เมนู

9. ขรัสสรชาดก


ว่าด้วยบุตรที่มารดาละทิ้ง


[79] " เมื่อใดชาวบ้านถูกปล้น เรียบร้อยแล้ว
ฝูงโคถูกเชือดไม่แล้ว เรือนทั้งหลายถูกไฟเผา
วอดไปแล้ว ผู้คนถูกต้อนไปแล้ว เมื่อนั้นบุตรที่
มารดาละทิ้งแล้ว จึงมาเที่ยวตีกลองอึกทึก "

จบ ขรัสสรชาดกที่ 9

อรรถกถาขรัสสรชาดกที่ 9


พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-
วิหาร ทรงปรารภอำมาตย์ผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า "ยโต วิลุตฺตา จ หตา จ คาโว" ดังนี้.
ได้ยินว่า อำมาตย์ผู้หนึ่งของพระเจ้าโกศล ยังพระราชา
ให้โปรดปรานแล้ว ได้กำลังในปัจจันตคาม ไปร่วมกับพวกโจร
กล่าวว่า เราจักพาพวกมนุษย์เข้าป่า พวกเจ้าปล้นบ้านแล้วแบ่ง
ให้เราครึ่งหนึ่ง ดังนี้แล้ว เรียกพวกมนุษย์ให้ประชุมกัน แล้ว
พาเข้าป่าไปเสียก่อน เมื่อพวกโจรพากันมาจับแม่โคฆ่ากินเนื้อ
ปล้นบ้านเรือนพากันไปแล้ว มีมหาชนแวดล้อมกลับเข้าบ้าน
ในเวลาเย็น ไม่ช้าไม่นาน การกระทำของเขาก็ปรากฏ พวกมนุษย์

พากันกราบทูลพระราชา. พระราชารับสั่งเรียกเขามาแล้ว
ให้กำหนดโทษ ทรงลงพระอาญา สมควรแก่โทษานุโทษ ส่ง
นายอำเภอผู้อื่นไปแทน แล้วเสด็จไปพระเชตวัน ถวายบังคม
พระตถาคต กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น
ที่อำมาตย์ผู้นั้น มีปกติประพฤติอย่างนี้ ถึงในกาลก่อนก็มีปกติ
ประพฤติอย่างนี้เหมือนกัน อันพระเจ้าโกศลกราบทูลอาราธนา
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี ทรงพระกรุณาพระราชทานปัจจันตคามแก่อำมาตย์
ผู้หนึ่ง. เรื่องต่อไปทั้งหมด ก็เป็นเช่นเดียวกับเรื่องก่อนทั้งหมด
ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ท่องเที่ยวไปในปัจจันตคามเพื่อการค้า
พำนักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อนายอำเภอ
ผู้นั้น ตีกลองอึกทึกมากับมหาชนผู้ห้อมล้อมในตอนเย็น จึงกล่าวว่า
นายอำเภอผู้ร้ายคนนี้รวมหัวกันกับพวกโจรให้ปล้นชาวบ้าน
ครั้นพวกโจรพากันหนีเข้าดงไปแล้ว คราวนี้สิมีกลองตีเดินมา
ทำเหมือนคนสงบเสงี่ยม แล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-
"เมื่อใดชาวบ้านถูกปล้นเรียบร้อยแล้ว
ฝูงโคถูกเชือดแล้ว เรือนทั้งหลายถูกไฟเผาวอด
ไปแล้ว ผู้คนถูกต้อนไปแล้ว เมื่อนั่นบุตรที่มารดา
ละทิ้งแล้ว จึงมาตีกลองเสียงอึกทึก"
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต แปลในกาลใด.
บทว่า วิลุตฺตา จ หตา จ ความว่า พวกโจรพากันปล้น
ฆ่า เชือดฝูงโค เพื่อกินเนื้อ.
บทว่า คาโว ได้แก่ฝูงโค.
บทว่า ทฑฺฒานิ ความจุดไฟเผาเรือนให้ไหม้.
บทว่า ชโน จ นีโตห จับคนนำไปเป็นเชลย.
บทว่า ปุตฺตหตาย ปุตฺโต ได้แก่ลูกของหญิงที่มารดา
ละทิ้งแล้ว อธิบายว่า ได้แก่คนหน้าด้าน. เพราะว่าคนที่ปราศจาก
หิริโอตตัปปะแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่มีแม่ ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าแม่ยัง
มีชีวิตอยู่ เขาก็ไม่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นลูก เพราะฉะนั้น เขาย่อม
ได้ชื่อว่า เป็นลูกของหญิงที่มารดาทอดทิ้ง.
บทว่า ขรสฺสรํ ได้แก่เสียงครึกโครม.
บทว่า เทณฺฑิมํ ได้แก่ตีกลอง.
พระโพธิสัตว์ บริภาษเขาด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้
กรรมนั้นของเขาปรากฏต่อกาลไม่ช้าเลย. ครั้งนั้นพระราชา
ทรงลงพระอาญาแก่เขา สมควรแก่โทษานุโทษ.
พระบรมศาสดา ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มิใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้น ที่อำมาตย์ผู้นั้น มีปกติประพฤติอย่างนี้ แม้ในครั้งก่อน
ก็ได้มีความประพฤติชั่วมาแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรม-
เทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า อำมาตย์ใน

ครั้งนั้น ได้มาเป็นอำมาตย์ในครั้งนี้ ส่วนบัณฑิตผู้ยกคาถาขึ้น
กล่าว ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาขรัสสชาดกที่ 9

10. ภีมเสนชาดก


ว่าด้วยคำแรก กับคำหลังไม่สมกัน


[80] "ภีมเสนเอย ที่ท่านคุยโอ่ไว้แต่ก่อน แล้ว
ภายหลังกลับปล่อยอุจจาระไหลออกมา คำโว
ถึงการรบ กับความกระสับกระส่ายของท่าน
ดูช่างไม่สมกันเลย"

จบ ภีมเสนชาดกที่ 10

อรรถกถาภีมเสนชาดกที่ 10


พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้มักโอ้อวดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า ยนฺเต ปวิกตฺถิตํ ปุเร ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่ง เที่ยวคุยโอ่ เย้ยหยัน หลอกลวง
ในกลุ่มภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งที่เป็นนวกะ และที่เป็นมัชฌิมะ
ด้วยอำนาจสมบัติ มีชาติเป็นต้นว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย ว่าถึงชาติ
กันละก็ ไม่มีทางที่จะเสมอด้วยชาติของเรา ว่าถึงโคตรก็ไม่มี
ที่จะเสมอด้วยโคตรของเรา พวกเราเกิดในตระกูลมหากษัตริย์
ขึ้นชื่อเห็นปานนี้ ผู้ที่จะได้ชื่อว่าทัดเทียมกับเรา โดยโคตรหรือ
ด้วยทรัพย์ หรือด้วยถิ่นฐานของตระกูล ไม่มีเลย ทองเงินเป็นต้น