เมนู

2. จูฬชนกชาดก


เป็นคนควรพยายามร่ำไป


[52] "บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ควรมุ่งหมายไปจน
กว่าจะสำเร็จผล ไม่ควรท้อถอย ดูเราขึ้นจากน้ำ
สู่บกได้เป็นตัวอย่างเถิด"

จบ จูฬชนกชาดกที่ 2

อรรถกถาจูฬชนกชาดกที่ 2


พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-
วิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มีความเพียรย่อหย่อนเหมือนกัน ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า "วายเมเถว ปุริโส" ดังนี้.
เรื่องที่จะกล่าวในชาดกนี้นั้นทั้งหมด จักมีแจ้งในมหา-
ชนกชาดก.
ก็พระราชาประทับนั่งภายใต้พระเศวตรฉัตร แล้วตรัส
พระคาถานี้ ความว่า
"บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงพยายามร่ำไป ไม่
พึงเบื่อหน่าย เราประจักษ์ด้วยตนเอง ที่ว่ายน้ำ
ขึ้นบกได้"
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วายเมเถว ความว่า บุรุษผู้เป็น
บัณฑิต ต้องกระทำความพยายามอยู่เรื่อยไป.
บทว่า อุทกา ถลมุพฺภตํ ความว่า เราเห็นประจักษ์ตน
เองว่า พ้นจากน้ำขึ้นสู่บนบกได้ คือตั้งอยู่บนบกได้.
บัดนี้ ภิกษุผู้มีความเพียรย่อหย่อน บรรลุพระอรหัตผล
แล้ว. พระเจ้าชนกราช ได้มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจูฬชนกชาดกที่ 2

3. ปุณณปาติชาดก


การกล่าวถ้อยคำ ที่ไม่จริง


[53] "ไหสุราทั้งหลาย ยังเต็มอยู่ตามเดิม ถ้อย
คำที่ท่านกล่าวนี้ ไม่เป็นจริง เราจึงรู้ด้วยเหตุนี้
ว่า สุรานี้เป็นสุราไม่ดีแน่นอน"

จบ ปุณณปาติชาดกที่ 3

อรรถกถาปุณณปาติชาดกที่ 3


พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-
วิหาร ทรงปรารภเหล้าเจือยาพิษ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า ตเถว ปุณฺณปาติโย ดังนี้.
สมัยหนึ่ง พวกนักเลงสุราในเมืองสาวัตถี ชุมนุมปรึกษา
กันว่า ทุนค่าซื้อสุราของพวกเราหมดแล้ว จักหาที่ไหนได้เล่า ?
ขณะนั้น นักเลงกักขฬะคนหนึ่ง กล่าวว่าอย่าไปคิดถึงเลย อุบาย
ยังมีอยู่อย่างหนึ่ง. พวกนักเลงพากันถามว่า อุบายอย่างไร ?
นักเลงกักขฬะบอกว่า ท่านอนาถบิณฑิกะใส่แหวนหลายวง นุ่งผ้า
เนื้อเกลี้ยง ไปเฝ้าในหลวง พวกเราเอายาเบื่อใส่ในไหสุรา พากัน
นั่งเตรียมการดื่ม เวลาท่านอนาถบิณฑิกะมา ก็เชิญท่านว่า เชิญ