เมนู

8. พาหิยชาดก


เป็นคนควรศึกษาศิลปะ


[108] บุคคลควรศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชน
ทั้งหลายที่พอใจในศิลปะนั้น ก็มีอยู่ แม้แต่หญิง
ที่เกิดในจังหวัดชั้นนอก ก็ยังทำให้พระราชา
ทรงโปรดปรานได้ ด้วยการกระมิดกระเมี้ยน
ของเธอ.

จบ พาหิยชาดกที่ 8

อรรถกถาพาหิยชาดกที่ 8


พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยพระนครเวสาลี ประทับอยู่ ณ
กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ทรงปรารภเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่ง ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ ดังนี้.
ได้ยินว่า เจ้าลิจฉวีองค์นั้น ทรงมีศรัทธาเลื่อมใส นิมนต์
พระภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงยังมหาทานให้เป็นไป
ในวังของพระองค์ แต่เทวีของพระองค์มีอวัยวะทุกส่วนอ้วนพี
ดูคล้ายนิมิตแห่งซากศพที่ขึ้นพอง ไม่สมบูรณ์ด้วยมารยาท
พระศาสดาทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตรกิจแล้วเสด็จไป
พระวิหาร ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย เสด็จเข้าพระคันธกุฎี

ภิกษุทั้งหลายพากันตั้งเรื่องสนทนากันในธรรมสภาว่า ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีพระองค์นั้น มีพระรูปงามปานนั้น มีเทวี
ลักษณะตรงกันข้าม มีอวัยวะน้อยใหญ่อ้วนพี ไม่มีกิริยามารยาท
ท้าวเธอจะทรงอภิรมย์กับเทวีได้อย่างไรกันนะ ? พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุม
สนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว ตรัสว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีองค์นี้ มิใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน ก็ทรงอภิรมย์กับหญิงที่มีร่างกายอ้วน
เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์ของ
พระองค์ ครั้งนั้น หญิงชนบทคนหนึ่งมีอวัยวะอ้วนพี ไม่มีกิริยา
มารยาท ทำการรับจ้าง เดินผ่านไปไม่ไกลท้องพระลานหลวง
เกิดปวดอุจจาระ ก็เอาผ้านุ่งคลุมหัว นั่งถ่ายอุจจาระแล้วรีบ
ลุกขึ้น ขณะนั้นพระเจ้าพาราณสี ทอดพระเนตรท้องพระลานหลวง
ทางช่องพระแกล ทรงเห็นนางแล้ว ทรงดำริว่า หญิงผู้นี้ ถ่าย
อุจจาระไว้ที่พระลานอย่างนี้ มิได้ละหิริโอตตัปปะ เอาผ้านุ่ง
นั่นแหละปิด ถ่ายอุจจาระแล้วก็รีบลุกขึ้น ชะรอยนางจักเป็นหญิง
ไม่มีโรค วัตถุของนางจักต้องบริสุทธิ์ ลูกคนหนึ่งที่ได้ในวัตถุ
บริสุทธิ์ จักเป็นผู้บริสุทธิ์ มีบุญ เราควรตั้งนางไว้เป็นอัครมเหสี
ท้าวเธอทรงทราบความที่นางยังไม่มีคู่ครอง ก็ตรัสสั่งพระราชทาน

ตำแหน่งอัครมเหสี นางได้เป็นที่โปรดปราน ต้องพระทัยของ
ท้าวเธอ ไม่นานนักก็ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง และโอรสของ
พระนางก็ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระโพธิสัตว์เห็นความถึง
พร้อมด้วยยศของพระนาง ได้โอกาสที่จะกราบทูลเช่นนั้นได้
จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ศิลปะชื่อว่าควรศึกษา
เหตุไรจะไม่น่าศึกษาเล่า แต่พระมเหสีผู้มีบุญหนักพระองค์นี้
ไม่ทรงละหิริโอตตัปปะ ทรงกระทำสรีรวลัญชะ ด้วยอาการ
มิดเม้น ยังทำให้พระองค์โปรดปราน ทรงบรรลุสมบัติเห็นปานนี้
ได้นะ พระเจ้าข้า เมื่อจะกราบทูลคุณแห่งศิลปะที่ควรศึกษา
ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
"บุคคลควรศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชน
ทั้งหลายที่พอใจในศิลปะนั้นก็มีอยู่ แม้แต่หญิง
ที่เกิดในจังหวัดชั้นนอก ก็ยังทำให้พระราชา
ทรงโปรดปรานได้ ด้วยความกระมิดกระเมี้ยน
ของเธอ " ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ตจฺฉนฺทิโน ความว่า หมู่ชน
ที่มีความพอใจในศิลปะเหล่านั้น คงมีแน่นอน.
บทว่า พาหิยา ได้แก่หญิงที่เกิดเจริญเติบโต ในชนบท
ที่มีในภายนอก.
บทว่า สุหนฺเนน ความว่า ไม่ละหิริโอตตัปปะ ขับถ่าย
ด้วยอาการอันปกปิด ชื่อว่า อาการอันกระมิดกระเมี้ยน ถ่าย

ด้วยอาการอันกระมิดกระเมี้ยนนั้น.
บทว่า ราชานํ อภิราธยิ ความว่า ยังทำให้สมมติเทพ
ทรงโปรดปราน ลุถึงสมบัตินี้ได้.
พระโพธิสัตว์กล่าวคุณของศิลปะทั้งหลาย อันสมควรแก่
คุณค่าของการศึกษา ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในบัดนี้
ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาพาหิยชาดกที่ 8

9. กุณฑกปูวชาดก


ว่าด้วยมีอย่างไรก็กินอย่างนั้น


[109] บุรุษกินอย่างไร เทวดาของบุรุษก็กิน
อย่างนั้น ท่านจงเอาขนมรำนั้นมา อย่าให้ส่วน
ของเราเสียไปเลย.

จบ กุณฑกปูวชาดกที่ 9

อรรถกถากุณฑกปูวชาดกที่ 9


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระนครสาวัตถี
ทรงปรารภบุรุษผู้เข็ญใจอย่างหนัก ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า ยถนฺโน ปุริโส โหติ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในพระนครสาวัตถี บางครั้งสกุลเพียง
สกุลเดียวเท่านั้น ถวายทานแต่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข บางครั้งสาม - สี่ตระกูลรวมกัน บางครั้งด้วยความ
ร่วมมือกันเป็นคณะ บางครั้งด้วยความร่วมใจกันของผู้ที่อยู่
ร่วมถนน บางครั้งรวมคนที่มีฉันทะความพอใจหมดทั้งเมือง ถวาย
ทานแต่พระสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุข ก็ในครั้งนั้น มีภัตร
ที่ชื่อว่า วิถีภัตร (คือการถวายภัตตาหารของผู้ที่อยู่ร่วมถนนกัน)
ได้มีขึ้น. ครั้งนั้นพวกมนุษย์ กล่าวเชิญชวนกันว่า เชิญท่าน