เมนู

[152] พระเจ้าพาราณสีทรงชนะคนโกรธด้วย
ความไม่โกรธ ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี ทรง
ชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ ทรงชนะคนพูดเหลาะ
แหละด้วยคำสัตย์ พระราชาพระองค์นี้เป็นเช่นนี้
ดูก่อนนายสารถี ท่านจงหลีกทางถวายพระราช
ของเราเถิด.

จบ ราโชวาทชาดกที่ 1

อรรถกถาทัฬหวรรค



ทุกนิบาต



อรรถกถาราโชววาทชาดกที่ 1



พระศาสดาเมื่อทรงประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรง
ปรารภโอวาทของพระราชา ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้น
ว่า ทฬฺหํ ทฬฺหสฺส ขิปติ ดังนี้.
โอวาทของพระราชานั้นจักมีแจ้งในเตสกุณชาดก. ในวัน
หนึ่งพระเจ้าโกศลทรงวินิจฉัยคดีเรื่องหนึ่ง ซึ่งวินิจฉัยไว้ไม่ดี
มีอคติ เสร็จแล้วเสวยพระกระยาหารเช้า ทั้ง ๆ ที่มีพระหัตถ์

เปียก เสด็จขึ้นทรงราชรถที่จัดไว้เรียบร้อยแล้ว เสด็จไปเฝ้า
พระศาสดา ทรงหมอบลงแทบพระบาทอันมีสิริดุจดอกปทุมบาน
ถวายบังคมพระศาสดา ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสปฏิสันถารกะพระเจ้าโกศลว่า ขอ
ต้อนรับมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน. พระเจ้า
โกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ข้าพระองค์วินิจฉัย
คดีเรื่องหนึ่งซึ่งวินิจฉัยไว้ไม่ดี จึงไม่มีโอกาส บัดนี้พิจารณาคดี
นั้นเสร็จแล้ว จึงบริโภคอาหารทั้ง ๆ ที่มือยังเปียก มาเฝ้าพระองค์
นี่แหละพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ขอถวายพระพรชื่อว่า
การวินิจฉัยโดยทํานองคลองธรรมเป็นความดี เป็นทางสวรรค์
แท้. ก็ข้อที่มหาบพิตรได้โอวาทจากสำนักของผู้เป็นสัพพัญญู
เช่นตถาคต ทรงวินิจฉัยคดีโดยทํานองคลองธรรมนี้ไม่อัศจรรย์
เลย การที่พระราชาทั้งหลายในกาลก่อน ทรงสดับโอวาทของ
เหล่าบัณฑิต ทั้งที่ไม่ใช่สัพพัญญู แล้วทรงวินิจฉัยคดีโดยทํานอง
คลองธรรม เว้นอคติสี่อย่าง บำเพ็ญทศพิธราชธรรม ไม่ให้เสื่อม
เสีย เสวยราชสมบัติโดยธรรม บำเพ็ญทางสวรรค์ เสด็จไปแล้ว
นี่แหละน่าอัศจรรย์. พระเจ้าโกศลกราบทูลอาราธนา พระองค์จึง
ทรงนำเรื่องในอดีตมาเล่าถวาย.
ในอดีตครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ
พระอัครมเหสีของพระราชานั้น ได้รับการบริหารพระครรภ์

เป็นอย่างดี ทรงประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา โดย
สวัสดิภาพ. ในวันขนานพระนาม พระชนกชนนีได้ทรงตั้งพระนาม
ของพระโพธิสัตว์ว่า พรหมทัตกุมาร.
พรหมทัตกุมารนั้น ได้เจริญวัยขึ้นโดยลำดับ เมื่อพระชนม์
ได้ 16 พรรษา เสด็จไปเมืองตักกศิลา ทรงสำเร็จศิลปศาตร์
ทุกแขนง เมื่อพระชนกสวรรคตทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ ครอบ
ครองราชสมบัติโดยทํานองคลองธรรม ทรงวินิจฉัยคดีไม่ล่วง
อคติ มีฉันทาคติเป็นต้น. เมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติโดยธรรม
อย่างนี้ มีพวกอำมาตย์ต่างก็วินิจฉัยคดีโดยธรรมเหมือนกัน.
เมื่อคดีทั้งหลายได้รับการวินิจฉัยโดยธรรม จึงไม่มีคดีโกงเกิดขึ้น
เพราะไม่มีคดีโกงเหล่านั้น การร้องทุกข์ ณ พระลานหลวง เพื่อ
ให้เกิดคดีก็หมดไป. พวกอำมาตย์นั่งบนบัลลังก์วินิจฉัยตลอดวัน
ไม่เห็นใคร มาเพื่อให้วินิจฉัยคดี ต่างก็ลุกกลับไป. สถานที่
วินิจฉัยคดีก็ถูกทอดทิ้ง.
พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เมื่อเราครองราชสมบัติโดยธรรม
ไม่มีผู้คนมาให้วินิจฉัยคดี ไม่มีผู้มาร้องทุกข์ สถานที่วินิจฉัยคดี
ก็ถูกทอดทิ้ง. บัดนี้เราควรตรวจสอบโทษของตน ครั้นเรารู้ว่า
นี่เป็นโทษของเรา จักละโทษนั้นเสียประพฤติในสิ่งที่เป็นคุณ
เท่านั้น. จำเดิมแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์ก็ทรงสำรวจดูว่า จะมี
ใคร ๆ พูดถึงโทษของเราบ้างหนอ ครั้นไม่ทรงเห็นใคร ๆ กล่าว
ถึงโทษ ในระหว่างข้าราชบริพารภายใน ทรงสดับแต่คำสรรเสริญ

