เมนู

4. รุกขธัมมชาดก


ต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม


[74] "หมู่ญาติยิ่งมีมากได้ ยิ่งดี แม้ถึงไม้เกิด
ในป่า เป็นหมวดหมู่ได้เป็นดี (เพราะ) ต้นไม้ที่
ตั้งอยู่โดดเดี่ยว แม้จะใหญ่โต เป็นเจ้าป่า ย่อม
ถูกลมแรง โค่นลงได้"

จบ รุกขธัมมชาดกที่ 4

อรรถกถารุกขธัมมาดกที่ 4


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงทราบความพินาศใหญ่ กำลังจะเกิดแก่พระญาติทั้งหลาย
ของพระองค์ เพราะทะเลาะกันเรื่องน้ำ ก็เสด็จเหาะไปในอากาศ
ประทับนั่งโดยบัลลังก์ เบื้องบนแม่น้ำโรหิณี ทรงเปล่งรัศมี
สีขาบ ให้พระญาติทั้งหลายสลดพระทัย แล้วเสด็จลงจากอากาศ
ประทับนั่ง ณ ฝั่งแม่น้ำ ทรงปรารภการทะเลาะนั้น ตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สาธุ สมฺพหุลา ญาตี ดังนี้.
ในชาดกที่ยกมานี้เป็นสังเขปนัย ส่วนวิตถานัยจักปรากฏ
แจ้งในกุณาลชาดก ก็และในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียก
พระญาติทั้งหลายมาตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

ได้นามว่าเป็นญาติกัน ควรจะสมัครสมานสามัคคีร่วมใจกัน
เพราะว่าเมื่อพระญาติทั้งหลาย ยังสามัคคีกันอยู่ หมู่ปัจจามิตร
ย่อมไม่ได้โอกาส อย่าว่าแต่หมู่มนุษย์เลย แม้ต้นไม้ทั้งหลาย
อันหาเจตนามิได้ ยังควรจะได้ความสามัคคีกัน เพราะในอดีตกาล
ที่หิมวันตประเทศ มหาวาตภัยรุกรานป่ารัง แต่เพราะป่ารังนั้น
เกี่ยวประสานกันและกันแน่นขนัดไปด้วยลำต้น กอพุ่มและ
ลดาวัลย์ ไม่อาจจะให้ต้นไม้แม้ต้นเดียวโค่นลงได้ พัดผ่านไป
ตามยอด ๆ เท่านั้น แต่ได้พัดเอาไม้ใหญ่ต้นหนึ่ง ที่ขึ้นอยู่บนเนิน
แม้จะสมบูรณ์ด้วยกิ่งก้าน ด่าคบไม้ล้มลงที่พื้นดิน ถอนราก
ถอนโคนขึ้น เพราะไม่เกี่ยวประสานกันกับต้นไม้อื่น ๆ ด้วยเหตุนี้
จึงควรที่พวกท่านทั้งหลาย จะสมัครสมานสามัคคีร่วมใจกัน
อันพระญาติเหล่านั้น กราบทูลอารธนา จึงทรงนำเรื่องในอดีต
มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี ท้าวเวสวรรณมหาราชที่ทรงอุบัติพระองค์แรก
จุติ ท้าวสักกะทรงตั้งท้าวเวสสวรรณองค์ใหม่ ในคราวเปลี่ยน-
แปลงท้าวเวสสวรรณนี้ ท้าวเวสสวรรณองค์หลัง ส่งข่าวไปแก่
หมู่เทพยดาว่า จงจับจองต้นไม้ กอไผ่ พุ่มไม้ และลดาวัลย์
เป็นวิมานในสถานที่อันพอใจแห่งตน ๆ เถิด. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์
เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา ณ ป่ารังแห่งหนึ่ง ในหิมวันตประเทศ

ทรงประกาศบอกเทพที่เป็นหมู่ญาติว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะจับ
จองวิมาน จงอย่าจับจองที่ต้นไม้อันตั้งอยู่บนเนิน แต่จงจับจอง
วิมานที่ต้นไม้ตั้งล้อมรอบวิมานที่เราจับจองแล้ว ในป่ารังนี้เถิด.
บรรดาเทวดาเหล่านั้น พวกที่เป็นบัณฑิต ก็กระทำตามคำของ
พระโพธิสัตว์ จับจองวิมานต้นไม้ที่ตั้งล้อมวิมานของพระโพธิสัตว์
ฝ่ายพวกที่มิใช่บัณฑิต ต่างพูดกันว่า พวกเราจะต้องการอะไร
ด้วยวิมานในป่า จงพากันจับจองวิมานที่ประตูบ้าน นิคม และ
ราชธานี ในถิ่นมนุษย์กันเถิด ด้วยว่าพวกเทวดาที่อยู่อาศัยบ้าน
เป็นต้น ย่อมประสบลาภอันเถิด และยศอันเลิศ แล้วพากันจับจอง
วิมานที่ต้นไม้ใหญ่ ๆ อันเกิด ณ ที่อันเป็นเนิน ในถิ่นมนุษย์
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง เกิดลมฝนใหญ่ แม้ถึงต้นไม้ที่ใหญ่ ๆ ในป่า
มีรากมั่นคง ต่างมีกิ่งก้าน ค่าคบ หักล้มระเนระนาดทั้งราก
ทั้งโคน เพราะโต้ลมเกินไป. แต่พอถึงป่ารัง ซึ่งตั้งอยู่ชิดติด
ต่อกัน ถึงจะพัดกระหน่ำ ทุก ๆ ด้านไม่สร่างซา ก็ไม่อาจทำให้
ต้นไม้ล้มได้สักต้นเดียว. หมู่เทวดาที่มีวิมานหักต่างก็ไม่มีที่
พำนัก พากันจูงมือเด็ก ๆ ไปป่าหิมพานต์ แจ้งเรื่องราวของตน
แก่เทวดาผู้อยู่ในป่ารัง เทวดาเหล่านั้นก็พากันบอกเรื่องที่พวก
เหล่านั้นพากันกระเซอะกระเซิงมาแด่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์
กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ที่ไม่เชื่อถือถ้อยคำของหมู่บัณฑิต แล้วพากัน
ไปสู่สถานที่อันหาปัจจัยมิได้ ย่อมเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น เมื่อจะ
แสดงธรรม จึงกล่าวคาถาความว่า :-

