เมนู

7. สมิทธิชาดก



ว่าด้วยการไม่รู้เวลาตาย


[183] ดูก่อนภิกษุ ท่านยังไม่ทันได้บริโภคกาม
เลย มาเที่ยวภิกษาเสีย ท่านจะบริโภคกามเสีย
ก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาไม่ดีหรือ ดูก่อนภิกษุ
ท่านจงบริโภคกามเสียก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษา
เถิด เวลาบริโภคกามอย่าล่วงเลยท่านไปเสียเลย.
[184] เรารู้เวลาตายไม่ได้โดยแท้ เวลาตายยัง
ปกปิดอยู่ หาปรากฏไม่ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่
บริโภคกามแล้วเที่ยวภิกษาเวลากระทำสมณ-
ธรรมอย่าล่วงเลยเราไปเสีย.

จบ สมิทธิชาดกที่ 7

อรรถกถาสมิทธิชาดกที่ 7



พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับ
อยู่ ณ พระวิหารตโปทาราม ทรงปรารภพระเถระชื่อสมิทธิ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อภุตฺวา ภิกฺขสิ ภิกขุ ดังนี้.
ความพิสดารว่า วันหนึ่งท่านสมิทธิเถระตั้งความเพียร
ตลอดคืนยังรุ่ง พอรุ่งสว่างก็ไปอาบน้ำ ผึ่งกายอันมีสีดุจทองคำ
ให้แห้ง แล้วนุ่งผ้ามือหนึ่งถือผ้าห่มยืนอยู่. พระเถระมีชื่อว่า

สมิทธิ เพราะมีอัตภาพสมบูรณ์คล้ายรูปทอง อันนายช่างหล่อ
หลอมไว้อย่างงดงาม. ครั้งนั้นเทพธิดานางหนึ่งเห็นส่วนแห่งความ
งามในร่างกายของพระเถระก็มีจิตปฏิพัทธ์ พูดกับพระเถระ
อย่างนี้ว่า ท่านภิกษุ ท่านยังเด็กเยาว์วัย หนุ่มแน่นมีผมดำ
ประกอบด้วยความหนุ่ม ทั้งยังเจริญ มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส
ท่านเป็นเช่นนี้ไม่บริโภคกาม ประโยชน์อะไรด้วยการบรรพชา
จงบริโภคกามเสียก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยบวชบำเพ็ญสมณธรรม.
ครั้นแล้วพระเถระกล่าวกะเทพธิดาว่า แน่ะเทพธิดา เราไม่รู้
ความตายของเราว่า เราจักตายเมื่ออยู่ในวันโน้น เรากำหนด
เวลาไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจักบำเพ็ญสมณธรรม ในตอนยัง
เป็นหนุ่มแล้วจักทำที่สุดทุกข์. เทพธิดาครั้นไม่ได้การต้อนรับ
จากพระเถระก็หายไป ณ ที่นั่นเอง. พระเถระเข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดา แล้วกราบทูลเรื่องราวนั้นให้ทรงทราบ. พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนสมิทธิ ก็เทพธิดาเล้าโลมเธอมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น
แม้แต่ก่อนเทพธิดาทั้งหลาย ก็เล้าโลมนักบวชบัณฑิตเหมือนกัน
เมื่อทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ใน
กาสิกคาม ตำบลหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์
ทุกชนิด แล้วบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด อาศัย
สระแห่งหนึ่งอยู่ใกล้หิมวันตประเทศ. ดาบสนั้นบำเพ็ญเพียร

อยู่ตลอดคืนยังรุ่ง ในเวลาอรุณขึ้นอาบน้าแล้วนุ่งผ้าเปลือกไม้
ผืนหนึ่ง จับผืนหนึ่งไว้ ยืนผึ่งสรีระให้แห้ง. ขณะนั้นเทพธิดา
นางหนึ่งมองดูอัตภาพอันมีรูปโฉมงดงามของพระดาบส มีจิต
ปฏิพัทธ์ จึงเล้าโลมพระโพธิสัตว์กล่าวคาถาแรกว่า :-
ดูก่อนภิกษุ ท่านยังไม่ทันได้บริโภคกาม
เลย มาเที่ยวภิกษาเสีย ท่านจะบริโภคกามเสีย
ก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาไม่ดีหรือ
ดูก่อนภิกษุท่านจงบริโภคกามเสียก่อน
แล้วจึงเที่ยวภิกษาเถิด เวลาบริโภคกามอย่า
ล่วงเลยท่านไปเสีย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภุตฺวา ภิกฺขสิ ภิกฺขุ ความว่า ดูก่อน
ภิกษุ ท่านยังไม่บริโภควัตถุกาม เนื่องด้วยกิเลสกาม ในคราว
เป็นเด็กแล้วเที่ยวขอ. บทว่า น หิ ภุตฺวาน ภิกฺขสิ ความว่า
ท่านควรบริโภคกามคุณห้าแล้วจึงเที่ยวภิกษามิใช่หรือ ท่านยัง
ไม่บริโภคกามเลย เที่ยวขอภิกษาเสียแล้ว. บทว่า ภุตฺวาน ภิกฺขุ
ภิกฺขสฺสุ
ความว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านบริโภคกามเสียแต่ยังเป็น
หนุ่มก่อน ภายหลังเมื่อแก่แล้วจึงขอเถิด. บทว่า มา ตํ กาโล
อุปจฺจคา
ความว่า เวลาบริโภคกามนี้อย่าล่วงเลยท่านในเวลา
หนุ่มเลย.