คุณของพระองค์ถ่ายเดียว ทรงดำริว่า ชะรอยชนเหล่านี้ เพราะ
กลัวเราจึงไม่กล่าวถึงโทษ กล่าวแต่คุณเท่านั้น จึงทรงสอบข้า-
ราชบริพารภายนอก แม้ในหมู่ข้าราชบริพารเหล่านั้น ก็ไม่ทรง
เห็น จึงทรงสอบชาวเมืองภายในพระนคร ทรงสอบชาวบ้านที่
ทวารทั้งสี่นอกพระนคร แม้ในที่นั้นก็มิได้ทรงเห็นใคร ๆ กล่าวถึง
โทษ ทรงสดับแต่คำสรรเสริญของพระองค์ถ่ายเดียว จึงทรงดำริ
ว่า เราจักตรวจสอบชาวชนบท ทรงมอบราชสมบัติให้เหล่า
อำมาตย์ เสด็จขึ้นรถไปกับสารถีเท่านั้น ทรงปลอมพระองค์ไม่
ให้ใครรู้จัก เสด็จออกจากพระนคร พยายามสอบสวนชาวชนบท
จนเสด็จถึงภูมิประเทศชายแดน ก็มิได้ทรงเห็นใคร ๆ กล่าวถึง
โทษ ทรงสดับแต่คำสรรเสริญพระคุณ จึงทรงบ่ายพระพักตร์
สู่พระนคร เสด็จกลับตามทางหลวงจากเขตชายแดน.
ในเวลานั้น แม้พระเจ้าโกศลพระนามว่า พัลลิกะ ก็ทรง
ครอบครองราชสมบัติโดยธรรม ทรงตรวจสอบหาโทษในบรรดา
ข้าราชบริพารภายในเป็นต้น มิได้ทรงเห็นใคร ๆ กล่าวถึงโทษ
เลย ทรงสดับแต่คำสรรเสริญพระคุณของพระองค์เหมือนกัน
จึงทรงตรวจสอบชาวชนบท ได้เสด็จถึงประเทศนั้น.
กษัตริย์ทั้งสอง ได้ปะจันหน้ากันที่ทางเกวียนอันราบลุ่ม
แห่งหนึ่ง ไม่มีทางที่รถจะหลีกกันได้. สารถีของพระเจ้าพัลลิกะ
จึงพูดกะสารถีของพระเจ้าพาราณสีว่า " จงหลีกรถของท่าน "
สารถีของพระเจ้าพาราณสีก็ตอบว่า " พ่อมหาจำเริญ ขอให้ท่าน