" หมู่ญาติยิ่งมีมากได้ ยิ่งดี แม้ถึงไม้เกิด
ในป่า เป็นหมวดหมู่ได้เป็นดี (เพราะ) ต้นไม้
ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว แม้จะใหญ่โตเป็นเจ้าป่า ย่อม
ถูกลมแรง โค่นได้ " ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพหุลา ความว่า ญาตินับ
แต่ 4 คน ชื่อว่า มาก แม้ยิ่งกว่านั้น ขนาดนับร้อย นับพัน
ชื่อว่ามากมูล เมื่อหมู่ญาติมากมายอย่างนี้ ต่างถ้อยทีถ้อยอาศัย
กันอยู่ ก็ยิ่งดี คืองดงาม ประเสริฐสุด ศัตรูหมู่อมิตรจะกำจัด
ไม่ได้.
บทว่า อปิ รุกฺขา อรญฺญชา ความว่า อย่าว่าแต่ชุมชนที่
รวมกันเป็นหมู่มนุษย์เลย แม้ถึงต้นไม้ที่เกิดในป่าที่มีมากมาย
ตั้งอยู่โดยอาการต่างฝ่ายต่างค้ำจุนสนับสนุนกันเป็นการดีแท้
เพราะแม้ถึงต้นไม้ทั้งหลาย ก็ควรจะได้เป็นปัจจัยสนับสนุน
กันและกัน.
บทว่า วาโต วหติ เอกฏฺฐํ ความว่า ลมมีลมที่พัดมาแต่
ทิศตะวันออกเป็นต้น พัดมา จะทำให้ต้นไม้ที่ตั้งตระหง่านอยู่
บนเนิน เด่นโดดเดี่ยว ลำพังต้นเดียว ถอนไปได้.
บทว่า พฺรหนฺตมฺปิ วนปฺปตฺตึ ความว่า ลมย่อมพัดตัดไม้
ใหญ่ แม้จะสมบูรณ์ด้วยกิ่งก้านและค่าคบ ให้หักโค่นถอนราก
ถอนโคนไปได้.

พระโพธิสัตว์ บอกกล่าวเหตุนี้ เมื่อสิ้นอายุ ก็ไปตาม
ยถากรรม. แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย
หมู่ญาติควรจะต้องได้ความสามัคคีกันก่อนอย่างนี้ทีเดียว เพราะ
เหตุนั้น ท่านทั้งหลาย จงสมัครสมานปรองดองกัน อยู่กันด้วยความ
รักใคร่กลมเกลียวกันเถิด ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว
ทรงประชุมชาดกว่า ฝูงเทพในครั้งนั้นได้มาเป็นพุทธบริษัท
ส่วนเทวดาเป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถารุกขธัมมชาดกที่ 4

5. มัจฉชาดก


ว่าด้วยปลาขอฝน


[75] "ข้าแต่พระปัชชุนนะ ท่านจงคำรณ
คำราม ให้ขุมทรัพย์ของกาพินาศไป จงทำลาย
ฝูงกาด้วยความเศร้าโศก และจงปลดเปลื้อง
ข้าพเจ้าจากความโศกเถิด"

จบ มัจฉชาดกที่ 5

อรรถกถามัจฉชาดกที่ 5


พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-
วิหาร ทรงปรารภฝนที่พระองค์ทรงบันดาลให้ตกลง ตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อภิตฺถนย ปชฺชุนฺนา ดังนี้
ดังได้สดับมา ในสมัยหนึ่ง ในแคว้นโกศล ฝนไม่ตกเลย.
ข้าวกลาทั้งหลายเหี่ยวแห้ง ตระพัง สระโบกขรณีและสระใน
ที่นั้น ๆ ก็เหือดแห้ง แม้โบกขรณีเชตวัน ณ ที่ใกล้ซุ้มพระทวาร
เชตวัน ก็ขาดน้ำ. ฝูงกาและนกเป็นต้น รุมกันเอาจะงอยปาก
อันเทียบได้กับปากคีม จิกทึ้งฝูงปลาและเต่าอันหลบคุดเข้าสู่
เปือกตม ออกมากิน ทั้ง ๆ ที่กำลังดิ้นอยู่ พระศาสดา
ทอดพระเนตรเห็นความพินาศของฝูงปลาและเต่า พระมหากรุณา