พระโพธิสัตว์สดับคำของเทพธิดาแล้ว เมื่อจะประกาศ
อัธยาศัยของตน จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-
เรารู้เวลาตายไม่ได้โดยแท้ เวลาตายยัง
ปกปิดอยู่ หาปรากฏไม่ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่
บริโภคกามแล้วเที่ยวภิกษา เวลากระทำสมณ-
ธรรมอย่าล่วงเลยเราไปเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว ในบทว่า กาลํ โวหํ น
ชานามิ
เป็นเพียงนิบาต. เราไม่รู้เวลาตายของตนอย่างนี้ว่า
เราควรตายในปฐมวัย หรือในมัชฌิมวัย หรือในปัจฉิมวัย. ดัง
ที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
บุคคลแม้เป็นอติบัณฑิต ก็ไม่รู้ถึงฐานะ
ห้าอย่างอันไม่มีนิมิตในชีวโลกนี้ คือ ชีวิต 1
พยาธิ 1 เวลา 1 ที่ตาย 1 ที่ไป 1.

บทว่า ฉนฺโน กาโล น ทิสฺสติ ความว่า เพราะเราไม่
เห็นกาล กาลอันปกปิดนี้ คือไม่ปรากฏกาลอันตั้งอยู่อย่างปกปิด
ว่า เราควรตายเมื่อถึงวัยโน้น หรือ ในฤดูหนาวเป็นต้น. บทว่า
ตสฺมา อภุตฺวา ภิกฺขามิ ความว่า เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่บริโภค
กามคุณแล้วขอ. บทว่า มา มํ กาโล อุปจฺจคา ความว่า เวลา
บำเพ็ญสมณธรรมอย่าล่วงเลยเราไป เพราะเหตุนั้น เราจึงบวช
บําเพ็ญสมณธรรมแต่ยังหนุ่ม.

เทพธิดาสดับคําพระโพธิสัตว์แล้วก็หายไป ณ ที่นั้นเอง.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. เทพธิดาในครั้งนั้นได้เป็นเทพธิดานี้ในบัดนี้ เราได้เป็น
ดาบสในสมัยนั้น.
จบ อรรถกถาสมิทธิชาดกที่ 7

8. สกุณัคฆิชาดก



ว่าด้วยเหยี่ยวนกเขา


[185] เหยี่ยวนกเขาบินโผลงด้วยกำลัง หมายใจ
ว่าจะเฉี่ยวเอานกมูลไถ ซึ่งจับอยู่ที่ชายดงเพื่อ
หาเหยื่อ โดยฉับพลัน เพราะเหตุนั้นจึงถึงความ
ตาย.
[186] เรานั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุบาย ยินดีแล้ว
ในโคจรอันเนื่องมาแต่บิดา เห็นอยู่ซึ่งประโยชน์
ของตน จึงหลีกพ้นไปจากศัตรู ย่อมเบิกบานใจ

.
จบ สกุณัคฆิชาดกที่ 8

อรรถกถาสกุณัคฆิชาดกที่ 8



พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภพระสูตรว่าด้วยโอวาทของนก อันเป็นพระอัธยาศัยของ
พระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า เสโน พลสา
ปตมาโน
ดังนี้.
ความพิสดารมีอยู่ว่า วันหนึ่งพระศาสดาตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลาย แล้วตรัสพระสูตรในมหาวรรคสังยุตต์นี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไปในโคจรอันเป็นวิสัยของบิดา
ของตนแล้วตรัสว่า พวกเธอจงยกไว้ก่อนเถิด เมื่อก่อนแม้ดิรัจฉาน