เมนู

2. อุจฉิฏฐภัตตชาดก



นางพราหมณีหาชายชู้


[273] อาการข้าวข้างบนเป็นอย่างหนึ่ง อาการ
ข้าวข้างล่างเป็นอย่างหนึ่ง ดูก่อนนางพราหมณี
ฉันขอถามท่านหน่อยเถิด เหตุไรข้าวข้างล่างจึง
เย็น ข้างบนจึงร้อนนิดหน่อย.
[274] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ฉันเป็นคนฟ้อนรำ
เที่ยวขอมาจนถึงที่นี่ ก็ชายชู้ของนางพราหมณี
นี้ ลงไปซ่อนอยู่ในยุ้ง ท่านเสาะหาผู้ใด ผู้นั้น
คือชายชู้ผู้นี้เอง

จบ อรรถกถาอุจฉิฏฐภัตตชาดกที่ 2

อรรถกถาอุจฉิฏฐภัตตชาดกที่ 2



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า อญฺโญ อุปริโม วณฺโณ ดังนี้.
ความย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน
ภิกษุได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง
พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า ใครทำให้เธอกระสัน กราบทูลว่า

ภรรยาเก่าพระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้เป็นผู้ทำความเสื่อมเสียให้เธอ แม้ในครั้งก่อน
ได้ให้เธอบริโภคอาหารเหลือเดนของชายชู้ตน แล้วทรงนำเรื่อง
อดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคนฟ้อนรำที่ยากจน
เที่ยวขอภิกษาเขาเลี้ยงชีพตระกูลหนึ่ง ครั้นเติบใหญ่ เป็นคน
เข็ญใจ รูปชั่วเที่ยวขอภิกษาเลี้ยงชีพ. ในครั้งนั้น พราหมณีของ
พราหมณ์คนหนึ่งในหมู่บ้านแคว้นกาสี เป็นหญิงทุศีล ลามก
ประพฤตินอกใจผัว.
อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพราหมณ์ไปทำธุระนอกบ้าน ชายชู้
ของพราหมณีเห็นได้โอกาสจึงเข้าไปเรือนนั้น. นางประพฤติ
นอกใจร่วมกับชายชู้แล้วกล่าวว่า เชิญบริโภคอาหารสักครู่หนึ่ง
จึงค่อยกลับไป จัดแจงหาอาหารคดข้าวร้อน ๆ พร้อมด้วยแกง
และกับ ให้ชายชู้นั้น กล่าวเชิญให้บริโภค นางเองยืนที่ประตู
คอยดูพราหมณ์กลับมา. พระโพธิสัตว์ยืนคอยขอก้อนข้าวอยู่ในที่
ชายชู้ของพราหมณ์บริโภค. ขณะนั้นพราหมณ์เดินตรงมาบ้าน.
พราหมณีเห็นพราหมณ์มา จึงรีบเข้าไปบอกว่า ลุกขึ้นเถิด
พราหมณ์กำลังมา แล้วให้ชายชู้ลงไปในยุ้งข้าวในเวลาที่พราหมณ์
เข้าไปนั่งแล้ว นางจึงเอาแผ่นกระดานไปให้ ให้น้ำล้างมือ
คดข้าวร้อน ๆ ไว้ข้างบนข้าวเย็นที่เหลือจากชายชู้บริโภค

