เมนู

6. ทุพพจชาดก


ได้รับโทษเพราะทำเกินขีดความสามารถ


[116] ท่านอาจารย์ ท่านทำการเกินกว่าที่จะ
ทำได้ เรื่องนี้ไม่ถูกใจกระผมเลย ท่านโดดพ้น
หอกเล่มที่ 4 แล้วถูกหอกเล่มที่ 5 เสียบเข้าแล้ว.

จบ ทุพพจชาดกที่ 6

อรรถกถาทุพพจชาดกที่ 6


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า อติกรมกราจริย ดังนี้.
เรื่องของภิกษุนั้น จักแจ่มแจ้งในคิชฌชาดก นวกนิบาต.
(แต่ในชาดกนี้) พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เธอเป็นผู้ว่ายาก แม้ในกาลก่อน
ก็เป็นผู้ว่ายาก เพราะความที่เป็นผู้ว่ายาก ไม่กระทำตามโอวาท
แห่งบัณฑิต จึงถูกหอกแทงถึงสิ้นชีวิต ดังนี้แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ ถือปฏิสนธิในกำเนิดนักฟ้อน

ทางกระโดด เจริญวัยแล้ว ได้เป็นผู้มีปัญญา ฉลาดในอุบาย
ท่านศึกษาศิลปะในทางกระโดดข้ามหอก ในสำนักแห่งนักโดด
ผู้หนึ่ง เที่ยวแสดงศิลปะไปกับอาจารย์ แต่อาจารย์ของท่านรู้
ศิลปะในการโดดข้ามหอก สี่เล่มเท่านั้น ไม่ได้ถึง 5 เล่ม วันหนึ่ง
อาจารย์แสดงศิลปะในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง เมาเหล้า แล้วพูดว่า
เราจักโดดข้ามหอก 5 เล่ม ปักหอกเรียงรายไว้ ครั้งนั้นพระ-
โพธิสัตว์จึงกล่าวกะอาจารย์ว่า ท่านอาจารย์ครับ ท่านไม่ทราบ
ศิลปะการโดดข้ามหอก 5 เล่ม เอาหอกออกเสียเล่มหนึ่งเถิด
ครับ ถ้าท่านขึ้นโดดจักถูกหอกเล่มที่ 5 แทงตายแน่นอน แต่
เพราะเมาสุรา อาจารย์จึงกล่าวว่า ถึงตัวเจ้าก็หารู้ขีดความ
สามารถของเราไม่ มิได้ยึดถือถ้อยคำของพระโพธิสัตว์ โดยข้าม
ไปได้ 4 เล่ม ถูกเล่มที่ 5 เสียบเหมือนคนเสียบดอกมะทราง
ในไม้กลัดฉะนั้น นอนคร่ำครวญอยู่ ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์กล่าว
กะท่านอาจารย์ว่า ท่านไม่เชื่อคำของบัณฑิต จึงถึงความฉิบหาย
นี้ ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
"ท่านอาจารย์ ท่านกระทำการเกินกว่า
ที่ทำได้ เรื่องนี้ไม่ถูกใจกระผมเลย ท่านโดดพ้น
หอกเล่มที่ 4 แล้ว ถูกหอกเล่มที่ 5 เสียบเข้า
แล้ว" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติกรมกราจริย ความว่า
ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านได้กระทำการที่ล้ำหน้า อธิบายว่า

ได้กระทำการเกินกว่าที่ตนเคยกระทำได้.
ด้วยบทว่า มยฺหมฺเปตํ น รุจฺจติ นี้ พระโพธิสัตว์แสดง
ความว่า การกระทำของท่านนี้ไม่ชอบใจข้าพเจ้าผู้เป็นอันเตวาสิก
ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้บอกท่านไว้ก่อนทีเดียว.
บทว่า จตุตฺเถ ลิงฺฆยิตฺวาน ความว่า ท่านไม่ตกลงบน
ใบหอกเล่มที่ 4 คือถีบตนข้ามได้.
บทว่า ปญฺจมายสิ อาวุโต ความว่า ท่านไม่เชื่อถ้อยคำ
ของบัณฑิต บัดนี้จึงถูกหอกเล่มที่ 5 เสียบไว้แล้ว.
พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ก็นำอาจารย์ออกจาก
หอก กระทำกิจที่ควรทำให้แล้ว พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานนี้
มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า อาจารย์ในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุ
ผู้ว่ายากนี้ ส่วนอันเตวาสิก ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทุพพจชาดกที่ 6

7. ติตติรชาดก


ว่าด้วยตายเพราะปาก


[117] "วาจาที่ดังเกินไป ความเป็นผู้รุนแรง
เกินไป พูดล่วงเวลา ย่อมฆ่าผู้มีปัญญาทรามเสีย
ดุจวาจาฆ่านกกระทา ผู้ขันดังเกินไป ฉะนั้น"

จบ ติตติรชาดก 7

อรรถกถาติตติรชาดกที่ 7


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุชื่อโกกาลิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อจฺจุคฺคตา อติพลตา ดังนี้ เรื่องของโกกาลิกภิกษุนั้น
จักแจ่มแจ้งในตักการิยชาดก เตรสนิบาต.
แต่ในชาดกนี้ พระศาสดาทรงรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายมิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น ที่โกกาลิกะอาศัยวาจาของตน
ต้องพินาศ แม้ในครั้งก่อนก็เคยพินาศมาแล้วเหมือนกัน แล้วทรง
นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์
เจริญวัย เรียนศิลปะทุกอย่างในเมืองตักกสิลา ละกาม