เมนู

10. โกสิยชาดก


ว่าด้วยคำพูดกับการกระทำไม่สมกัน


[130] "ดูก่อนนางผู้โกสิยะ เจ้าจงกินยาให้สม
กับที่อ้างว่าป่วย หรือจงทำการงานให้สมกับ
อาหารที่บริโภคเพราะถ้อยคำ กับการกินของเจ้า
ทั้งสองอย่างไม่สมกันเลย"

จบ โกสิยชาดกที่ 10

อรรถกถาโกสิยชาดกที่ 10


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภมาตุคามในพระนครสาวัตถี นางหนึ่ง ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยถา วาจาว ภุญฺชสฺสุ ดังนี้.
ได้ยินว่า นางเป็นพราหมณีของพราหมณ์อุบาสก ผู้มี
ศรัทธาปสาทะผู้หนึ่ง เป็นหญิงประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หยาบช้า
ลามก กลางคืนก็ประพฤตินอกใจ กลางวันก็ไม่ทำงานอะไร
แสดงท่าทางอย่างคนไข้ นอนทอดถอนใจอยู่ไปมา ครั้งนั้น
พราหมณ์ถามนางว่า แม่มหาจำเริญ เธอไม่สบาย เป็นอะไรไป
หรือ ? นางตอบว่า ลมมันเสียดแทงดิฉัน พราหมณ์ถามว่า
ถ้าอย่างนั้นได้อะไรถึงจะเหมาะเล่า ? นางตอบว่า ต้องได้รับ
ยาคูภัตรและน้ำมันเป็นต้น ที่ประณีต ๆ พราหมณ์ก็ไปหาสิ่ง

ที่นางต้องการนั้น ๆ มาให้ กระทำกิจทุกอย่างเหมือนเป็นทาส
ฝ่ายนางพราหมณี เวลาพราหมณ์เข้าเรือน ก็นอน เวลาพราหมณ์
ออกไป ก็หยอกล้อกับชายชู้ ฝ่ายพราหมณ์ดำริว่า กองลมที่
เสียดแทงสรีระภรรยาของเรานี้ ดูท่าจะไม่มีที่สิ้นสุด วันหนึ่ง
จึงถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่พระเชตวันวิหาร บูชา
พระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อมีพระ-
ดำรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุไร ท่านจึงมิค่อยได้มา ?
พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่ากองลม
เสียดแทงสรีระนางพราหมณีของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ต้อง
เสวงหาเนยใส น้ำมันเป็นต้น และโภชนะที่ประณีต ๆ ให้นาง
ร่างกายของนางก็ดูอ้วนท้วน ผ่องใส มีผิวพรรณดี แต่โรคลม
ดูไม่มีท่าจะสิ้นสุดได้เลย ข้าพระองค์ต้องปรนนิบัตินางอยู่เรื่อย ๆ
จึงไม่ได้โอกาสมาวิหารนี้ พระเจ้าข้า พระศาสดาทรงทราบ
ความเลวของนางพราหมณีแล้วจึงตรัสว่า พราหมณ์ เมื่อมาตุคาม
นอนเสียอย่างนี้ โรคก็ไม่สงบ ต้องปรุงยาอย่างนี้แล อย่างนี้ให้
จึงจะสมควร แม้ในครั้งก่อนบัณฑิตก็เคยบอกท่านแล้ว แต่ท่าน
กำหนดจดจำไม่ได้เอง เพราะมีเหตุที่ภพมากำบังไว้เสีย พราหมณ์
กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ บังเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล
เรียนศิลปะทุกประการในเมืองตักกสิลา แล้วได้เป็นอาจารย์

ทิศาปาโมกข์ ในพระนครพาราณสี ขัตติยกุมารในราชธานี
ทั้งร้อยเอ็ด และพราหมณกุมาร พากันมาเรียนศิลปะในสำนัก
ของท่านผู้เดียวมากมาย ครั้งนั้นมีพราหมณ์ชาวชนบทผู้หนึ่ง
เรียนไตรเพทและวิทยฐานะ 18 ประการ ในสำนักของพระ-
โพธิสัตว์แล้ว ตั้งหลักฐานอยู่ในพระนครพาราณสีนั่นเอง มาที่
สำนักของพระโพธิสัตว์วันละสอง-สามครั้งทุกวัน นางพราหมณี
ของเขา เป็นหญิงประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หยาบช้า ลามก
เรื่องทั้งปวงตั้งแต่นี้ไป ก็เช่นเดียวกับเรื่องปัจจุบันนั่นแล ฝ่าย
พระโพธิสัตว์ เมื่อพราหมณ์นั้นบอกว่า ด้วยเหตุนี้ กระผมจึง
ไม่มีโอกาส เพื่อจะไปรับโอวาท ดังนี้ ก็ทราบว่า นางมาณวิกา
นั้น นอนหลอกพราหมณ์นี้เสียแล้ว คิดว่า เราต้องบอกยาที่
เหมาะสมให้แก่นาง แล้วกล่าวว่า พ่อคุณ ต่อแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้
ให้เนยใส และน้ำนมสดแก่นางเป็นอันขาด แต่จงโขลกใบไม้
5 อย่าง และผล 3 อย่างเป็นต้น ใส่ในมูตรโค แล้วแช่ไว้ใน
ภาชนะทองแดงใหม่ ๆ ให้กลิ่นโลหะมันจับ แล้วถือเชือก หวาย
หรือไม้เรียว กล่าวว่า ยานี้เหมาะแก่โรคของเจ้า เจ้าจงกินยานี้
หรือไม่เช่นนั้น ก็ลุกขึ้นทำการงานให้สมควรแก่ภัตรที่เจ้าบริโภค
แล้วต้องกล่าวคาถานี้ ถ้านางไม่ยอมดื่มยา ก็ต้องเอาเชือกหรือ
หวาย หรือไม้เรียว หวดนางลงไปอย่างไม่ต้องนับ แล้วจิกผม
กระชากมาถองด้วยศอก นางจักลุกขึ้นทำงานในทันใดนั่นเอง
เขารับคำว่า ดีจริงขอรับ แล้วทำยา ตามข้อที่บอกแล้วนั่นแหละ

