เมนู

4. มิตตวินทชาดก


โทษของผู้ลุอำนาจความปรารถนา


[104] "ผู้ที่มีความปราถนาเกินส่วน มีอยู่ 4
ก็ต้องการ 8 มี 8 ก็ต้องการ 16 มี 16 ก็ต้องการ
32 บัดนี้มาได้รับกงจักรกรด กรจักรกรดพัด
อยู่เหนือศีรษะ ของคนผู้ลุอำนาจความปราถนา"

จบ มิตตวินทชาดกที่ 4

อรรถกถามิตตวินทชาดกที่ 4


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า จพุพฺภิ อฏฺฐชฺฌคมา ดังนี้.
เรื่องราวพึงให้พิสดารตามนัยที่กล่าวแล้วในมิตตวินทชาดก
ในหนหลัง ส่วนชาดกนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดในกาลแห่งพระพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสปะ ก็ในกาลครั้งนั้น เนรยิกสัตว์ตนหนึ่ง
ทูลจักรกรดไว้ไหม้อยู่ในนรก ถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้าได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้เล่าหนอ ? พระโพธิสัตว์
กล่าวว่า เจ้าได้กระทำบาปกรรมนี้ ๆ แล้วกล่าวคาถา ความว่า :-

" ผู้ที่มีความปรารถนาเกินส่วน มีอยู่ 4
ก็ต้องการ 8 มี 8 ก็ต้องการ 16 มี 16 ก็ต้องการ
32 บัดนี้มาได้รับกงจักรกรด กรงจักกรดพัด
อยู่เหนือศีรษะ ของคนผู้ลุอำนาจความปรารถนา
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุพฺภิ อฏฺฐชฺฌคมา ความว่า
เจ้าได้เวมานิกเปรต 4 นางในระหว่างสมุทร ยังไม่พอใจด้วย
นางเหล่านั้น จึงเดินมุ่งต่อไปข้างหน้า ด้วยปรารถนาเกินส่วน
ได้ครอบครองนางทั้ง 8 อีก แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
บทว่า อตฺริจฺฉํ จกฺกมาสโท ความว่า เจ้าไม่พอใจด้วย
ลาภของตนอย่างนี้ ยังปรารถนาเกินส่วน คือต้องการต่อไปไม่
รู้หยุด มุ่งลาภข้างหน้าต่อไป คราวนี้จึงมาโดนจักรกรด คือถึง
จักรกรดนี้ เจ้านั้นอันความปรารถนากำจัดเสียแล้ว คือ ถูก
ตัณหาความทะยานอยาก กำจัด คือเข้าไปตัดรอนเสียแล้ว จักรกรด
จึงพัดผันบนหัวเจ้า ในจักรทั้งสอง คือจักรหินเละจักรเหล็ก
พระโพธิสัตว์เห็นจักรเหล็กคมปานมีดโกน พัดผันอยู่บนหัวของ
เขาด้วยสามารถแห่งการพัดหมุนเวียนต่อเนื่องกันไป จึงกล่าว
อย่างนี้.
ก็และครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็กลับไปสู่เทวโลกของตน.

แม้เนรยิกสัตว์นั้น เมื่อบาปของตนสิ้นแล้ว ก็ไปตาม
ยถากรรม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า มิตตวินทกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้ว่ายาก ส่วน
เทวบุตรได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามิตตวินทชาดกที่ 4

5. ทุพพลกัฏฐชาดก


ว่าด้วยช้างกลัวไม้แห้ง


[105] "ลมย่อมพัดไม้แห้งที่ทุรพลในป่านี้ แม้
มีจำนวนมากมายให้หักลง แน่ะ ช้างตัวประเสริฐ
ถ้าท่านมัวกลัวต่อไม้แห้งนั้น ท่านจักซูบผอม
เป็นแน่".

จบ ทุพพลกัฏฐชาดกที่ 5

อรรถกถาทุพพลกัฏฐชาดกที่ 5


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุขลาดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า พหุมฺเปตํ วเน กฏฺฐํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถีผู้หนึ่ง
ฟังธรรมของพระศาสดาแล้วบรรพชา ได้เป็นผู้กลัวตายยิ่งนัก
เธอได้ยินเสียงลมพัด เสียงไม้แห้งตก หรือเสียงนก เสียงจตุบท
ก็สะดุ้งกลัวจะตาย ร้องเสียงลั่นวิ่งหนีไป เพราะด้วยเหตุเพียง
ความระลึกว่า เราต้องตาย ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอเสียเลย ก็ถ้าเธอ
พอจะรู้ว่า เราต้องตายดังนี้ ก็จะไม่กลัวตาย แต่เพราะเธอไม่เคย
เจริญมรหณัสสติกัมมัฏฐานเลย จึงกลัว ความกลัวตายของเธอ