เมนู

5. ทุพพลกัฏฐชาดก


ว่าด้วยช้างกลัวไม้แห้ง


[105] "ลมย่อมพัดไม้แห้งที่ทุรพลในป่านี้ แม้
มีจำนวนมากมายให้หักลง แน่ะ ช้างตัวประเสริฐ
ถ้าท่านมัวกลัวต่อไม้แห้งนั้น ท่านจักซูบผอม
เป็นแน่".

จบ ทุพพลกัฏฐชาดกที่ 5

อรรถกถาทุพพลกัฏฐชาดกที่ 5


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุขลาดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า พหุมฺเปตํ วเน กฏฺฐํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถีผู้หนึ่ง
ฟังธรรมของพระศาสดาแล้วบรรพชา ได้เป็นผู้กลัวตายยิ่งนัก
เธอได้ยินเสียงลมพัด เสียงไม้แห้งตก หรือเสียงนก เสียงจตุบท
ก็สะดุ้งกลัวจะตาย ร้องเสียงลั่นวิ่งหนีไป เพราะด้วยเหตุเพียง
ความระลึกว่า เราต้องตาย ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอเสียเลย ก็ถ้าเธอ
พอจะรู้ว่า เราต้องตายดังนี้ ก็จะไม่กลัวตาย แต่เพราะเธอไม่เคย
เจริญมรหณัสสติกัมมัฏฐานเลย จึงกลัว ความกลัวตายของเธอ

แพร่หลายไปในหมู่ภิกษุ ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายยกเอา
เรื่องนี้ขึ้นพูดกันในธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุโน้น
ขลาดต่อความตาย กลัวตาย ธรรมดาภิกษุควรจะเจริญมรณัสสติ-
กัมมัฏฐานว่า เราต้องตายแน่นอน ดังนี้. พระศาสดาเสด็จมา
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไรเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลาย กราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว มีรับสั่งให้หาภิกษุนั้นมาเฝ้า ตรัสถามว่า จริงหรือ ที่เขาว่า
เธอเป็นคนกลัวตาย เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเสียใจต่อภิกษุนี้เลย
มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้เป็นผู้กลัวตาย แม้ในกาลก่อน
เธอก็เป็นผู้กลัวตายเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา
ในป่าหิมพานต์ ในครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงมอบมงคลหัตถี
ของพระองค์ให้แก่พวกนายหัตถาจารย์ เพื่อให้ฝึกหัตถึงเหตุ
แห่งความไม่พรั่นพรึง พวกนายหัตถาจารย์จึงมัดช้างนั้นที่เสา-
ตะลุง อย่างกระดุกกระดิกไม่ได้ พวกมนุษย์พากันถือหอกซัด
พากันเข้าล้อม กระทำให้เกิดความพรั่นพรึง ช้างถูกเขาบังคับ
ดังนั้น ไม่อาจอดกลั้นเวทนาความหวั่นไหวได้ ทำลายเสาตะลุง
เสีย ไล่กวดมนุษย์ให้หนีไป แล้วเข้าป่าหิมพานต์ พวกมนุษย์

ไม่อาจจะจับช้างนั้นได้ก็พากันกลับ ช้างนั้นได้เป็นสัตว์กลัวตาย
เพราะเรื่องนั้น ได้ยินเสียงลมเป็นต้น ก็ตัวสั่น กลัวตาย ทิ้งงวง
วิ่งหนีไปโดยเร็ว เป็นเหมือนเวลาที่ถูกมัดติดเสาตะลุง ถูกบังคับ
ไม่ให้พรั่นพรึงฉะนั้น ไม่ได้ความสบายกาย หรือความสบายใจ
มีแต่ความหวั่นระแวงเที่ยวไป รุกขเทวดาเห็นช้างนั้นแล้ว ยืน
บนค่าคบไม้ กล่าวคาถานี้ความว่า :-
" ลมย่อมพัดไม้แห้ง ที่ทุรพลในป่านี้
แม้มีจำนวนมากมาย ให้หักลง แน่ะ ช้างตัว
ประเสริฐ ถ้าท่านยังกลัวต่อไม้แห้งนั้น ท่านจัก
ซูบผอมเป็นแน่" ดังนี้.

ในคาถานั้น ประมวลอรรถาธิบายได้ดังนี้ :- ลมต่างด้วย
ลมที่มาแต่ทิศบูรพาเป็นต้น ย่อมระรานต้นไม้ที่ทุรพลใดเล่า
ต้นไม้นั้นมีมากมายในป่านี้ คือหาได้ง่าย มีอยู่ในป่านั้น ๆ ถ้า
เจ้ากลัวลมนั้น ก็จำต้องกลัวอยู่เป็นนิจ จักต้องถึงความสิ้นเนื้อ
และเลือด เหตุนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป อย่ากลัวเลย.
เทวดาให้โอวาทแก่ช้างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ตั้งแต่นั้นมา
แม้ช้างนั้น ก็หายกลัว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง
ประกาศสัจธรรม แล้วทรงประชุมชาดกนี้ว่า ช้างในครั้งนั้น
ได้มาเป็นภิกษุนี้ ส่วนรุกขเทวดา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทุพพลกัฏฐชาดกที่ 5

6. อุทัญจนีชาดก


ว่าด้วยหญิงโฉด


[106] "หญิงโฉดผู้นำของไปด้วยหม้อน้ำ เบียด-
เบียนฉัน ผู้มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข จะขอน้ำมัน
หรือเกลือ ก็ด้วยการกล่าวคำอ่อนหวาน ฐาน
ภรรยา"

จบ อุทัญจนีชาดกที่ 6

อรรถกถาอุทัญจนีชาดกที่ 6


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการเล้าโลมของถุลกุมาริกา (หญิงสาวเจ้าเนื้อ) ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุขํ วต มํ ชีวนฺตํ ดังนี้.
เนื้อเรื่องจักแจ่มแจ้งในจูฬนารทกัสสปชาดก เตรสนิบาต
นั่นแล ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า
เธอกระสันจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสถามต่อไปว่า จิตของเธอปฏิพัทธ์ใน
อะไรเล่า ? เธอกราบทูลว่า ในหญิงสาวเจ้าเนื้อนางหนึ่ง พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
นางนี้ เคยทำความฉิบหายให้เธอ แม้ในกาลก่อนเธออาศัยนางนี่