เมนู

2. ปัญจภีรุกชาดก


ว่าด้วยความสวัสดี


[132 ] " เราไม่ตกอยู่ในอำนาจของพวกรากษส
เพราะความเพียรมั่นคง ดำรงอยู่ในคำแนะนำ
ของท่านผู้ฉลาด และความไม่หวาดหวั่นต่อภัย
และความสยดสยอง สวัสดิภาพจากภัย อัน
ใหญ่หลวงจึงมีแก่เรา"

จบ ปัญจภีรุกชาดกที่ 2

อรรถกถาปัญจภีรุกชาดกที่ 2


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพระสูตร ว่าด้วยการประเล้าประโลมของมารธิดา
ณ อชปาลนิโครธ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กุสลูปเทเส ธิติยา ทฬฺหาย จ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
พระสูตรนั้น ตั้งแต่ต้นจนจบบริบูรณ์อย่างนี้ว่า :-
นางตัณหา นางอรดี และนางราคา ล้วน
เพริศพริ้งแพรวพราว พากันมา พระศาสดาทรง
กำจัดนางเหล่านั้นไปเสีย เหมือนลมพัดปุยนุ่น

ให้หล่นกระจายไปฉะนั้น.
พวกภิกษุประชุมกันในโรงธรรม ตั้งเรื่องสนทนากันว่า ผู้มี
อายุทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงลืมพระเนตร
แลดูพวกมารธิดา อันจำแลงรูปทิพย์หลายร้อยอย่าง แล้วเข้าไปหา
เพื่อจะเล้าโลม โอ ขึ้นชื่อว่า กำลังของพระพุทธเจ้า น่าอัศจรรย์
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันการ
ที่ไม่แลดูพวกมารธิดาของเรา ผู้ทำให้อาสวะหมดสิ้นไปแล้ว
บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูแล้ว ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย
แท้จริงในกาลก่อน เรากำลังแสวงหาพระโพธิญาณ มิได้ทำลาย
อินทรีย์ทั้งหลายเสีย แลดูแม้ซึ่งรูปทิพย์ ที่พวกนางยักษิณีพากัน
เนรมิตไว้ ด้วยอำนาจกิเลส ทั้งที่เรายังมีกิเลส ดำเนินไปจน
บรรลุถึงความเป็นมหาราชได้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นน้อง
องค์เล็กที่สุด ของพระพี่ยาเธอตั้ง 100 องค์ เรื่องราวทั้งหมด
บัณฑิตพึงให้พิสดาร โดยนัยดังกล่าวแล้วในตักกสิลาชาดก
ในหนหลังนั้นแล (แปลก) แต่ว่า ในครั้งนั้น เมื่อชาวเมืองตักกสิลา
เข้าไปอัญเชิญพระโพธิสัตว์ ณ ศาลาภายนอกพระนคร มอบถวาย

ราชสมบัติ กระทำการอภิเศกแล้ว ชาวตักกสิลานคร พากัน
ตกแต่งพระนครเหมือนเมืองสวรรค์ ตกแต่งพระราชนิเวศน์
เหมือนวิมานอินทร์. ปางเมื่อพระโพธิสัตว์ เสด็จเข้าพระนครแล้ว
เสด็จขึ้นสู่บัลลังก์รัตน์ ภายใต้เศวตรฉัตรในท้องพระโรงหลวง
ในประสาทอันเป็นพระราชสถาน ประทับนั่งด้วยลีลาประหนึ่ง
ท้าวเทวราช เหล่าอำมาตย์ พราหมณ์ คฤหบดี และขัตติยกุมาร
ต่างแต่งองค์ทรงเครื่องพร้อม แวดล้อมโดยขนัด นางบำเรอ
ประมาณ หมื่นหกพันนาง ล้วนแน่งน้อย เปรียบประดุจเทพอัปสร
ทุกนางต่างฉลาดในการฟ้อนรำ ขับร้อง และบรรเลง พระราชวัง
ก็ครื้นเครงทั่วกัน ด้วยเสียงขับร้องและบรรเลงเพลงประสาน
ปานประหนึ่งท้องมหาสมุทร ที่กำลังคะนองคลื่นเบื้องหน้า
แต่เมฆฝนตกกระหน่ำแล้ว พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรดูศิริ-
เสาวภาค อันบรรลุแก่พระองค์นั้น ทรงดำริว่า ถ้าเราจักพะวง
แลดูรูปทิพย์ที่นางยักษิณีเหล่านั้นจำแลงเสียแล้วละก็ คงสิ้น
ชีวิตไปแล้ว คงไม่ได้ดูศิริเสาวภาคนี้ แต่เพราะเราตั้งอยู่ใน
โอวาท ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ศิริโสภาคนี้ จึงบรรลุ
แก่เรา ครั้นทรงดำริฉะนี้แล้ว เมื่อจะทรงเปล่งพระอุทาน ได้
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" เราไม่ตกอยู่ในอำนาจของพวกรากษส
เพราะความเพียรมั่นคง ดำรงอยู่ในคำแนะนำ
ของผู้ฉลาด และความไม่หวาดหวั่นต่อภัย และ