ให้พราหมณ์. พราหมณ์เอื้อมมือลงไปในข้าว เห็นข้าวข้างบน
ร้อน ข้างล่างเย็น จึงคิดว่าข้าวนี้คงเป็นข้าวเหลือเดนจากคนอื่น
กิน. พราหมณ์เมื่อจะถามพราหมณี จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
อาการข้าวข้างบนเป็นอย่างหนึ่ง อาการ
ข้าวข้างล่างเป็นอย่างหนึ่ง ดูก่อนพราหมณี ฉัน
ขอถามเจ้าหน่อยเถิด เหตุไรข้าวข้างล่างจึงเย็น
ข้างบนจึงร้อนนิดหน่อย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วณฺโณ คืออาการ. เพราะพราหมณ์
เมื่อจะถามความที่ข้าวข้างบนร้อน และข้างล่างเย็น จึงกล่าว
อย่างนี้. บทว่า กึ เหฏฺฐา กิญฺจ อุปริ ความว่า แน่ะนางธรรมดา
ข้าวที่คดข้างบนควรจะเย็น ข้างล่างควรจะร้อน แต่นี่ไม่เป็น
เช่นนั้น เพราะเหตุนั้นเราจึงถามเจ้าว่า เพราะเหตุไรข้าวข้างบน
จึงร้อน ข้างล่างจึงเย็น.
พราหมณีแม้เมื่อพราหมณ์ถามอยู่บ่อย ๆ ก็ยังนิ่งเฉย
เพราะเกรงว่ากรรมที่ตนทำไว้จะเปิดเผยขึ้น. ในขณะนั้น บุตร
คนฟ้อนมีความคิดว่า บุรุษที่ถูกให้นั่งในยุ้งคงจะเป็นชายชู้
บุรุษผู้นี้คงเป็นเจ้าของบ้าน. ส่วนพราหมณีไม่พูดอะไร ๆ
เพราะเกรงว่ากรรมที่ตนทำจะปรากฏ เอาเถิดเราจะประกาศ
กรรมของหญิงนี้ จักบอกถึงความที่ชายชู้ถูกซ่อนไว้ในยุ้งแก่
พราหมณ์. บุตรคนฟ้อนจึงบอกพฤติกรรมทั้งหมด ตั้งแต่พราหมณ์
ออกจากเรือนไป ชายชู้เข้าไปในเรือน ประพฤติล่วงเกินบริโภค

อาหารอย่างดี พราหมณียืนคอยดูทางที่ประตู จนถึงชายชู้ถูก
ให้ลงยุ้ง แล้วกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ฉันเป็นคนฟ้อนรำ
เที่ยวขอมาจนถึงที่นี่ ก็ชายชู้ของพราหมณีนี้
ลงไปซ่อนอยู่ในยุ้ง ท่านเสาะหาผู้ใด ผู้นั้นคือ
ชายชู้ผู้นี้เอง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อหํ นโฏสฺมิ ภทฺทนฺเต ความว่า
นาย ข้าพเจ้าเป็นนักฟ้อนเป็นคนกำพร้า. บทว่า ภิกฺขโกสฺมิ
อิธาคโต
ความว่า ข้าพเจ้าเที่ยวขอมาถึงที่นี่. บทว่า อยํ หิ
โกฏฺฐโมติณฺโณ
ความว่า ก็ชายชู้ของหญิงนี้กำลังบริโภคอาหาร
อยู่ ลงไปเพราะกลัวท่าน จึงลงไปซ่อนอยู่ในยุ้ง. บทว่า อยํ
โส คเวสติ
ความว่า เขาผู้นั้นแหละคือผู้ที่ท่านค้นหาอยู่ว่า ข้าว
เหลือเดนนี้เป็นของใครหนอ. ท่านจงจับมวยผมของชายชู้ผู้นั้น
แล้วโบยนำออกจากยุ้ง จงสั่งสอนเขาไม่ให้กระทำอย่างนี้อีก
พระโพธิสัตว์กล่าวแล้วก็หลีกไป. พราหมณ์ก็สั่งสอนคนทั้งสอง
ไม่ให้ทำความชั่วเช่นนี้อีกด้วยการขู่และตบตี เสร็จแล้วก็ไป
ตามยถากรรม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน

ตั้งอยู่ในโสดาบัน พราหมณีในครั้งนั้นได้เป็นภรรยาเก่าในครั้งนี้
พราหมณ์ได้เป็นภิกษุผู้กระสัน ส่วนบุตรคนฟ้อนรำคือ เราตถาคต
นี้แล.
จบ อรรถกถาอุจฉิฏฐภัตตชาดกที่ 2

3. ภรุราชชาดก



ประทุษร้ายผู้มีศีลย่อมวิบัติ


[275] เราได้ฟังมาว่า พระราชาในภรุรัฐ ได้
ทรงประทุษร้ายต่อฤๅษีทั้งหลายแล้ว ทรงประสบ
ความวิบัติพร้อมทั้งแว่นแคว้น.
[276] เพราะฉะนั้นแลบัณฑิตทั้งหลายจึงไม่
สรรเสริญการลุอำนาจแก่ฉันทาคติ บุคคลไม่ควร
จิตคิดร้าย ควรกล่าวแต่คำที่อิงความจริง.

จบ ภรุราชาดกที่ 3

อรรถกถาภรุราชชาดกที่ 3



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อิสีนมนฺตรํ กตฺวา ดังนี้.
ความพิสดารมีอยู่ว่า ลาภและสักการะได้เกิดขึ้นเป็น
อันมากแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. ดังที่พระธรรม-
สังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร