เมนู

3. เวริชาดก


การอยู่ร่วมกับบุคคลที่เป็นไพรี


[103] "ไพรีอาศัยอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่ควรอยู่
ในที่นั้น บุคคลอยู่ในพวกไพรี คืนหนึ่งหรือ
สองคืน ย่อมอยู่เป็นทุกข์" ดังนี้.

จบ เวริชาดกที่ 3

อรรถกกถาเวริชาดกที่ 3


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า ยตฺถ เวรี นิวีสติ ดังนี้.
ได้ยินว่าท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไปสู่หมู่บ้านส่วยแล้ว
กำลังเดินมา พบพวกโจรในระหว่างทาง คิดว่า ไม่ควรพักแรม
ในระหว่างทาง ต้องไปให้ถึงพระนครสาวัตถีทีเดียว แล้วขับ
ฝูงโคมาถึงพระนครสาวัตถีโดยรวดเร็ว รุ่งขึ้นไปสู่พระวิหาร
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน
คฤหบดี แม้ในปางก่อน บัณฑิตพบโจรในระหว่างทาง ไม่ค้างแรม
ในระหว่างทาง ไปจนถึงที่อยู่ของตนทีเดียว ท่านอนาถบิณฑิกะ
กราบทูลอาราธนา ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเศรษฐี มี
สมบัติมาก ไปสู่ที่รับเชิญในหมู่บ้าน เพื่อการบริโภค เมื่อเดินทาง
กลับ พบพวกโจรในระหว่างทาง ไม่หยุดในระหว่างทางเลย
รีบขับโคทั้งหลาย มาสู่เรือนของตนทีเดียว บริโภคอาหารด้วย
รสอันเลิศ นั่งเหนือที่นอนอันมีราคามาก ดำริว่า เราพ้นจาก
เงื้อมมือโจร มาสู่เรือนตนอันเป็นที่ปลอดภัย แล้วกล่าวคาถานี้
ด้วยสามารถแห่งอุทานว่า :-
" ไพรีอาศัยอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่พึงอยู่
ในที่นั้น บุคคลอยู่ในพวกไพรี คืนหนึ่งหรือ
สองคืน ย่อมอยู่เป็นทุกข์" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวรี ได้แก่บุคคลผู้เพียบพร้อม
ด้วยเจตนาคิดก่อเวร.
บทว่า นิวีสติ แปลว่า ย่อมพำนักอยู่
บทว่า น วเส ตตฺถ ปณฺฑิโต ความว่า บุคคลผู้เป็นไพรีนั้น
พำนัก คืออาศัยอยู่ในที่ใด บัณฑิตคือท่านผู้ประกอบด้วยคุณเครื่อง
ความเป็นบัณฑิต ไม่ควรอยู่ในที่นั้น.
เพราะเหตุไร ?
เพราะบุคคลอยู่ในกลุ่มไพรี คืนหนึ่งหรือสองคืน ย่อมอยู่
เป็นทุกข์ ขยายความว่า บุคคลเมื่ออยู่ในกลุ่มของไพรี แม้วันเดียว
สองวัน ก็ชื่อว่าอยู่เป็นทุกข์ทั้งนั้น.

พระโพธิสัตว์ เปล่งอุทานด้วยประการฉะนี้ กระทำบุญ
มีให้ทานเป็นต้น แล้วไปตามยถากรรม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ในครั้งนั้น เราตถาคตแล ได้เป็นเศรษฐีเมืองพาราณสี
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเวริชาดกที่ 3

4. มิตตวินทชาดก


โทษของผู้ลุอำนาจความปรารถนา


[104] "ผู้ที่มีความปราถนาเกินส่วน มีอยู่ 4
ก็ต้องการ 8 มี 8 ก็ต้องการ 16 มี 16 ก็ต้องการ
32 บัดนี้มาได้รับกงจักรกรด กรจักรกรดพัด
อยู่เหนือศีรษะ ของคนผู้ลุอำนาจความปราถนา"

จบ มิตตวินทชาดกที่ 4

อรรถกถามิตตวินทชาดกที่ 4


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า จพุพฺภิ อฏฺฐชฺฌคมา ดังนี้.
เรื่องราวพึงให้พิสดารตามนัยที่กล่าวแล้วในมิตตวินทชาดก
ในหนหลัง ส่วนชาดกนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดในกาลแห่งพระพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสปะ ก็ในกาลครั้งนั้น เนรยิกสัตว์ตนหนึ่ง
ทูลจักรกรดไว้ไหม้อยู่ในนรก ถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้าได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้เล่าหนอ ? พระโพธิสัตว์
กล่าวว่า เจ้าได้กระทำบาปกรรมนี้ ๆ แล้วกล่าวคาถา ความว่า :-