เมนู

6. กฬายมุฏฐิชาดก



ว่าด้วยโลภมาก


[201] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ลิงผู้เที่ยว
หาอาหารตามกิ่งไม้นี้ โง่เขลายิ่งนัก ปัญญาของมัน
ก็ไม่มี มันสาดถั่วทั้งกำเสียหมดสิ้น แล้วเที่ยว
ค้นหาถั่วเมล็ดเดียวที่ตกลงยังพื้นดิน.
[202] ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่น
ที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้งของมากเพราะของ
น้อย เปรียบเหมือนวานรเสื่อมจากถั่วทั้งหมด
เพราะถั่วเมล็ดเดียว ฉะนั้น.

จบ กฬายมุฏฐิชาดกที่ 6

อรรถกถากฬายมุฏฐิชาดกที่ 6



พระราชาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภพระเจ้ากรุงโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
ทาโล วตายํ ทุมสาขโคจโร ดังนี้.
ความพิสดารมีอยู่ว่า สมัยหนึ่ง ในฤดูฝนทางชายแดน
ของพระเจ้ากรุงโกศลเกิดกบฎ พวกนักรบที่อยู่ ณ ชายแดน
นั้น ได้ทำการสู้รบถึงสองสามครั้ง ก็ไม่สามารถเอาชนะข้าศึก

ได้ จึงส่งข่าวทูลถวายพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาเสด็จ
ออกในฤดูฝนอันไม่ควรแก่เวลา จึงทรงจัดตั้งค่ายใกล้พระวิหาร
เชตวัน ทรงดำริว่า เราออกเดินทางในเวลาอันไม่สมควร ซอกเขา
และลำธารเป็นต้น เต็มไปด้วยน้ำ ทางเดินลำบาก เราจักเข้าเฝ้า
พระศาสดา พระองค์จักตรัสถามเราว่า มหาบพิตรจะเสด็จไป
ไหน ครั้นแล้วเราก็จักกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระ-
ศาสดาจะทรงอนุเคราะห์เรา เฉพาะประโยชน์ในภายหน้าเท่านั้น
ก็หามิได้ แม้ประโยชน์ในปัจจุบันก็ทรงอนุเคราะห์เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นหากเราไปจะไม่เจริญ พระองค์ก็จักตรัสว่า มหา-
บพิตรยังไม่ถึงเวลาเสด็จ หากจักมีความเจริญ พระองค์ก็จัก
ทรงนิ่ง. พระราชาจึงเสด็จเข้าพระวิหารเชตวัน แล้วถวายบังคม
พระศาสดา ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัส
ปฏิสันถารว่า เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหน
แต่ยังวัน. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ หม่อมฉันจะออกไป
ปราบกบฎชายแดน มาที่นี้ด้วยคิดว่า จักถวายบังคมพระองค์
แล้วจะไป. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร แม้แต่ก่อนพระราชา
ทั้งหลาย เมื่อจะยกทัพไปครั้นได้ฟังคำของบัณฑิตแล้ว ก็ไม่
เสด็จไปสู่กองทัพในเวลาอันไม่สมควร ครั้นพระราชาทูลอาราธนา
จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นอำมาตย์สำเร็จราชกิจทั่วไป