กล่าวว่า แม่มหาจำเริญ เชิญดื่มยานี้เถิด นางถามว่า ยานี้ใคร
บอกท่านเล่าเจ้าคะ ? ตอบว่า อาจารย์บอกให้ แม่มหาจำเริญ
นางกล่าวว่า เอามันไปเสียเถิด ฉันไม่ดื่ม มาณพกล่าวว่า เจ้า
จักดื่มตามใจชอบของตนไม่ได้ แล้วคว้าเชือกกล่าวว่า เจ้าจงดื่มยา
ที่เหมาะแก่โรคของตน หรือมิฉะนั้นก็จงทำงานให้สมควรแก่
ภัตรที่บริโภค แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า
"ดูก่อนนางผู้โกสิยะ เจ้าจงกินยาให้สม
กับที่อ้างว่าป่วย หรือจงทำงานให้สมกับอาหาร
ที่บริโภค เพราะถ้อยคำกับการกินของเจ้าทั้งสอง
อย่างไม่สมกันเลย"
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา วาจา จ ภุญฺชสฺสุ ความว่า
เจ้าจงกินให้สมกับวาจาที่ลั่นไว้ อธิบายว่า จงกินให้สมกับคำพูด
ที่เจ้ากล่าวว่า กองลมเสียดแทงดิฉัน ดังนี้ ปาฐะว่า ยถา วาจํ วา วา
ดังนี้ก็ควร บางอาจารย์ก็สวดว่า ยถาวาจาย ดังนี้ก็มี ในทุก ๆบท
ความก็อย่างเดียวกันนี้.
บทว่า ยถาภุตฺตญฺจ พฺยาหร ความว่า จงพูดออกมาให้
สมกับอาหารที่เจ้าบริโภคแล้ว อธิบายว่า จงบอกเถิดว่า ฉันหาย
โรคแล้วละ ดังนี้ แล้วทำการงานที่ต้องทำในเรือน.
ปาฐะว่า ยถาภูตญฺจ ดังนี้ก็มี.
อีกอย่างหนึ่ง มีอธิบายว่า จงพูดตามความจริงว่า ฉัน
ไม่มีโรคดอก ดังนี้ แล้วทำการงานเสียเถิด.

บทว่า อุภยนฺเต น สเมติ วาจา ภุตฺตญฺจ โกลิเย ความว่า
คำพูดของเจ้าที่ว่า กองลมเสียดแทงฉันดังนี้ กับโภชนะอันประณีต
ที่เจ้ากิน แม้ทั้งสองอย่างของเจ้านี้ไม่สมดุลย์กันเลย เพราะเหตุนั้น
จงลุกขึ้นทำงานเสียเถิด.
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ธิดาแห่งโกสิยพราหมณ์
คิดว่า ตั้งแต่เวลาที่อาจารย์ช่วยขวนขวายแล้ว เราไม่อาจลวงเขา
อย่างนี้ต่อไปได้ ต้องลุกขึ้นทำการงาน ดังนี้แล้ว ก็ลุกขึ้น
ประกอบกิจตามหน้าที่ ทั้งยังเป็นหญิงมีศีล งดเว้นจากการทำ
ความชั่ว ด้วยความยำเกรงในอาจารย์ว่า ความที่เราเป็นหญิง
ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อาจารย์รู้หมดแล้ว ต่อแต่นี้ไป เรา
ไม่สามารถจะทำเช่นนี้ได้อีก.
แม้นางพราหมณีนั้น ก็ไม่กล้าทำอนาจารซ้ำอีก ด้วยความ
เคารพในพระศาสดาว่า ได้ยินว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้
เรื่องของเราแล้ว.
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในบัดนี้
ส่วนอาจารย์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโกสิยชาดกที่ 10

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
1. กุสนาฬิชาดก 2. ทุมเมธชาดก 3. นังคลีสชาดก
4. อัมพชาดก 5. กฏาหกชาดก 6. อลิลักขณชาดก 7. กลัณ-
ฑุกชาดก 8. มูสิกชาดก 9. อัคคิกชาดก 10. โกลิยชาดก.
จบ กุสนาฬิวรรคที่ 13

14. อสัมปทานวรรค


1. อสัมปทานชาดก


การไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว


[131] " ไมตรีของผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นคนพาล
ย่อมเป็นโทษ ก่อให้เกิดการแตกร้าวกัน เพราะ
ไม่รับของไว้ เพราะฉะนั้น เราจึงรับเอาข้าวลีบ
กึ่งมานะ ไว้ด้วยมาคิดว่า ไมตรีของเราอย่าได้
แตกร้าวเสียเลย ขอให้ไมตรีของเรานี้ ดำรงยั่งยืน
ต่อไปเถิด."

จบ อสัมปทานชาดกที่ 1

อรรถกถาอสัมปทานวรรคที่ 14


อรรถกถาอสัมปทานชาดกที่ 1


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อสมฺปทาเนนิตรีตรสฺส ดังนี้.
ความย่อว่า ในครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ยกเรื่องขึ้นสนทนากัน
ในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตเป็นคนอกตัญญู