เมนู

2. มิตตวินทกชาดก


ว่าด้วยจักรบดศีรษะ


[82] "ท่านเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทเงิน
และปราสาทแก้วมณีมาแล้ว มาถูกจักรกรด
สำเร็จด้วยหินพัดผันอยู่ ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่
ก็จักไม่พ้นจากจักรกรดตราบนั้น"

จบ มิตตวินทกชาดกที่ 2

อรรถกถามิตตวินทกชาดกที่ 2


พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อติกฺกมฺม รมณกํ ดังนี้.
ก็เรื่องของชาดกนี้ เป็นเรื่องเกิดขึ้นครั้งศาสนาของ
พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า จักแจ่มแจ้งในมหามิตตวินทกชาดก
หลักนิบาต ก็ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้ ความว่า
" ท่านเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทเงิน
และปราสาทแก้วมณี มาแล้ว มาถูกจักรกรด
สำเร็จด้วยหินพัดผันอยู่ ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่
ก็จักไม่พ้นจากจักรกรดตราบนั้น "
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมณกํ เป็นชื่อของแก้วผลึก
ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์แสดงว่า เจ้านั้นสิผ่านพ้นปราสาทแก้ว-
ผลึกไปเสียแล้ว.
บทว่า สทามตฺตญฺจ เป็นชื่อของเงิน. พระโพธิสัตว์แสดงว่า
เจ้านั้นสิผ่านปราสาทเงินไปเสียแล้ว.
บทว่า ทูภกํ เป็นชื่อของแก้วมณี พระโพธิสัตว์แสดงว่า
เจ้านั้นสิผ่านปราสาทแก้วมณีไปเสียแล้ว.
บทว่า สฺวาสิ ตัดบทเป็น โส อสิ แปลว่า เจ้านั้นสิ.
บทว่า ปาสาณมาสีโน ความว่า ที่ชื่อว่า จักกรดนั้น สำเร็จ
ด้วยหินก็มี สำเร็จด้วยแก้วมณีก็มี แต่จักรกรดอันที่เจ้าถูกมัน
ขยี้บดทับนั้น สำเร็จด้วยหิน เพราะเหตุที่มาต้องจักรกรดสำเร็จ
ด้วยหิน เมื่อควรจะกล่าวว่า ปาสาณาสีโน กลับกล่าวว่า ปาสาณ-
มาสีโน โดยถือเอา ม อักษร ด้วยอำนาจพยัญชนะสนธิ มีอธิบาย
ไว้อีกนัยหนึ่งว่า ทูลหัวจักรกรดหิน คือมาถูกจักรกรดนั้นพัดผัน
ยืนอยู่.
บทว่า ยสฺมา ชีวํ น โมกฺขสิ ความว่า ทั้ง ๆ ที่ยังเป็น ๆ
อยู่นั้นแหละ จักไม่พ้นไปจากจักรกรดได้ ต้องทูนมันไว้ จนกว่า
บาปกรรมของเจ้าจะสิ้นไป.
พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้แล้ว เสด็จไปสู่เทวสถานแห่ง
ตนทันที ฝ่ายมิตตวินทุกะเล่า ก็ทูลจักรกรดไว้ เสวยทุกข์อย่าง
มหันต์ ครั้นบาปกรรมหมดไป ก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า มิตตวินทกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายากในครั้งนี้
ส่วนท้าวเทวราช ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามิตตวินทกชาดกที่ 2

3. กาฬกัณณิชาดก


ว่าด้วยมิตรแท้


[83] " บุคคลชื่อว่าเป็นมิตรด้วยการเดินร่วมกัน
7 ก้าว ชื่อว่าเป็นสหายด้วยการเดินร่วมกัน 12
ก้าว และชื่อว่าเป็นญาติด้วยการอยู่ร่วมกันเดือน
หนึ่ง หรือกึ่งเดือน ส่วนผู้ที่ชื่อว่ามีตนเสมอกัน
ก็ด้วยการอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น เราจะละทิ้งมิตร
ชื่อว่า กาฬกรรณี ผู้ชอบพอกันมานาน เพราะ
ความสุขส่วนตัวได้อย่างไร " ?

จบ กาฬกัณณิชาดกที่ 3

อรรถกถากาฬกัณณิชาดกที่ 3


พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภมิตรของท่านอนาถบิณฑิกะผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มิตฺโต หเว สตฺตปเทน โหติ. ดังนี้.
ได้ยินว่า มิตรผู้นั้นได้เคยเป็นสหายร่วมเล่นฝุ่นมากับ
ท่านอนาถบิณฑิกะ ทั้งเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกัน
โดยนามมีชื่อว่า กาฬกรรณี. กาฬกรรณีนั้น เมื่อกาลล่วงผ่านไป
ก็เป็นผู้ตกยาก ไม่อาจเลี้ยงชีวิตได้ จึงไปยังสำนักของท่านเศรษฐี