศพลมี
ส่วนสัดงามดังรูปพรหม. พระพักตร์มีสิริฉายดังจันทร์เพ็ญ และ
พระนลาฏดังแผ่นทองคำ กล่าวว่าใครจักอาจเอาชนะบุรุษผู้อุดม
มีรูปอย่างนี้ ได้หันกลับไม่ยอมเข้าหมู่บริษัทหนีไป. มหาชน
ไล่ตามปริพาชกแล้วกลับมากราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระ-
ศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ปริพาชกนั้นเห็นพระพักตร์มี
ฉวีวรรณดังทองคำของเราหนีไปแล้วในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้
ในกาลก่อนก็ได้หนีไปแล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัส
เล่า.
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยราชสมบัติอยู่ในเมือง
พาราณสี พระเจ้าคันธารราชพระองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติ
อยู่ในเมืองตักกสิลา. พระเจ้าคันธารราชนั้น ดำริว่าจะไปตี
กรุงพาราณสี พรั่งพร้อมด้วยจตุรงคเสนา ยกทัพมาล้อมกรุง
พาราณสีไว้ ประทับยืนใกล้ประตูนครทอดพระเนตรดูพลพาหนะ