หลีกรถของท่านเถิด บนรถนี้มีพระเจ้าพรหมทัตมหาราช ผู้
ครอบครองราชสมบัติในกรุงพาราณสีประทับนั่งอยู่ " สารถี
อีกฝ่ายหนึ่งก็พูดว่า " พ่อมหาจำเริญ บนรถนี้พระเจ้าพัลลิกะ
มหาราชผู้ครอบครองราชสมบัติแคว้นโกศลก็ประทับนั่งอยู่
ขอท่านได้โปรดหลีกรถของท่าน แล้วให้โอกาสแก่รถของพระ-
ราชาของเราเถิด "
สารถีของพระเจ้าพาราณสีดำริว่า " แม้ผู้ที่นั่งอยู่ในรถนี้
ก็เป็นพระราชาเหมือนกัน เราจะควรทำอย่างไรดีหนอ " นึกขึ้น
ได้ว่า มีอุบายอย่างหนึ่ง เราจักถามถึงวัยให้รถของพระราชาหนุ่ม
หลีกไป แล้วให้พระราชทานโอกาสแก่พระราชาแก่ ครั้นตกลงใจ
แล้ว จึงถามถึงวัยของพระเจ้าโกศลกะสารถี แล้วกำหนดไว้
ครั้นทราบว่าพระราชาทั้งสองมีวัยเท่ากัน จึงถามถึงปริมาณ
ราชสมบัติ กำลัง ทรัพย์ ยศ ชาติ โคตร ตระกูล ประเทศ
ครั้นทราบว่า ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ครอบครองรัชสีมาประมาณ
ฝ่ายละสามร้อยโยชน์ มีกำลัง ทรัพย์ ยศ ชาติ โคตร ตระกูล
และประเทศเท่ากัน แล้วคิดต่อไปว่า เราจักให้โอกาสแก่ผู้มีศีล
จึงถามว่า " พ่อมหาจำเริญ ศีลและมารยาทแห่งพระราชาของ
ท่านเป็นอย่างไร " เมื่อเขาประกาศสิ่งที่เป็นโทษแห่งพระราชา
ของตน โดยนึกว่าเป็นคุณ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
พระเจ้าพัลลิกราชทรงชนะคนกระด้าง
ด้วยความกระด้าง ทรงชนะคนอ่อนโดยด้วยความ

อ่อนโยน ทรงชนะคนดีด้วยความดี ทรงชนะ
คนไม่ดีด้วยความไม่ดี พระราชาพระองค์นี้เป็น
เช่นนั้น ดูก่อนสารถีท่านจงหลีกทางถวายพระ
ราชาของเราเถิด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ทฬฺหํ ทฬฺหสฺส ขิปติ ความว่า สารถี
ของพระเจ้าพัลลิกะชี้แจงว่า ผู้ใดเป็นคนกระด้าง มีกำลังควร
ชนะด้วยการประหารหรือด้วยวาจาอันกระด้าง ก็ใช้การประหาร
หรือวาจาอันกระด้างต่อผู้นั้น พระเจ้าพัลลิกะทรงใช้ความกระด้าง
ชนะผู้นั้นอย่างนี้. บทว่า พลฺลิโก เป็นชื่อของพระราชาพระองค์
นั้น. บทว่า มุทุนา มุทุํ ความว่า พระเจ้าพัลลิกะทรงใช้ความ
อ่อนโยนชนะบุคคลอ่อนโยน ด้วยอุบายอันอ่อนโยน. บทว่า
สาธุมฺปิ สาธุนา เชติ อสาธุมฺปิ อสาธุนา ความว่า สารถีของ
พระเจ้าพัลลิกะชี้แจงต่อไปว่า ชนเหล่าใดเป็นคนดี คือเป็น
สัตบุรุษ พระองค์ทรงใช้ความดีชนะชนเหล่านั้น ด้วยอุบายอันดี.
ส่วนชนเหล่าใดเป็นคนไม่ดี พระองค์ก็ทรงใช้ความไม่ดีชนะชน
เหล่านั้น ด้วยอุบายที่ไม่ดีเหมือนกัน.
บทว่า เอตาทิโส อยํ ราชา ความว่า พระเจ้าโกศลของ
พวกเรา ทรงประกอบด้วยศีล และมารยาทเห็นปานนี้. บทว่า
มคฺคา อุยฺยาหิ สารถิ ความว่า สารถีของพระเจ้าพัลลิกะพูดว่า
ขอท่านจงหลีกรถของตนจากทางไปเสีย คือจงไปนอกทาง ให้
ทางแก่พระราชาของพวกเรา.

