เมนู

3. ฆตาสนชาดก


ว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง


[133] " ความเกษมมีอยู่บนหลังน้ำใด บนหลังน้ำ
นั้น มีข้าศึกมารบกวน ไฟลุกโพลงอยู่กลางน้ำ
วันนี้จะอยู่บนต้นไม้เหนือแผ่นดินไม่ได้แล้ว
พวกเจ้าจงพากันบินไปตามทิศทางกันเถิด วันนี้
ที่พึ่งของพวกเราเป็นภัยเสียแล้ว.

จบ ฆตาสนชาดกที่ 1

อรรถกถาฆตาสนชาดกที่ 3


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเขตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทคนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า เขมํ ยหึ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ภิกษุนั้นเรียนพระกรรมฐานจากสำนัก
ของพระศาสดา แล้วไปสู่บ้านชายแดนตำบลหนึ่ง อาศัยหมู่บ้าน
หมู่หนึ่งจำพรรษาในเสนาสนะป่า ในเดือนแรกนั้นเองเมื่อเธอ
เข้าไปบิณฑบาต บรรณศาลาถูกไฟไหม้ เธอลำบากด้วยไม่มี
ที่อยู่ จึงบอกพวกอุปัฏฐาก คนเหล่านั้น พากันพูดว่า ไม่เป็นไรดอก
พระคุณเจ้า พวกกระผมจักสร้างบรรณศาลาถวาย รอให้พวก

กระผมไถนาเสียก่อน หว่านข้าวเสียก่อนเถิดขอรับ จนเวลา
3 เดือนผ่านไป เธอไม่อาจบำเพ็ญพระกรรมฐานให้ถึงที่สุดได้
เพราะไม่มีเสนาสนะเป็นที่สบาย แม้เพียงนิมิตก็ให้เกิดขึ้นไม่ได้
พอออกพรรษาเธอจึงไปสู่พระเชตวันวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา
แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเธอ
แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ กรรมฐานของเธอเป็นสัปปายะ
หรือไม่เล่า ? เธอจึงกราบทูลความไม่สะดวกจำเดิมแต่ต้น
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อนโน้น แม้สัตว์ดิรัจฉาน
ทั้งหลาย ก็ยังรู้จักสัปปายะ และอสัปปายะของตน พากันอยู่อาศัย
ในเวลาสบาย ในเวลาไม่สบายก็พากันทิ้งที่อยู่เสียไปในที่อื่น
เหตุไรเธอจึงไม่รู้สัปปายะ และอสัปปายะของตนเล่า เธอกราบทูล
อาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนก บรรลุความ
เป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ถึงความงามเป็นเลิศ ได้เป็นพระยานก อาศัย
ต้นไม้ใหญ่ สมบูรณ์ด้วยกิ่งก้าน สาขา และค่าคบ มีใบหนาแน่นอยู่
ใกล้ฝั่งสระเกิดเอง ในแนวป่าตำบลหนึ่ง อยู่เป็นหลักฐาน พร้อม
ทั้งบริวาร นกเป็นจำนวนมาก เมื่ออยู่ที่กิ่งอันยื่นไปเหนือน้ำ
ของต้นไม้นั้น ก็พากันถ่ายคูถลงในน้ำ และในชาตสระนั่นเล่า
ก็มีนาคราช ผู้ดุร้ายอาศัยอยู่ นาคราชนั้นมีวิตกว่า นกเหล่านี้
พากันขี้ลงในสระอันเกิดเอง อันเป็นที่อยู่ของเรา เห็นจะต้องให้