ความสยดสยอง สวัสดิภาพจากภัยอันใหญ่หลวง
จึงมีแก่เรา"
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสลูปเทเส ความว่า ในคำชี้แจง
ของท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย อธิบายว่า ในโอวาทของพระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลาย.
บทว่า ธิติยา ทฬฺหาย จ ความว่า เพราะความเพียรอัน
เด็ดเดี่ยวมั่นคง และเพราะความเพียรอันเฉียบขาดแน่นอน.
บทว่า อวตฺถิตตฺตา ภยภีรุตาย จ ความว่า และเพราะ
ความไม่หวาดหวั่นต่อภัยใหญ่ ที่ทำให้กายสะท้าน ในภัยทั้งสอง
อย่างนั้น ภัยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้จิตสะดุ้งชื่อว่า ภัย ภัยใหญ่หลวง
ที่ทำให้ร่างกายสั่นหวั่นไหว ชื่อว่าความสยดสยอง ภัยทั้งสอง
ประการนี้ก็ดี อารมณ์อันน่าสยดสยองว่า ขึ้นชื่อว่ายักษิณีเหล่านี้
มันกินมนุษย์ทั้งนั้น ดังนี้ก็ดี มิได้มีแก่พระมหาสัตว์เลย ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อวตฺถิตตฺตา ภยภีรุตาย จ ความไม่มี
ความหวาดหวั่นต่อภัย และความสยดสยอง อธิบายว่า เพราะ
ไม่มีความหวาดหวั่นสยดสยองเสียเลย คือถึงจะเห็นอารมณ์ที่น่า
สยดสยอง ก็ไม่ยอมท้อถอย.
บทว่า น รกฺขสีนํ วสมาคมิมฺห เส ความว่า ไม่ต้องมาสู่
อำนาจแห่งนางรากษสเหล่านั้น ในทางอันกันดารด้วยยักษ์
ท่านกล่าวอธิบายว่า เพราะเหตุที่เรามีความเด็ดเดี่ยวมั่นคงใน
คำชี้แจงของท่านผู้ฉลาด และเรามีการไม่ย่นย่อท้อถอยเป็นสภาพ

เพราะไม่มีความกลัวและความหวาดสดุ้ง ฉะนั้น เราจึงไม่มาสู่
อำนาจของพวกรากษส ดังนี้ สวัสดิภาพ คือความเกษมจากภัย
อันใหญ่หลวง คือจากทุกข์โทมนัสที่เราต้องประสบ ในสำนัก
ของพวกนางรากษส ของเรานั้น ก็คือความปีติโสมนัสอย่างเดียว
นี้ เกิดแล้วแก่เราในวันนี้.
พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมด้วยคาถานี้ ด้วยประการ
ฉะนี้ ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม บำเพ็ญบุญมีให้ทานเป็นต้น
เสด็จไปตามยถากรรม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า เราตถาคต ได้เป็นราชกุมาร ผู้ไปปกครองราชสมบัติ
ในพระนครตักกสิลา ในครั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาภีรุกชาดกที่ 2

3. ฆตาสนชาดก


ว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง


[133] " ความเกษมมีอยู่บนหลังน้ำใด บนหลังน้ำ
นั้น มีข้าศึกมารบกวน ไฟลุกโพลงอยู่กลางน้ำ
วันนี้จะอยู่บนต้นไม้เหนือแผ่นดินไม่ได้แล้ว
พวกเจ้าจงพากันบินไปตามทิศทางกันเถิด วันนี้
ที่พึ่งของพวกเราเป็นภัยเสียแล้ว.

จบ ฆตาสนชาดกที่ 1

อรรถกถาฆตาสนชาดกที่ 3


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเขตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทคนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า เขมํ ยหึ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ภิกษุนั้นเรียนพระกรรมฐานจากสำนัก
ของพระศาสดา แล้วไปสู่บ้านชายแดนตำบลหนึ่ง อาศัยหมู่บ้าน
หมู่หนึ่งจำพรรษาในเสนาสนะป่า ในเดือนแรกนั้นเองเมื่อเธอ
เข้าไปบิณฑบาต บรรณศาลาถูกไฟไหม้ เธอลำบากด้วยไม่มี
ที่อยู่ จึงบอกพวกอุปัฏฐาก คนเหล่านั้น พากันพูดว่า ไม่เป็นไรดอก
พระคุณเจ้า พวกกระผมจักสร้างบรรณศาลาถวาย รอให้พวก