เมนู

7. มิตตามิตตชาดก



อาการของผู้เป็นมิตรและมิใช่มิตร


[243] ศัตรูเห็นเข้าแล้วไม่ยิ้มแย้ม ไม่แสดง
ความยินดีตอบ สบตากันแล้วเบือนหน้าหนีไม่
แลดูประพฤติตรงกันข้ามเสมอ.
[244] อาการเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในศัตรู เป็น
เครื่องให้บัณฑิตเห็นและได้ฟังแล้ว พึงรู้ได้ว่า
เป็นศัตรู.

จบ มิตตามิตตชาดกที่ 7

อรรถกถามิตตามิตตชาดกที่ 7



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
ภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น นํ
อุมฺหยเต ทิสฺวา
ดังนี้.
ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาเศษผ้าผืนหนึ่งด้วยความวิสาสะที่
พระอุปัชฌายะวางไว้ ด้วยคิดว่า เมื่อเราถือเอาแล้ว พระอุปัชฌายะ
ของเราจะไม่โกรธ แล้วทำเป็นถุงใส่รองเท้า ภายหลังจึงบอก
พระอุปัชฌายะ. ครั้นพระอุปัชฌายะถามภิกษุนั้นว่า เพราะเหตุ
ใดท่านจึงถือเอา เมื่อภิกษุนั้นตอบว่า ถือเอาโดยวิสาสะของ

พระคุณท่านด้วยคิดว่า เมื่อเราถือเอาแล้ว พระอุปัชฌายะจัก
ไม่โกรธขอรับ พระอุปัชฌายะจึงกล่าวว่า ชื่อว่าวิสาสะของคุณ
กับของผมเป็นอย่างไร แล้วโกรธลุกขึ้นตบ. การกระทำของ
พระอุปัชฌายะนั้นได้ปรากฏในพวกภิกษุ.
อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรม
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินมาว่า ภิกษุหนุ่มรูปโน้น ได้ถือเอา
เศษผ้าของพระอุปัชฌายะโดยวิสาสะ แล้วทำเป็นถุงใส่รองเท้า
ครั้นพระอุปัชฌายะถามว่า ชื่อว่าวิสาสะของคุณกับของผมเป็น
อย่างไร แล้วโกรธลุกขึ้นตบ. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อ
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
นั้นไม่มีวิสาสะกับสัทธิวิหาริกของตน มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้
เมื่อก่อนก็ไม่มีวิสาสะเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้น
กาสี ครั้นเจริญวัยออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติ
ให้เกิดเป็นครูประจําคณะอาศัยอยู่ ณ หิมวันตประเทศ. ในหมู่
ฤๅษีนั้นมีดาบสรูปหนึ่งไม่เชื่อคำพระโพธิสัตว์ เลี้ยงลูกช้าง
กำพร้าไว้เชือกหนึ่ง. ครั้นลูกช้างเติบใหญ่ขึ้นได้ฆ่าดาบสนั้น
เสีย แล้วหนีเข้าป่าไป. หมู่ฤๅษีครั้นทำการฌาปนกิจศพดาบส
นั้นเสร็จแล้วจึงเข้าไปล้อมถามพระโพธิสัตว์ว่า พระคุณเจ้า

ขอรับ ความเป็นมิตรหรือความเป็นศัตรู จะสามารถรู้ได้ด้วย
เหตุอะไร. พระโพธิสัตว์เมื่อจะบอกว่าด้วยเหตุนี้ ๆ จึงได้กล่าว
คาถาเหล่านี้ว่า :-
ศัตรูเห็นเข้าแล้ว ไม่ยิ้มแย้ม ไม่แสดง
ความยินดีตอบ สบตากันแล้วเบือนหน้าหนีไม่
แลดู ประพฤติตรงกันข้ามเสมอ. อาการเหล่านี้
มีปรากฏอยู่ในศัตรู เป็นเครื่องให้บัณฑิตเห็น
และได้ฟังแล้วพึงรู้ได้ว่าศัตรู.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น นํ อุมฺหยเต ทิสฺวา ความว่า ก็ผู้
ได้เป็นศัตรูของคนใด ผู้นั้นเห็นคนนั้นแล้ว ย่อมไม่ยิ้มแย้ม คือ
ไม่หัวเราะ ไม่แสดงอาการร่าเริง. บทว่า น จ นํ ปฏินนฺทติ
ได้แก่ แม้ได้ยินคำของเขา ย่อมไม่ชื่นชมบุคคลนั้น คือไม่พลอย
ยินดีว่า คำพูดของผู้นั้นดี เป็นสุภาษิต. บทว่า จกฺขูนิ จสฺส น
ททนฺติ
ได้แก่ ตาต่อตา จ้องกันแล้วหลบหน้าเสียไม่มองดู คือ
เมินตาไปทางอื่นเสีย. บทว่า ปฏิโลมญฺจ วตฺตติ. ได้แก่ ไม่ชอบใจ
การกระทำทางกาย ทางวาจาของเขา คือถือตรงกันข้าม แสดง
กิริยาเป็นข้าศึก. บทว่า อาการา ได้แก่เหตุ. บทว่า เยหิ อมิตฺต
ความว่า เหตุที่บุคคลผู้เป็นบัณฑิตเห็นและได้ยินแล้ว พึงรู้ได้ว่า
ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา. ส่วนความเป็นมิตรพึงรู้ได้จากอาการ
ตรงกันข้ามกับศัตรูนั้น.

พระโพธิสัตว์ครั้นบอกเหตุแห่งความเป็นมิตรและเป็น
ศัตรูกันอย่างนี้แล้ว จึงเจริญพรหมวิหาร เข้าถึงพรหมโลก.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ดาบสผู้เลี้ยงช้างในครั้งนั้น ได้เป็นสัทธิวิหาริกในครั้งนี้
ช้างได้เป็นพระอุปัชฌายะ หมู่บริษัทได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนครู
ประจำคณะ คือ เราตถาคต.
จบ อรรถกถามิตตามิตตชาดกที่ 7

8. ราธชาดก



เรื่องจริงเก่าไม่ดีไม่ควรพูด


[245] ลูกรัก พ่อกลับมาจากที่ค้างเเรม กลับมา
เดี๋ยวนี้เอง ไม่นานเท่าไรนัก แม่ของเจ้าไม่ไป
คบทานบุรุษอื่นดอกหรือ.
[246] ธรรมดาบัณฑิตไม่พูดวาจาที่ประกอบด้วย
ความจริง แต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะต้องนอนอยู่
ดุจนกแขกเต้าชื่อว่าโปฏฐปาทะถูกเผานอนจมอยู่
ในเตาไฟ ฉะนั้น.

จบ ราธชาดกที่ 8

อรรถกถาราธชาดกที่ 8



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า ปวาสา อาคโต ตาต ดังนี้.
ได้ยินว่า พระศาสตาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน
ภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง
พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า เพราะเหตุไรเธอจึงกระสัน กราบทูลว่า
ข้าพระองค์เห็นหญิงงดงามคนหนึ่ง จึงกระสันเพราะอำนาจกิเลส