เมนู

3. มักกฏชาดก



ว่าด้วยพิง


[195] คุณพ่อครับ มาณพนั่นมายืนพิงต้นตาลอยู่
อนึ่ง เรือนของเรานี้ก็มีอยู่ ถ้ากระไรเราจะให้
เรือนแก่มานพนั้น.
[196] ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเรียกมันมาเลย มันเข้ามา
แล้ว จะพึงประทุษร้ายเรือนของเรา หน้าของ
พราหมณ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ หาเป็นเช่นนี้ไม่.

จบ มักกฏชาดกที่ 3

อรรถกถามักกฏชาดกที่ 3



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
ภิกษุหลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
ตาต มาณวโก เอโส ดังนี้.
เรื่องราวจักมีแจ้งในอุททาลกชาดกในปกิณณกนิบาต.
ก็ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้มิใช่
หลอกลวงในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เกิดเป็นลิงได้หลอกลวง
เพราะเรื่องไฟ แล้วตรัสนำเรื่องอดีตมาเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ หมู่บ้านกาสี ครั้น

เจริญวัยเรียนศิลปศาสตร์ในเมืองตักกสิลา ดำรงตนเป็นฆราวาส.
ครั้นต่อมาพราหมณีภรรยาของพราหมณ์นั้นคลอดบุตรคนหนึ่ง
เมื่อบุตรวิ่งเที่ยวไปมาได้ พราหมณีก็ถึงแก่กรรม. พระโพธิสัตว์
กระทำฌาปนกิจนางแล้วคิดว่า เราจะอยู่ครองเรือนไปทำไม
จึงละพรรคพวกญาติมิตร ซึ่งพากันร่ำไห้พาบุตรเข้าไปยังป่า
หิมพานต์ บวชเป็นฤๅษีมีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร
พำนักอยู่ ณ ที่นั้น. วันหนึ่งเมื่อฝนตกในฤดูฝน พระโพธิสัตว์
ก่อไฟผิงนอนอยู่บนเครื่องลาดกระดาน. แม้บุตรของท่านซึ่ง
เป็นดาบสกุมาร ก็นั่งนวดเท้าของบิดา. มีลิงป่าตัวหนึ่งถูกความ
หนาวเบียดเบียน เห็นไฟที่บรรณศาลาของพระโพธิสัตว์ จึง
คิดว่า หากเราจักเข้าไปในบรรณศาลานี้ เขาจักร้องว่า ลิง
ลิง แล้วโบยนำเราออกไป เราก็จักไม่ได้ผิงไฟ เอาละบัดนี้เรา
มีอุบายอย่างหนึ่ง เราจะปลอมเป็นดาบสทำการลวงเข้าไป
จึงนุ่งผ้าเปลือกไม้ของดาบสที่ตายแล้วคนหนึ่ง ถือกระเช้า ขอ
และไม้เท้าอาศัยตาลต้นหนึ่งที่ประตูบรรณศาลายืนสั่นอยู่.
ดาบสกุมารเห็นมันก็ไม่รู้ว่าเป็นลิง จึงบอกแก่ดาบสว่า มีดาบสแก่
รูปหนึ่ง ถูกความหนาวเบียดเบียนคงจะมาขอผิงไฟ แล้วคิดว่า
ควรจะให้เข้าไปผิงยังบรรณศาลาหลังหนึ่ง เมื่อจะพูดกะบิดา
จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-
พ่อจ๋า มาณพนั้นมายืนพิงต้นตาลอยู่ อนึ่ง
เรือนของเรานี้ก็มีอยู่ ถ้ากระไรเราจะให้เรือน

แก่มาณพนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มาณวโก เป็นชื่อของสัตว์. ท่าน
แสดงว่า พ่อจ๋า นั่นมาณพคือสัตว์ชนิดหนึ่ง คือดาบสรูปหนึ่ง.
บทว่า ตาลมูลํ อปสฺสิโต ได้แก่ยืนพิงต้นตาลอยู่. บทว่า อคาร-
กญฺจิทํ อตฺถิ
ได้แก่ เรามีบ้านของนักบวชนี้ คือหมายถึงบรรณ-
ศาลา. บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งความเตือน. บทว่า
เทมสฺส คารกํ ความว่า เราจะให้เรือนดาบสนี้อยู่ส่วนหนึ่ง.
พระโพธิสัตว์ได้ยินคำของบุตรจึงลุกขึ้นไปยืนดูที่ประตู
บรรณศาลา รู้ว่าสัตว์นั้นเป็นลิง จึงบอกลูกว่า ลูกเอ๋ยธรรมดา
มนุษย์หน้าไม่เป็นอย่างนี้ดอก ลูกไม่ควรเรียกลิงเข้ามาในที่นี้
แล้วกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเรียกมันมาเลย มันเข้ามา
แล้ว จะทำลายเรือนของเรา หน้าของพราหมณ์
ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ไม่เป็นอย่างนี้ดอก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทูเสยฺย โน อคารกํ ความว่า เจ้า
สัตว์นี้แหละ เข้าไปในบรรณศาลานี้ จะทำลายเอาไฟเผาบรรณ-
ศาลาซึ่งทำได้ลำบากนี้เสีย หรือถ่ายอุจจาระเป็นต้น รดไว้.
บทว่า เนตาทิสํ ได้แก่หน้าของพราหมณ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่เป็น
เช่นนี้.
พระโพธิสัตว์ ครั้นบอกว่านั่นลิงดังนี้แล้ว จึงคว้าคบไฟ
ได้ดุ้นหนึ่งตวาดว่า เจ้าจะอยู่ที่นี่ทำไม แล้วขว้างให้มันหนีไป.

ลิงก็ทิ้งผ้าเปลือกไม้ วิ่งขึ้นต้นไม้เข้าป่าไป. พระโพธิสัตว์เจริญ
พรหมวิหาร 4 ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดาทรงนําพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ลิงในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้ ดาบสกุมาร
ได้เป็นราหุล ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถามักกฏชาดกที่ 3

4. ทุพภิยมักกฏชาดก



ว่าด้วยการคบคนชั่ว


[197] เราได้ให้น้ำเป็นอันมากแก่เจ้า ผู้ถูกความ
ร้อนแผดเผา หิวกระหายอยู่ บัดนี้เจ้าได้ดื่มน้ำแล้ว
ยังหลอกล้อเปล่งเสียงว่ากิกิอยู่ได้ การคบหากับ
คนชั่วไม่ประเสริฐเลย.
[198] ท่านได้ยินหรือได้เห็นมาบ้างหรือว่า ลิง
ตัวไหนชื่อว่าเป็นสัตว์มีศีล เราจะถ่ายอุจจาระ
รดศีรษะท่านเดี๋ยวนี้แล้วจึงจะไป นี่เป็นธรรมดา
ของพวกเรา.

จบ ทุพภิยมักกฏชาดกที่ 4

อรรถกถาทุพภิยมักกฏชาดกที่ 4



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันทรงปรารภ
พระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อทมฺมิ เต วาริ
พหุตฺตรูปํ
ดังนี้.
ความพิสดารมีอยู่ว่า วันหนึ่งภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากัน
ในโรงธรรมถึงความอกตัญญู ความประทุษร้ายมิตรของพระ-
เทวทัต. พระศาสดารับสั่งว่า เทวทัตเป็นผู้อกัตญญูประทุษร้าย