เมนู

5. อาทิจจุปัฏฐานชาดก



ว่าด้วยลิงไหว้พระอาทิตย์


[199] ได้ยินว่า ในบรรดาสัตว์ทั้งปวง สัตว์ผู้
ตั้งมั่นอยู่ในศีลมีอยู่ ท่านจงดูลิงผู้ลามกยืนไหว้
พระอาทิตย์อยู่เถิด.
[200] ท่านทั้งหลายไม่รู้จักปกติของมัน เพราะ
เหตุไม่รู้จึงได้พากันสรรเสริญ ลิงตัวนี้มันเผา
โรงไฟเสีย และทุบต่อยคนโทน้ำเสียสองใบ.
จบ อาทิจจุปัฏฐานชาดกที่ 5

อรรถกถาอาทิจจุปัฏฐานชาดกที่ 5



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภ
ภิกษุหลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
สพฺเพสุ กิร ภูเตสุ ดังนี้.
เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวแล้วในหนหลัง.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณี. พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ แคว้นกาสี
ครั้นเจริญวัยศึกษาศิลปะในเมืองตักศิลา บวชเป็นฤๅษี ยัง
อภิญญาและสมาบัติให้เกิด มีบริวารมาก เป็นครูประจำคณะ

อาศัยอยู่ป่าหิมพานต์. พระโพธิสัตว์อยู่ในป่าหิมพานต์นั้นเป็น
เวลานานจึงลงจากภูเขาเพื่อเสพของเค็มและของเปรี้ยว อาศัย
บ้านหนึ่งในชายแดนพักอยู่ที่บรรณศาลา. ขณะนั้นมีลิงโลน
ตัวหนึ่ง เมื่อคณะฤาษีไปภิกขาจารจึงมายังอาศรมบท ถอนหญ้า
ที่บรรณศาลา เทน้ำในหม้อน้ำทิ้ง ทุบคนโทน้ำ ถ่ายคูถไว้ที่
โรงไฟ. ดาบสทั้งหลายอยู่จำพรรษาแล้ว ดำริว่า บัดนี้ป่า
หิมพานต์บริบูรณ์ด้วยดอกไม้และผลไม้น่ารื่นรมย์ เราจะไป
ณ ที่นั้น จึงบอกลาชาวบ้านชายแดน. พวกมนุษย์กล่าวว่า
พระคุณเจ้าวันพรุ่งนี้พวกข้าพเจ้าจะนำภิกษามายังอาศรมบท
พระคุณเจ้าฉันอาหารแล้วจึงค่อยไป ในวันที่สองต่างก็นำของ
เคี้ยวของฉันเป็นอันมากไป ณ ที่นั้นอีก. ลิงโลนเห็นดังนั้นจึง
คิดว่า เราจักลวงให้มนุษย์เลื่อมใสให้นำของเคี้ยวของบริโภค
มาให้เรา. ลิงจึงทำเป็นเหมือนบำเพ็ญตบะและเหมือนจำศีล
ยืนนอบน้อมพระอาทิตย์ ในที่ไม่ห่างจากดาบส. พวกมนุษย์
เห็นดังนั้นจึงพากันกล่าวว่า ผู้อยู่ใกล้ผู้มีศีล ย่อมเป็นผู้มีศีล
แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-
ในบรรดาสัตว์ทั้งปวง สัตว์ผู้ตั้งมั่นอยู่
ในศีลมีอยู่ ท่านจงดูลิงผู้ลามก ยืนไหว้พระ-
อาทิตย์อยู่เถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ สีลสมาหิตา ได้แก่ ผู้มีจิต
ตั้งมั่น คือประกอบด้วยศีลมีอยู่ อธิบายว่า ผู้มีศีลและผู้มีจิต

ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวมีอยู่. บทว่า ชมฺมํ คือลามก. บทว่า
อาทิจฺจมุปติฏฺฐติ ความว่า ลิงยืนไหว้พระอาทิตย์อยู่.
พระโพธิสัตว์เห็นพวกมนุษย์เหล่านั้น สรรเสริญคุณของ
ลิงนั้นจึงกล่าวว่า พวกท่านไม่รู้ศีลและมารยาทของลิงโลนตัวนี้
แล้วเลื่อมใสในสิ่งไม่เป็นเรื่องเป็นราว จึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
ท่านทั้งหลายไม่รู้จักปกติของมัน เพราะ
ไม่รู้จักพากันสรรเสริญ ลิงตัวนี้มันเผาโรงไฟเสีย
และทุบต่อยคนโทน้ำเสียสองใบ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺญาย แปลว่า ไม่รู้. บทว่า อูหนํ
ได้แก่การก่อเหตุที่ลิงชั่วนี้กระทำ. บทว่า กมณฺฑลู ได้แก่
คนโทน้ำ. พระโพธิสัตว์กล่าวโทษลิงอย่างนี้ว่า มันทุบคนโทน้ำ
เสียสองใบ.
พวกมนุษย์ครั้นรู้ว่า เป็นลิงหลอกลวงจึงคว้าก้อนดินและ
ไม้ขว้างไล่ให้มันหนีไป แล้วถวายภิกษาแก่หมู่ฤๅษี. แม้ฤาษี
ทั้งหลายก็พากันไปป่าหิมพานต์ ทำฌานไม่ให้เสื่อม ได้พรหมโลก
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. ลิงในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุลวงโลกนี้ หมู่ฤๅษีได้เป็น
พุทธบริษัท ส่วนครูประจำคณะ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาอาทิจจุปัฏฐานชาดกที่ 5

6. กฬายมุฏฐิชาดก



ว่าด้วยโลภมาก


[201] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ลิงผู้เที่ยว
หาอาหารตามกิ่งไม้นี้ โง่เขลายิ่งนัก ปัญญาของมัน
ก็ไม่มี มันสาดถั่วทั้งกำเสียหมดสิ้น แล้วเที่ยว
ค้นหาถั่วเมล็ดเดียวที่ตกลงยังพื้นดิน.
[202] ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่น
ที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้งของมากเพราะของ
น้อย เปรียบเหมือนวานรเสื่อมจากถั่วทั้งหมด
เพราะถั่วเมล็ดเดียว ฉะนั้น.

จบ กฬายมุฏฐิชาดกที่ 6

อรรถกถากฬายมุฏฐิชาดกที่ 6



พระราชาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภพระเจ้ากรุงโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
ทาโล วตายํ ทุมสาขโคจโร ดังนี้.
ความพิสดารมีอยู่ว่า สมัยหนึ่ง ในฤดูฝนทางชายแดน
ของพระเจ้ากรุงโกศลเกิดกบฎ พวกนักรบที่อยู่ ณ ชายแดน
นั้น ได้ทำการสู้รบถึงสองสามครั้ง ก็ไม่สามารถเอาชนะข้าศึก