เมนู

6. สุวรรณหังสชาดก


โลภมากลาภหาย


[136] "บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น
เพราะความโลภเกินประมาณ ชั่วแท้ นาง-
พราหมณี จับพระยาหงส์เสียแล้ว จึงเสื่อมจาก
ทอง"
ดังนี้.
จบ สุวรรณหังสชาดกที่ 6

อรรถกถาสุวรรณหังสชาดกที่ 6


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุณี ชื่อ ถูลนันทา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฐพฺพํ ดังนี้.
ความพิสดารว่า อุบาสกคนหนึ่งในพระนครสาวัตถี
ปวารณากระเทียมกับภิกษณีสงฆ์ไว้ และสั่งเสียคนเฝ้าไร่ไว้ด้วยว่า
ถ้าภิกษุณีทั้งหลายพากันมาเอา จงให้ไปรูปละ 2-3 ห่อ. จำเดิม
แต่นั้นภิกษุณีทั้งหลายต้องการกระเทียม ก็พากันไปที่บ้านของ
เขาบ้าง ที่ไร่ของเขาบ้าง ครั้นถึงวันมหรสพวันหนึ่ง กระเทียม
ในเรือนของเขาหมด ภิกษุณีถูลนันทาพร้อมด้วยบริวาร พากัน
ไปที่เรือนแล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ ฉันต้องการกระเทียม คนรักษา

กล่าวว่า กระเทียมไม่มีเลยพระแม่เจ้า กระเทียมที่เก็บตุนไว้
หมดเสียแล้ว นิมนต์ไปที่ไร่เถิดขอรับ จึงพากันไปที่ไร่ ขน
กระเทียมไปอย่างไม่รู้ประมาณ คนเฝ้าไร่จึงกล่าวโทษว่า เป็น
อย่างไรนะ พวกภิกษุณีจึงขนกระเทียมไป อย่างไม่รู้จักประมาณ
ฟังคำของเขาแล้ว พวกภิกษุณีที่มีความปรารถนาน้อย พากัน
ยกโทษ พวกภิกษุเล่า ครั้นได้ยินจากภิกษุณีเหล่านั้น ก็พากัน
ยกโทษ ครั้นแล้วก็กราบทูลความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตำหนิภิกษุณีถูลนันทา แล้วทรง
แสดงธรรมที่เหมาะกับเรื่องนั้นแก่นางภิกษุณีทั้งหลาย โดยนัย
มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า บุคคลผู้มีความปรารถนา
ใหญ่ มิได้เป็นที่รัก เจริญใจ แม้แก่มารดาบังเกิดเกล้า ไม่อาจจะ
ยังผู้ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ไม่อาจจะยังผู้ที่เลื่อมใสแล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้น ไม่อาจยังลาภที่ยังไม่เกิดให้บังเกิด หรือลาภที่เกิดแล้ว
ก็ไม่อาจกระทำให้ยั่งยืนได้ ตรงกันข้าม ผู้ที่มีความปรารถนา
น้อย ย่อมอาจยังลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิด ที่เกิดแล้วก็ทำให้ยั่งยืน
ได้ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น
ที่ภิกษุณีถูลนันทา มีความปรารถนาใหญ่ แม้ในครั้งก่อนก็เคย
มีความปรารถนาใหญ่เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต
มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์สกุล

หนึ่ง เมื่อเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาได้ตบแต่งให้มีภรรยา มี
ชาติเชื้อพอสมควรกัน ได้มีธิดา 3 คน ชื่อ นันทา นันทวดี และ
สุนันทา ครั้นธิดาเหล่านั้นได้สามีไปแล้วทุกคน พระโพธิสัตว์
ก็ทำกาละไปเกิดในกำเนิดหงส์ทอง และมีญาณระลึกชาติได้
อีกด้วย หงส์ทองนั้นเติบใหญ่แล้ว เห็นอัตภาพ อันเติบโตสมบูรณ์
งดงามเต็มไปด้วยขนที่เป็นทอง ก็นึกว่า เราจุติจากไหนหนอ
จึงมาบังเกิดในที่นี้ ทราบว่า จากมนุษยโลก พิจารณาอีกว่า
พราหมณีและเหล่าธิดาของเรา ยังมีชีวิตอยู่หรืออย่างไร ก็ได้
ทราบว่า ต้องพากันไปรับจ้างคนอื่น เลี้ยงชีพด้วยความแร้นแค้น
จึงคิดว่า ขนทั้งหลายในสรีระของเราเป็นทองทั้งนั้น ทนต่อการตี
การเคาะ เราจักให้ขนจากสรีระนี้ แก่นางเหล่านั้น ครั้งละหนึ่งขน
ด้วยเหตุนั้น ภรรยา และธิดาทั้ง 3 ของเรา จักพากันอยู่อย่าง
สุขสบาย พระยาหงส์ทองจึงบินไป ณ ที่นั้น เกาะที่ท้ายกระเดื่อง
พราหมณีและธิดาเห็นพระโพธิสัตว์แล้ว ก็พากันถามว่า พ่อคุณ
มาจากไหนเล่า ? หงส์ทองตอบว่า เราเป็นบิดาของพวกเจ้า
ตายไปเกิดเป็นหงส์ทอง มาเพื่อจะพบพวกเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ไป
พวกเจ้าไม่ต้องไปรับจ้างคนอื่นเขาเลี้ยงชีวิตอย่างลำบากอีกละ
เราจักให้ขนแก่พวกเจ้าครั้งละหนึ่งขน จงเอาไปขายเลี้ยงชีวิต
ตามสบายเถิด แล้วก็สลัดขนไว้ให้เส้นหนึ่งบินไป หงส์ทอง
นั้นมาเป็นระยะ ๆ สลัดขนให้ครั้งละหนึ่งขน โดยทำนอง
พราหมณีและลูก ๆ ค่อยมั่งคั่งขึ้น มีความสุขไปตาม ๆ กัน

อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณีปรึกษากับลูก ๆ ว่า แม่หนูทั้งหลาย
ขึ้นชื่อว่าดิรัจฉานรู้ใจได้ยาก ในบางครั้งบิดาของเจ้าไม่มา
ที่นี่ พวกเราจักทำอย่างไรกัน คราวนี้เวลาเขามา พวกเราช่วย
กันจับถอนขนเสียให้หมดเถิดนะ พวกลูกสาวพากันพูดว่า ทำ
อย่างนั้นบิดาของพวกเรา จักลำบาก ต่างก็ไม่เห็นด้วย แต่นาง-
พราหมณีเพราะมีความปรารถนาใหญ่ ครั้นวันหนึ่งเวลาพระยา-
หงส์ทองมา ก็พูดว่า มานี่ก่อนเถิดนายจ๋า พอพระยาหงส์ทองนั้น
เข้าไปใกล้ ก็จับไว้ด้วยมือทั้งสอง ถอนขนเสียหมด แต่เพราะ
จับถอนเอาด้วยพลการ พระโพธิสัตว์มิได้ให้โดยสมัครใจ ขน
เหล่านั้นจึงเป็นเหมือนขนนกยางไปหมด พระโพธิสัตว์ไม่สามารถ
จะกางปีกบินไปได้ นางพราหมณีจึงจับเอาพระยาหงส์ทองใส่ตุ่มใหญ่
เลี้ยงไว้ ขนที่งอกขึ้นใหม่ของพระยาหงส์นั้น กลายเป็นขาวไปหมด
พระยาหงส์นั้น ครั้นขนขึ้นเต็มที่แล้ว ก็โดดขึ้นบินไปที่อยู่ของตน
ทันที แล้วก็ไม่ได้มาอีกเลย.
พระศาสดาทรงนำเอาเรื่องในอดีตนี้มาสาธก แล้วตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ถูลนันทามีความปรารถนา
ใหญ่ แม้ในครั้งก่อนก็มีความปรารถนาใหญ่เหมือนกัน และ
เพราะมีความปรารถนาใหญ่ จึงต้องเสื่อมจากทอง บัดนี้เล่า
เพราะเหตุที่ตนมีความปรารถนาใหญ่นั่นแหละ จักต้องเสื่อม
แม้แต่กระเทียม เพราะฉะนั้นตั้งแต่บัดนี้ จักไม่ได้เพื่อจะฉัน
กระเทียม แม้นางภิกษุณีที่เหลือทั้งหลาย ผู้อาศัยถูลนันทานั้น

ก็จักไม่ได้เพื่อฉันกระเทียม เหมือนอย่างถูลนันทาเช่นกัน เหตุนั้น
แม้จะได้มาก ก็จักต้องรู้จักประมาณทีเดียว แต่ได้น้อย ก็ต้อง
พอใจตามที่ได้เท่านั้น ไม่ควรปรารถนาให้ยิ่งขึ้นไป แล้วตรัส
คาถานี้ความว่า
" บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น
เพราะความโลภเกินประมาณ ชั่วนัก นาง-
พราหมณี จับพระยาหงส์เสียแล้ว จึงเสื่อมจาก
ทอง"
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุฏฺฐพฺพํ แปลว่า พึงยินดี.
ก็พระศาสดา ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้ แล้วทรงติเตียน
โดยอเนกปริยาย แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ก็นางภิกษุณี
รูปใดฉันกระเทียม, ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้แล้วประชุมชาดก
ว่า นางพราหมณีในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุณีถูลนันทา, ธิดา
ทั้งสามได้มาเป็นพี่น้องหญิงในบัดนี้, ส่วนพระยาสุวรรณหงส์
ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุวรรณหงสชาดกที่ 6

7. พัพพุชาดก


วิธีแก้เผ็ดทำให้แมวตาย


[137] แมวตัวที่หนึ่งได้หนูหรือเนื้อในที่ใด แมว
ตัวที่สอง ที่สาม และที่สี่ ก็เกิดขึ้นในที่นั้น แมว
เหล่านั้นทั้งหมด ได้พากันเอาอกฟาดแก้วผลึก
นี้ แล้วถึงความสิ้นชีวิต.

จบ พัพพุชาดกที่ 7

อรรถกถาพัพพุชาดกที่ 7


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภสิกขาบทที่ทรงบัญญัติด้วยมีกาณมารดาเป็นเหตุ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยตฺเตโก ลภเต พพฺพุ
ดังนี้.
ความพิสดารว่า อุบาสิกาในพระนครสาวัตถี ปรากฏนาม
ตามธิดาว่า กาณมาตา ได้เป็นอริยสาวิกา ผู้โสดาบัน นางได้ยก
ลูกสาวชื่อ กาณา ให้แก่ชายผู้มีชาติ คู่ควรกันในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง
นางกาณาย้อนกลับมาเรือนของมารดาด้วยกรณียกิจบางอย่าง
ต่อมา สามีของนางกาณาส่งทูตไปว่า นางกาณาจงกลับมา เรา
ต้องการให้นางกาณากลับ นางกาณาฟังคำของทูลแล้ว บอกลา