ไฟลุกขึ้นจากน้ำเผาต้นไม้เสีย ให้พวกมันหนีไป พญานาคนั้น
มีใจโกรธ ตอนกลางคืน เวลาที่พวกนกทั้งหมดมาประชุมกัน
นอนที่กิ่งไม้ทั้งหลาย ก็เริ่มทำให้น้ำเดือดพล่าน เหมือนกับยก
เอาสระขึ้นตั้งบนเตาไฟฉะนั้น เป็นชั้นแรก ชั้นที่สองก็ทำให้ควัน
พุ่งขึ้น ชั้นที่สามทำให้เปลวไฟลุกขึ้นสูงชั่วลำตาล พระโพธิสัตว์
เห็นไฟลุกขึ้นจากน้ำ ก็กล่าวว่า ดูก่อนชาวเราฝูงนกทั้งหลาย
ธรรมดาไฟติดขึ้นเขาก็พากันเอาน้ำดับ แต่บัดนี้ น้ำนั่นแหละ
กลับลุกเป็นไฟขึ้น พวกเราไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ ต้องพากันไป
ที่อื่น แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
"ความเกษมมีอยู่บนหลังน้ำใด บนหลังน้ำ
นั้น มีข้าศึกมารบกวน ไฟลุกโพลงอยู่กลางน้ำ
วันนี้จะอยู่บนต้นไม้ เหนือแผ่นดินไม่ได้แล้ว
พวกเจ้าจงพากันบินไปตามทิศทางกันเถิด วันนี้
ที่พึ่งของพวกเราเป็นภัยเสียแล้ว"
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขมํ ยหึ ตตฺถ อรี อุทีริโต
ความว่า ความเกษมคือความปลอดภัย มีอยู่เหนือน้ำใด บนเหนือน้ำ
นั้น มีข้าศึกศัตรูประชิดแล้ว.
บทว่า ทกสฺส เท่ากับ อุทกสฺส แปลว่า แห่งน้ำ.
ไฟ ชื่อว่า ฆตาสนะ อธิบายว่า ไฟนั้นย่อมคนเปรียง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ฆตาสนะ.

บทว่า น อชฺช วาโส ความว่า วันนี้ที่อยู่ของพวกเรา
ไม่มีแล้ว.
ในบทว่า มหิยา มหีรุโห นี้ ต้นไม้ท่านเรียกว่า มหีรุกฺโข
บนต้นไม้นั้น อธิบายว่า ได้แก่ต้นไม้ที่เกิดบนแผ่นดินนี้.
บทว่า ทิสา ภชวฺโห ความว่า ท่านทั้งหลายจงคบ คือ
พากันบินไปตามทิศทาง.
บทว่า สรณชฺช โน ภยํ ความว่า วันนี้ ภัยเกิดแต่ที่พึ่ง
ของพวกเราแล้ว คือ ที่พำนักของพวกเรา เกิดเป็นภัยขึ้นแล้ว.
พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็พาฝูงนกที่เชื่อฟังคำ
บินไปในที่อื่น ฝูงนกที่ไม่เชื่อฟังคำของพระโพธิสัตว์ ต่างพากัน
เกาะอยู่ ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัส
ประกาศสัจจะ ในเวลาจบสัจจะภิกษุนั้นดำรงอยู่ในพระอรหัตผล
แล้วทรงประชุมชาดกว่า ฝูงนกที่กระทำตามคำของพระโพธิสัตว์
ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระยาหก ได้มาเป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาฆตาสนชาดกที่ 3

4. ฌานโสธนชาดก


ว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ


[134] สัตว์เหล่าใด เป็นผู้มีสัญญา แม้สัตว์
เหล่านั้น ก็ชื่อว่า เป็นทุคตะ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้
ไม่มีสัญญา ถึงสัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นทุคตะ
ท่านจงละเว้นความเป็นสัญญีสัตว์ และอสัญญี
สัตว์ทั้งสองนี้เสีย สุขอันเกิดจากสมาบัตินั้น
เป็นสุขที่ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน.

จบ ฌานโสธนชาดกที่ 4

อรรถกถาฌานโสธนชาดกที่ 4


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการที่พระธรรมเสนาบดีพยากรณ์ปัญหาที่พระองค์
ตรัสถาม โดยย่อได้อย่างพิสดาร ณ ประตูสังกัสนคร ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เย สญฺญิโน ดังนี้.
ต่อไปนี้เป็นเรื่องอดีต ในการพยากรณ์ปัญหานั้น.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราช-
สมบัติ อยู่ใน พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์กำลังจะมรณภาพ
ที่ชายป่า ถูกพวกอันเตวาสิกถาม ก็กล่าวว่า เนวสัญญีนาสัญญี