เมนู

ชาตกัฏฐกถา


อรรถกถาชาดก เอกนิบาต


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น



ทูเรนิทาน



ประณามคาถา



ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ
สุดหาบุคคลผู้เปรียบปานมิได้ ผู้เสด็จขึ้นจากสาคร
แห่งไญยธรรม ผู้ทรงข้ามสงสารสาครเสียได้ด้วย
เศียรเกล้า พร้อมทั้งพระธรรมอันลึกซึ้ง สงบยิ่ง
ละเอียดยากที่คนจะมองเห็นได้ ที่ทำลายเสียได้ซึ่งภพ
น้อยและภพใหญ่ สะอาดอันเขาบูชาแล้ว เพราะพระ-
สัทธรรม อีกทั้งพระสงฆ์ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องข้อง ผู้สูง
สุดแห่งหมู่ ผู้สูงสุดแห่งทักขิไณยบุคคล ผู้มีอินทรีย์
อันสงบแล้ว หาอาสวะมิได้.

ด้วยการประณามที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วต่อ-
พระรัตนตรัยด้วยความนับถือเป็นพิเศษนี้นั้น ข้าพเจ้า
อันผู้ที่เป็นนักปราชญ์ยิ่งกว่านักปราชญ์ ผู้รู้อาคม
[ปริยัติ] เป็นวิญญูชน มียศใหญ่ได้ขอร้องด้วยการ
เอาใจแล้ว ๆ เล่า ๆ เป็นพิเศษว่า ท่านขอรับ ท่าน

ควรจะแต่งอรรถกถาอปทาน [ชีวประวัติ] เพราะ
ฉะนั้นข้าพเจ้าจักแสดงการพรรณนาเนื้อความอันงาม
แห่งพระบาลีในพระไตรปิฎกทีเดียว พร้อมทั้งชีว-
ประวัติที่ยังเหลืออยู่ เรื่องราวอันดีเยี่ยมนี้ใครกล่าวไว้
กล่าวไว้ที่ไหน กล่าวไว้เมื่อไรและกล่าวไว้เพื่ออะไร
ข้าพเจ้าจักกล่าวเรื่องนั้น ๆ แล้ว ก็มาถึงวิธีเพื่อที่จะให้
ฉลาดในเรื่องนิทาน เพราะจะทำให้เล่าเรียนและทรง
จำได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น เรื่องราวที่ท่านจัดให้แปลก
ออกไปตามที่เกิดก่อนและหลัง รจนาไว้ในภาษา
สิงหลของเก่าก็ดี ในอรรถกถาของเก่าก็ดี เมื่อมาถึง
วิธีนั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่ให้สำเร็จประโยชน์ตามที่สาธุ-
ชนต้องการ เหตุนั้นข้าพเจ้าก็จักอาศัยนัยตามอรรถ
กถาของเก่านั้น เว้นไม่เอาเนื้อความที่ผิดเสีย แสดง
แต่เนื้อความที่แปลกออกไป กระทำการพรรณนา
เฉพาะแต่ที่แปลก ซึ่งดีที่สุดเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

เพราะเหตุที่ได้ปฏิญาณไว้แล้วว่า เรื่องราวอันดีเยี่ยมใครกล่าวไว้
กล่าวไว้ในที่ไหนและกล่าวไว้เมื่อไร และว่าข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาเนื้อความ
ดังนี้ ก็การพรรณนาเนื้อความแห่งชีวประวัตินั้น เมื่อข้าพเจ้าแสดงนิทานสาม
อย่างเหล่านี้ คือ ทูเรนิทาน [นิทานในที่ไกล] อวิทูเรนิทาน [นิทานในที่ไม่
ไกลนัก] สันติเกนิทาน [นิทานในที่ใกล้] พรรณนาอยู่ก็จักเป็นที่เข้าใจได้
แจ่มแจ้ง เพราะคนที่ได้ฟัง ได้เข้าใจมาตั้งแต่ได้อ่านแล้ว เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า
จึงจักแสดงนิทานเหล่านั้นพรรณนาชีวประวัตินั้น บรรดานิทานเหล่านั้น ก่อน-

อื่นควรทราบปริเฉท [ข้อความที่กำหนดไว้เป็นตอนๆ] เสียก่อน. กถามรรค
ที่เล่าเรื่องตั้งแต่พระะมหาสัตว์ได้ตั้งปรารถนาอย่างจริงจัง ณ เบื้องบาทมลของ
พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าที่ปังกร จนถึงจุติจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดร
แล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จัดเป็นทูเรนิทาน.
กถามรรคที่เล่าเรื่องทั้งแต่จุติจากภพสวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงบรรลุพระ-
สัพพัญญุตญาณที่ควงไม้โพธิ์ จัดเป็นอวิทูเรนิทาน.
ส่วนสันติเกนิทานมีปรากฏอยู่ในที่ต่าง ๆ ของพระองค์ที่เสด็จประทับ
อยู่ในที่นั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้.

ทูเรนิทาน


ในนิทานเหล่านั้น ที่ชื่อทูเรนิทานมีดังต่อไปนี้ เล่ากันมาว่า ในที่สุด
สี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมรวดี ในนครนั้นมี
พราหมณ์ชื่อสุเมธอาศัยอยู่ เขามีกำเนิดดี มีครรภ์อันบริสุทธิ์ ทั้งทางฝ่ายมารดา
และฝ่ายบิดานับได้เจ็ดชั่วตระกูลใครจะดูถูกมิได้ หาผู้ตำหนิมิได้เกี่ยวกับเรื่อง
เชื้อชาติ มีรูปสวย น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง เขา
ไม่การทำการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์ บิดาและมารดาของ
เขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขารุ่นหนุ่ม ต่อมาอำมาตย์ผู้จัดการผลประโยชน์นำ
เอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องคลังที่เต็มไปด้วยทองเงินแก้วมณีและแก้วมุกดา
เป็นต้น บอกให้ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สิน
เท่านี้เป็นของมารดา เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและทวดแล้วเรียน
ว่า ขอท่านจงจัดการเถิด สุเมธบัณฑิตคิดว่า ปู่เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์นี้
ไว้แล้ว เมื่อจะไปสู่ปรโลกที่ชื่อว่าจะถือเอาทรัพย์เเม้กหาปณะหนึ่งติดตัวไปด้วย
หามีไม่ แต่เราควรการทำเหตุที่จะให้ถือเอาทรัพย์ไปด้วยได้ ดังนี้แล้วได้