ลำดับนั้นสารถีของพระเจ้าพาราณสี กล่าวกะสารถีของ
พระเจ้าพัลลิกะว่า ท่านกล่าวถึงพระคุณของพระราชาของท่าน
หรือ เมื่อเขาตอบว่า ใช่แล้ว สารถีของพระเจ้าพาราณสีจึงกล่าว
ต่อไปว่า ผิว่าเหล่านี้เป็นพระคุณ สิ่งที่เป็นโทษจะมีเพียงไหน
สารถีของพระเจ้าพัลลิกะกล่าวว่า เหล่านี้เป็นโทษก็ตามเถิด
แต่พระราชาของท่านมีพระคุณเช่นไรเล่า สารถีของพระเจ้า
พาราณสีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง แล้วกล่าวคาถาที่สองว่า :-
พระเจ้าพาราณสีทรงชนะคนโกรธด้วย
ความไม่โกรธ ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี ทรง
ชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ ทรงชนะคนพูดเหลาะ
แหละด้วยคำสัตย์ พระราชาพระองค์นี้เป็นเช่น
นั้น ดูก่อนสารถีท่านจงหลีกทางถวายพระราชา
ของเราเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิโส ความว่า พระราชาทรง
ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ ที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า พึงชนะคน
โกรธด้วยความไม่โกรธ
ดังนี้ อธิบายว่า พระราชาพระองค์นี้
พระองค์เองไม่โกรธ ทรงชนะบุคคลผู้โกรธด้วยความไม่โกรธ
พระองค์เองเป็นคนดี ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี พระองค์เอง
เป็นผู้ทรงบริจาค ทรงชนะคนตระหนี่เหนียวแน่นด้วยการบริจาค
พระองค์เองตรัสความจริง ทรงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำจริง.

บทว่า มคฺคา อุยฺยาหิ ความว่า สารถีของพระเจ้าพาราณสี
กล่าวว่า ท่านสารถีผู้เป็นสหาย ขอได้โปรดหลีกจากทาง จง
ให้ทางแก่พระราชาของพวกเราผู้ประกอบด้วยคุณ คือศีลและ
มารยาทมีอย่างนี้ พระราชาของพวกเราสมควรแก่ทางดำเนิน.
เมื่อสารถีของพระเจ้าพาราณสีกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้า
พัลลิกะ และสารถีทั้งสองก็เสด็จและลงจากรถปลดม้าถอยรถ
ถวายทางแด่พระเจ้าพาราณสี. พระเจ้าพาราณสี ถวายโอวาท
แด่พระเจ้าพัลลิกะว่า ธรรมดาพระราชาควรทรงกระทำอย่างนี้ ๆ
แล้วเสด็จไปกรุงพาราณสี ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้น ทรง
เพิ่มพูนทางสวรรค์ในเวลาสุดสิ้นพระชนม์.
แม้พระเจ้าพัลลิกะก็ทรงรับพระโอวาท ของพระเจ้า-
พาราณสี ทรงสอบสวนชาวชนบท เสด็จไปทั่วพระนคร ไม่เห็น
มีผู้กล่าวโทษของพระองค์ จึงกระทำบุญมีทานเป็นต้น ทรงเพิ่ม
พูนทางสวรรค์ ในเวลาสุดสิ้นพระชนม์.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาเพื่อทรงถวาย
โอวาทแด่พระเจ้าโกศล แล้วทรงประชุมชาดก
นายสารถีของพระเจ้าพัลลิกะ ครั้งนั้นได้เป็นพระโมค-
คัลลานะ พระเจ้าพัลลิกะ ได้เป็นพระอานนท์ สารถีของพระเจ้า
พาราณสี ได้เป็นพระสาริบุตร ส่วนพระราชาคือ ตถาคตเอง.
จบ อรรถกถาราโชวาทชาดกที่ 1

2. สิคาลชาดก



ว่าด้วยการทำโดยไม่พิจารณา


[153] การงานเหล่านั้น ย่อมเผาบุคคลผู้มีการ
งานอันไม่ได้พิจารณาแล้ว รีบร้อนจะทําให้
สําเร็จเหมือนกับของร้อนที่บุคคลไม่พิจารณา
ก่อนแล้วใส่เข้าไปในปาก ฉะนั้น.
[154] อนึ่ง ราชสีห์ได้แผดสีหนาทที่ภูเขาเงิน
สุนัขจิ้งจอกอยู่ในภูเขาเงินได้ฟังราชสีห์แผด
เสียงก็กลัวตาย หวาดกลัวหัวใจแตกตาย.

จบ สิคาลชาดกที่ 2

อรรถกถาสิคาลชาดกที่ 2



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ทรงปรารถนา
บุตรช่างกัลบกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่เมืองเวสาลี แล้วตรัสพระธรรม
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ดังนี้
ได้ยินว่า บิดาของเราเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสถึงไตร-
สรณาคมน์ สมาทานศีล 5 กระทำกิจทุกอย่าง เป็นต้นว่า ปลง
พระมัสสุ แต่งพระเกศา ตั้งกระดานสะกาแด่พระราชา พระมเหสี
พระราชกุมาร และพระราชกุมารี ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วย
การฟังธรรมของพระศาสดาเนือง ๆ. วันหนึ่งบิดาไปทำงาน