เป็นธรรมานุสาสก (สอนธรรม) ของพระองค์. ครั้งนั้นทาง
ชายแดนของพระองค์เกิดกบฎ ทหารที่ชายแดนส่งสาส์นให้
ทรงทราบ. พระราชาเสด็จออกในฤดูฝน ตั้งพักค่าย ณ พระ-
อุทยาน. พระโพธิสัตว์ได้อยู่ใกล้ที่ประทับพระราชา. ขณะพวก
ทหารนำถั่วดำอาหารม้ามาใส่ไว้ในราง. บรรดาลิงในพระราช-
อุทยาน มีลิงตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ ฉวยเอาถั่วดำจากรางนั้น
ใส่ปากจนเต็มแล้วยังคว้าติดมือไปอีก กระโดดขึ้นไปนั่งบนต้นไม้
เริ่มจะกิน เมื่อมันจะกินถั่วดำเม็ดหนึ่งหลุดจากมือตกลงไป
บนดิน มันจึงทิ้งถั่วดำทั้งหมดทั้งที่อยู่ในปาก และที่มือลงจาก
ต้นไม้มองหาถั่วดำนั้น ครั้นไม่เห็นมันจึงกลับขึ้นต้นไม้ใหม่
นั่งเศร้าโศกเสียใจ หน้าซึมอยู่บนกิ่งไม้ เหมือนแพ้คดีไปสักพันคดี.
พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาของลิงจึงตรัสเรียก
พระโพธิสัตว์แล้วตรัสถามว่า ดูซิ ท่านอาจารย์ ลิงมันทำอะไร
นั่น. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะข้าแต่มหาราช ผู้โง่เขลา
ไร้ปัญญา ไม่มองถึงของมาก มองแต่ของน้อย ย่อมกระทำเช่นนี้
แหละพระพุทธเจ้าข้า แล้วกล่าวคาถาแรกก่อนว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ลิงผู้เที่ยว
หาอาหารตามกิ่งไม้นี้ โง่เขลายิ่งนัก ปัญญาของ
มันก็ไม่มี มันสาดถั่วทั้งกำ เสียหมดสิ้นแล้ว
เที่ยวค้นหาถั่วเมล็ดเดียวที่ตกลงบนพื้นดิน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุมสาขโคจโร ได้แก่ลิง. เพราะ
ลิงนั้นหาอาหารบนกิ่งไม้. กิ่งไม้เหล่านั้นเป็นโคจร คือเป็นที่เที่ยว
สัญจรไปมาของมัน เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ผู้เที่ยวไปตาม
กิ่งไม้. เรียกพระราชาว่า ชนินฺท เพราะพระราชา ชื่อว่าเป็น
จอมชน เพราะความเป็นใหญ่ยิ่ง. บทว่า กฬายมุฏฺฐึ ได้แก่
ลูกเดือยกำหนึ่ง. เกจิอาจารย์กล่าวว่า กาฬราชมาสมุฏฺฐึ บ้าง
(ถั่วดำ ถั่วราชมาส) บทว่า อวกิริย ได้แก่ สาดทิ้ง. บทว่า
เกวลํ คือ ทั้งหมด. บทว่า คเวสติ คือหาเมล็ดเดียวที่ตกลงบน
พื้นดิน.
ครั้นพระโพธิสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปยังที่นั้น
กราบทูลปราศัยกับพระราชา แล้วจึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่น
ที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้งของมากเพราะของ
น้อย เหมือนลิงเสื่อมจากถั่วทั้งหมด เพราะถั่ว
เมล็ดเดียวแท้ ๆ.

ความย่อในคาถานั้นมีดังนี้ พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทแด่
พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่นที่ถูกความ
โลภครอบงำก็ดี ทั้งหมดนั้นย่อมเสื่อมจากของมากเพราะของ
น้อย ด้วยว่าบัดนี้พวกเราจะเดินทางไปในฤดูฝนอันมิใช่กาล
สมควร ย่อมเสื่อมจากประโยชน์มาก เพราะเหตุประโยชน์เล็ก
น้อย. บทว่า กฬาเยเนว วานโร ความว่า เหมือนลิงตัวนี้แสวงหา

ถั่วเมล็ดเดียว เสื่อมแล้วจากถั่วเป็นอันมาก เพราะถั่วเมล็ดเดียว
นั้น ฉันใด แม้พวกเราในบัดนี้ก็ฉันนั้น กำลังจะไปในที่อันเต็ม
ไปด้วยซอกเขาและลำธารเป็นต้น โดยมิใช่กาลแสวงหาประโยชน์
เล็กน้อย แต่จักเสื่อมจากพาหนะช้าง พาหนะม้าเป็นต้นมากมาย
และหมู่นักรบ เพราะฉะนั้นไม่ควรไปในเวลาอันมิใช่กาล.
พระราชาสดับถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้วเสด็จ
กลับจากที่นั้น เข้าสู่พระนครพาราณสีทันที. แม้พวกโจรได้
ข่าวว่า พระราชาเสด็จออกจากพระนคร โดยพระประสงค์จะ
ปราบปรามพวกโจร จึงพากันหนีออกจากชายแดน.
แม้ในปัจจุบันพวกโจรได้ยินข่าวว่า พระราชากรุงโกศล
เสด็จออก จึงพากันหนีไป. พระราชาสดับพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับถวายบังคมพระผู้-
มีพระภาคเจ้า การทำประทักษิณ เสด็จกลับกรุงสาวัตถี.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์
บัณฑิต คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากฬายมุฏฐิชาดกที่ 6

7. ตินทุกชาดก



ว่าด้วยอุบาย


[203] มนุษย์ทั้งหลายมีมือถือแล่งธนู ถือดาบ
อันคมแล้ว พากันมาแวดล้อมพวกเราได้โดยรอบ
ด้วยอุบายอย่างไรพวกเราจึงจะรอดพ้นไปได้.
[204] ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะพึงเกิดมี
แก่มนุษย์ทั้งหลายผู้มีกิจมากเป็นแน่ ยังมีเวลา
พอที่จะเก็บเอาผลไม้มากินได้ ท่านทั้งหลาย จง
พากันกินผลมะพลับเถิด.

จบ ตินทุกชาดกที่ 7

อรรถกถาตินทุกชาดกที่ 7



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ธนุหตฺถกลาเปหิ ดังนี้.
ความพิสดารมีอยู่ว่า พระศาสดาครั้นทรงสดับวาจา
พรรณาพระคุณแห่งปัญญาของพระองค์เหมือนในมหาโพธิชาดก
และอุมมังคชาดกแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
มีปัญญามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็มีปัญญาและฉลาด
ในอุบายเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า